- น้ำยาปรับผ้านุ่ม
- คุณลักษณะของน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- ผลของการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม
- หลักการทำงานของน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- หลักการทำงานของสารออกฤทธิ์ทำให้ได้คุณสมบัติบางอย่างจากน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- คุณสมบัติของส่วนประกอบหลักของน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- สูตรน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- การผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มและเครื่องมือที่ใช้
- การตรวจสอบคุณภาพของน้ำยาปรับผ้านุ่มหลังการผลิต
- ความปลอดภัยในการปฏิบัติ
- สิ่งแวดล้อม
- คำเตือน
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
Page 8 of 14
การผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มและเครื่องมือที่ใช้ (processing and equipment)
การผลิตน้ำยาปรับผ้านุ่มสามารถทำได้โดยใช้หม้อผสมใบเดียว หรือใช้หม้อผสมหลายใบก็ได้ ข้อดีของการใช้หม้อผสมหลายใบคือ ช่วยให้การผสมเสร็จเร็วขึ้น ได้ผลผลิตมากขึ้น ถ้าใช้หม้อผสมเพียงใบเดียว หม้อผสมนั้นจะต้องสามารถทำให้ร้อนขึ้น (heater) และเย็นลงได้ (cool down) ด้วย ในกรณีที่ใช้หม้อผสมหลายใบ ใบแรกควรเป็นหม้อผสมที่ทำให้ร้อนขึ้น (heater) ได้เพื่อใช้ละลายสารออกฤทธิ์ที่เป็นสารหลักในส่วนผสมของน้ำยาปรับผ้านุ่ม ส่วนหม้อผสมใบที่สองควรเป็นหม้อผสมหลักและต้องสามารถทำให้ส่วนผสมเย็นลง (cool down)ได้ รายละเอียดของกรรมวิธีในการผสมมีดังต่อไปนี้
- เตรียมน้ำให้ร้อนกว่า 40° เซนติเกรด แล้วถ่ายลงในหม้อผสม
- ในขณะที่เครื่องผสมกำลังกวนอยู่ ค่อยๆใส่สารออกฤทธิ์ที่ละลายไว้แล้วลงในน้ำร้อนที่เตรียมไว้รักษาอุณหภูมิไว้ให้คงที่ กวนต่อไปจนเนื้อของสารละลายเนียนและมีการกระจายตัวจนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นทำให้เย็นลงที่ 40° เซนติเกรด และเติมสารอื่นๆ (ถ้ามี) ปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) ตามต้องการ เติมสี และทำให้เย็นลงที่ 30° เซนติเกรด
- สุดท้ายเติมน้ำหอมและสารกันเสียตามต้องการ และปรับน้ำหนักให้ครบ100% ด้วยน้ำ
หมายเหตุ : ถ้าต้องการให้ส่วนผสมข้นมากๆจะต้องใช้น้ำที่ไม่มีการปนเปื้อนของแร่ธาตุ (demineralised water) หรือใช้อุณหภูมิต่ำในการผสมหรือเพิ่มปริมาณสารออกฤทธิ์ให้มากขึ้น