Articles
พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
บทนำ
พลาสติกนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิต หากเราได้มีโอกาสไปเดินซื้อสินค้าไม่ว่าที่ใดก็ตาม จะพบว่าผลิตภัณฑ์เกือบทุกชนิดที่เราซื้อ อาหารส่วนใหญ่ที่เรารับประทาน และเครื่องดื่มจำนวนมากที่เราดื่มล้วนผลิตขึ้นหรือถูกบรรจุอยู่ภายในภาชนะที่เรียกว่าพลาสติกด้วยกันทั้งสิ้น การใช้พลาสติกมีปริมาณสูงขึ้นตามปริมาณประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี ในทำนองเดียวกันของเหลือทิ้งที่มาจากผลิตภัณฑ์พลาสติกก็ย่อมมีปริมาณมากขึ้นตามกัน สมบัติของพลาสติกที่ย่อยสลายช้ากลายเป็นปัญหาไปทั่วโลก เพราะถ้าไม่มีการกำจัดที่ถูกต้องก็มีแต่จะทับถมกันมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนาพลาสติกที่ย่อยสลายได้ (degradable plastic) ในรูปแบบต่างๆขึ้นมา เคล็ดลับอยู่ที่การผสมพลาสติกด้วยสารเคมีที่สลายตัวได้ด้วยแสงสว่าง แบคทีเรีย หรือสารเคมีชนิดอื่น
พลาสติกย่อยสลายได้ เป็นพลาสติกที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีภายใต้สภาวะแวดล้อมที่กำหนดไว้เฉพาะ ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียสมบัติบางประการ สามารถวัดการย่อยสลายได้โดยใช้วิธีการทดสอบมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับพลาสติก ผลการทดสอบสามารถนำมาใช้ในการระบุชนิด และประเภทของพลาสติกย่อยสลายได้ องค์กรในต่างประเทศหลายๆ องค์กรได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานวิธีการทดสอบและการรับรองการย่อยสลายได้ทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ISO (International Organization for Standardization) ASTM (American Society for Testing and Materials) DIN (Deutsches Institut fÜr Normung or German Institute for Standardization) JIS (Japanese Industrial Standard) ORCA (Organic Reclamation and Composting Association, Belgium) และ ISR (Institute for Standards Research) ข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับรับรองการย่อยสลายทางชีวภาพ (biodegradability) ในระดับนานาชาติในปัจจุบันนั้นมีรายละเอียดที่ใกล้เคียงกัน หากแต่จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในเรื่ององค์ประกอบ วิธีการทดสอบ และคุณสมบัติเพื่อผ่านการรับรองการย่อยสลายทางชีวภาพ อย่างไรก็ตาม มาตรฐานเหล่านี้ ล้วนมีส่วนหลักที่คล้ายคลึงกัน อาทิ การวัดความสามารถในการย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (biogradability) การวัดความสามารถ ในการแตกเป็นชิ้นเล็กๆ (disintegration) ของวัสดุทดสอบในสภาวะหมักปุ๋ย (compost) และการประเมินการย่อยสลายเบื้องต้น รวมถึงปริมาณโลหะหนัก ตลอดจนการวิเคราะห์คุณภาพ และความเป็นพิษต่อระบบนิเวศของปุ๋ยที่ได้จากการหมัก (ecotoxicity of the compost)
การทดสอบการย่อยสลายทางชีวภาพโดยทั่วไปมักใช้เวลาในการทดสอบประมาณ 6 เดือน เช่น มาตรฐาน ASTM 5338 กำหนดไว้ว่าพลาสติกที่ประกอบด้วยพอลิเมอร์เพียง 1 ชนิด จะต้องเกิดการย่อยสลายอย่างน้อย 60% โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารประกอบโมเลกุลเล็ก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ สารประกอบอนินทรีย์ สารชีวมวล ภายใต้สภาวะการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจนภายในเวลา 6 เดือน และสำหรับพอลิเมอร์ผสมต้องเกิดการย่อยสลาย 90% และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักสามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นสารปรับสภาพดินได้ และต้องไม่มีความเป็นพิษต่อพืชและสัตว์ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และสามารถกำจัดได้โดยกระบวนการหมักขยะอินทรีย์ เมื่อตัวอย่างได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานและมีสมบัติเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด จะได้รับอนุญาตให้ติดสัญลักษณ์ที่แสดงว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เช่น OK compost ของประเทศเบลเยียม compostable DIN CERTCO ของประเทศเยอรมนี Compostable ของประเทศสหรัฐอเมริกา และ PBS GreenPla ของประเทศญี่ปุ่น ดังแสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 ตัวอย่างสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าบรรจุภัณฑ์สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (ธนาวดี ลี้จากภัย, 2549 ก)
วัตถุดิบ
