- น้ำยาปรับผ้านุ่ม
- คุณลักษณะของน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- ผลของการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม
- หลักการทำงานของน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- หลักการทำงานของสารออกฤทธิ์ทำให้ได้คุณสมบัติบางอย่างจากน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- คุณสมบัติของส่วนประกอบหลักของน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- สูตรน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- การผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มและเครื่องมือที่ใช้
- การตรวจสอบคุณภาพของน้ำยาปรับผ้านุ่มหลังการผลิต
- ความปลอดภัยในการปฏิบัติ
- สิ่งแวดล้อม
- คำเตือน
- บทสรุป
- อ้างอิง
- All Pages
Page 10 of 14
ความปลอดภัยในการปฏิบัติ (Safe handling)
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นในขณะฉุกเฉิน
ถ้ามีการสัมผัสตา : ล้างตาทันทีด้วยน้ำจำนวนมากเป็นเวลาอย่างน้อย15 นาที และไปพบแพทย์เป็นการด่วน
ถ้ามีการสัมผัสผิว: ล้างผิวด้วยน้ำจำนวนมากทันที เปลี่ยนเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปื้อนออก ถ้าเกิดการระคายเคืองให้ไปพบแพทย์
ถ้ามีการกลืน : อย่ากระตุ้นให้อาเจียน ถ้ามีสติ ให้ดื่มน้ำ 1-2 ถ้วย และไปพบแพทย์เป็นการด่วน ข้อควรระวัง อย่าใส่อะไรเข้าไปในปากถ้าผู้ป่วยยังไม่ได้สติ
สูดหายใจเข้าไป : นำไปอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ขอคำแนะนำจากแพทย์ถ้าอาการยังคงอยู่
การเก็บและการขนย้ายสารออกฤทธิ์ : เก็บให้ห่างจากที่ที่มีความร้อนสูงและสิ่งที่เป็นแหล่งของเชื้อไฟ ปิดภาชนะบรรจุให้มิดชิดเพื่อไม่ให้น้ำเข้า และมักนิยมใส่ไนโตรเจน อื่นๆ : บรรจุภัณฑ์ของสินค้าที่จำหน่ายให้กับผู้บริโภคควรจะต้องมีคำเตือนดังนี้ “ไม่ควรใช้กับชุดนอนของเด็กหรือสิ่งทออื่นๆ ที่ฉลากระบุว่า ต่อต้านไฟ (flame resistant) เนื่องจากอาจจะไปลดคุณสมบัติการต่อต้านไฟและควรเก็บให้ห่างไกลจากมือเด็ก”