ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

 

 

 

       มะเขือเทศ (Tomato) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycopersicon esculentum Mill. อยู่ในวงศ์ Solanaceae เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งชนเผ่าอินเดียนแดงใช้ปรุงอาหารรับประทานกันมาช้านาน พบว่าผลมะเขือเทศสุกมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด คือ

       1. วิตามินชนิดต่างๆ และสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี เบตาแคโรทีน อัลฟาแคโรทีน  ซิตริน (วิตามินพี) และโฟเลต 
       2. กรดอะมิโน และกรดอื่นๆ ที่สำคัญ โดยกรดอะมิโน ได้แก่ กลูตามิค ส่วนกรดอื่นๆ ได้แก่ กรดซิตริก ซึ่งทำให้ผลมะเขือเทศสุกมีรสเปรี้ยว และกรดมาลิก
       3. สารที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย ได้แก่ สาร Licopersioin
       4. สารที่ทำให้มีกลิ่นจำเพาะ คือ โทมามีน
       5. สารกลุ่มแคโรทีนอยด์ ได้แก่ ไลโคปีน ลูทีน ซีอาแซนทิน ไฟโทอีน และไฟโทฟลูอีน
       6. เกลือแร่ที่พบได้ในผลมะเขือเทศ ได้แก่ โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม
       7. น้ำ ผลมะเขือเทศสดจัดเป็นผักที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบที่สูงมาก
 
(ที่มา : https://www.boon-herb.com/herballibrary/tomato-extract)
 
       จากข้อมูลข้างต้น ทำให้ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพนิยมหันมารับประทานมะเขือเทศสด และผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศกันมากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคไม่แพ้มะเขือเทศสด คือ น้ำมะเขือเทศ (Tomato juice) เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดื่มง่าย รสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ รวมทั้ง สามารถทำไว้ดื่มเองได้ แต่หากผู้บริโภคท่านใดไม่สะดวกสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมะเขือเทศได้ตามห้างสรรพสินค้า และร้านค้าทั่วไป ซึ่งมีให้เลือกกันหลากหลายชนิดตามความต้องการของผู้บริโภค 
 
             
                                            (ที่มา : https://www.amway.co.th/p/0252840)                              (ที่มา : https://shoponline.tescolotus.com/
                                                                                                                                                 groceries/th-TH/products/6001476319)
 
       ผู้บริโภคควรเลือกซื้อและบริโภคน้ำมะเขือเทศที่มีลักษณะดี ได้คุณภาพตามมาตรฐานกำหนด โดยมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำมะเขือเทศ (Tomato drink) มผช. 536/2557 ได้กำหนดคุณลักษณะที่ดีของน้ำมะเขือเทศไว้ดังนี้
       1. ต้องเป็นของเหลวขุ่น อาจตกตะกอนเมื่อวางทิ้งไว้
       2. มีสีดีตามธรรมชาติของน้ำมะเขือเทศและส่วนประกอบที่ใช้
       3. มีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของน้ำมะเขือเทศและส่วนประกอบที่ใช้ ไม่มีกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นแอลกอฮอล์ กลิ่นรสเปรี้ยวบูด
       4. ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์
       5. วัตถุเจือปนอาหาร
              (1) ห้ามใช้สีสังเคราะห์และวัตถุกันเสียทุกชนิด
              (2) หากมีการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ให้ใช้ได้ตามชนิดและปริมาณที่กฎหมายกำหนด (สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/178/1.PDF)
              (1) จุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1 x 104 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
              (2) แซลโมเนลลา ต้องไม่พบในตัวอย่าง 25 มิลลิลิตร
              (3) สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส ต้องน้อยกว่า 10 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
              (4) บาซิลลัส ซีเรียส ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
              (5) คลอสทริเดียม เพอร์ฟริงเจนต์ ต้องไม่เกิน 100 ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
              (6) โคลิฟอร์ม โดยวิธีเอ็มพีเอ็น ต้องน้อยกว่า 2.2 ต่อตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร
              (7) เอสเชอริเชีย โคไล ต้องไม่พบในตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร
              (8) ยีสต์และรา ต้องน้อยกว่า 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
 
       ดังนั้น น้ำมะเขือเทศเป็นเครื่องดื่มอีกชนิดหนึ่งสำหรับผู้บริโภคที่รักสุขภาพ แต่อาจไม่ชอบรับประทานผลสด ซึ่งการดื่มน้ำมะเขือเทศที่มีคุณภาพที่ดีในปริมาณที่เหมาะสมจะส่งผลดีต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน เช่น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดปัญหาการเสื่อมสภาพของหลอดเลือด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยระบาย บำรุงสายตา บำรุงเหงือก บำรุงเลือด บำรุงผิวพรรณ รวมถึงแก้กระหายน้ำ ทำให้ร่างกายสดชื่น เป็นต้น
 
 
(ที่มา : https://women.mthai.com/beauty/health/117561.html)
 
       ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง น้ำมะเขือเทศ ได้จากเอกสารภายในสำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยสามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติในเว็บไซต์ http://library.dss.go.th/ จากคำสืบค้น คือ
                          -  มะเขือเทศ (http://library.dss.go.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?q=มะเขือเทศ)
                          -  น้ำสมุนไพร (http://library.dss.go.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?q=น้ำสมุนไพร)
 

เอกสารอ้างอิง

ไกรภพ  สาระกูล. สูตรน้ำมะเขือเทศ. น้ำหมักสมุนไพร พลังมหัศจรรย์บำบัดโรค. กรุงเทพฯ : ธิงค์ กู๊ด, 2553, หน้า 38.
ปินัทธา  เพ็ชรพลอยศรี. มะเขือเทศ (Tomato). ผิวสวยหน้าใสด้วยผักผลไม้. กรุงเทพฯ : อมรินทร์สุขภาพ, 2551, หน้า 125-128.
พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ. น้ำมะเขือเทศ. น้ำสมุนไพร การเตรียมน้ำดื่มจากพืชที่มีสรรพคุณทางยาและมีคุณค่าทางอาหาร. กรุงเทพฯ : เมดิคัลมีเดีย, 2534, หน้า 100-102.
พินิจ  จันทร. มะเขือเทศ. เครื่องดื่มสมุนไพรอินเทรนด์. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน, 2554, หน้า 131-133.
วิโรจน์  ไววานิชกิจ. ผ่า...มะเขือเทศ. ผิวสวย หน้าใส (ไม่เคมี) กับมะเขือเทศ. กรุงเทพฯ : ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์, 2554, หน้า 29-31.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำมะเขือเทศ มผช.536/2557. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563].  
       เข้าถึงจาก : http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps0536_57(น้ำมะเขือเทศ).pdf