วัตถุดิบที่ใช้ในการทำพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด (รูปที่ 2) คือ
ประเภทของพลาสติกย่อยสลายได้
พลาสติกที่ย่อยสลายได้สามารถจำแนกตามกลไกของการย่อยสลายได้ (ธนาวดี ลี้จากภัย, 2549 ข) ดังต่อไปนี้
1. พลาสติกย่อยสลายทางชีวภาพ (biodegradable plastics) เป็นพลาสติกย่อยสลายได้ชนิดหนึ่งที่มีกลไกการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ และแบคทีเรียในธรรมชาติ เมื่อย่อยสลายหมดแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำ มวลชีวภาพ ก๊าซมีเทน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการเจริญเติบโตและดำรงชีวิตของพืช รวมถึงมันสำปะหลังและ ข้าวโพด ที่เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ดังนั้นวงจรของพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพจึงมีรูปแบบคือ มีสมบัติในการใช้งานเช่นเดียวกับพลาสติกโดยทั่วไป แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่เมื่อทิ้งพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพนี้ไปเป็นขยะ และอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมคือ มีแบคทีเรียและเอนไซม์ พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพนั้นก็จะเกิดการย่อยสลายได้ ซึ่งผู้บริโภคบางรายที่กลัวว่าพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพนี้จะเกิดการย่อยสลายไปในขณะที่ใช้งานโดย ทำให้อายุการใช้งานสั้น และไม่คุ้มค่าในการใช้งานนั้น ไม่ต้องกังวลในจุดนี้อีกต่อไป เพราะตราบใดที่เราไม่ทิ้งพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพนี้ให้เป็นขยะโดยเฉพาะเมื่อถูกฝังกลบ และเมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสมกับการย่อยสลาย ก็จะไม่เกิดการย่อยสลาย พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่มีแนวโน้มการทำตลาดที่ดี และมีการผลิตเพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ Polylactic Acid (PLA) และ Polyhydroxyalcanoates (PHAs) ซึ่งเป็นพลาสติกที่ได้จากธรรมชาติคือ ใช้กระบวนการทางชีวเคมีในการเปลี่ยนสภาพจากแป้งที่ได้จากมันสำปะหลังและข้าวโพด ให้เป็นพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ นอกจากพลาสติก 2 ชนิดนี้แล้ว ยังมีพลาสติกย่อยสลายอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมในตลาดเช่นกัน นั่นคือ poly (butylene adipate-co-terephthalate) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่ได้จากวัตถุดิบปิโตรเคมี ผลิตโดยบริษัท BASF ประเทศเยอรมนี มีสมบัติที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพเช่นเดียวกับพลาสติกทั้ง 2 ชนิดข้างต้นซึ่งได้มาจากพืชธรรมชาติ (Shiro Kaze, 2551)
2. พลาสติกชนิดย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidative degradation plastics) หรือบางครั้งเรียกว่า พลาสติกที่สลายตัวได้โดยไม่ต้องพึ่งพาจุลินทรีย์ (bioerodable plastics) การย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชันของพลาสติก เป็นปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนลงในโมเลกุลของพอลิเมอร์ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เอง ในธรรมชาติอย่างช้าๆ โดยมีออกซิเจน และความร้อน แสงยูวี หรือแรงทางกลเป็นปัจจัยสำคัญ เกิดเป็นสารประกอบไฮโดรเปอร์ออกไซด์ (hydroperoxide, ROOH) ในพลาสติกที่ไม่มีการเติมสารเติมแต่งที่ทำหน้าที่เพิ่มความเสถียร (stabilizing additive) ของแสงและความร้อนจะทำให้ ROOH แตกตัวกลายเป็นอนุมูลอิสระ RO และ OH ที่ไม่เสถียรและเข้าทำปฏิกิริยาต่อที่พันธะเคมีบนตำแหน่งคาร์บอนในสายโซ่พอลิเมอร์ ทำให้เกิดการแตกหักและสูญเสียสมบัติเชิงกลอย่างรวดเร็ว แต่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ได้รับการวิจัยและพัฒนาขึ้น ในปัจจุบันทำให้พอลิโอเลฟินเกิดการย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชันกับออกซิเจนได้เร็วขึ้นภายในช่วงเวลาที่กำหนด โดยการเติมสารเติมแต่งที่เป็นเกลือของโลหะทรานสิชัน ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst) การแตกตัวของสารประกอบไฮโดรเปอร์ออกไซด์เป็นอนุมูลอิสระ (free radical) ทำให้สายโซ่พอลิเมอร์เกิดการแตกหักและสูญเสียสมบัติเชิงกลรวดเร็วยิ่งขึ้น
3. พลาสติกย่อยสลายด้วยแสง (photodegradable plastics) การย่อยสลายด้วยแสงมักเกิดจากการเติมสารเติมแต่งที่มีความว่องไวต่อแสงลงในพลาสติกหรือสังเคราะห์โคพอลิเมอร์ให้มีหมู่ฟังก์ชันหรือพันธะเคมีที่ไม่แข็งแรง แตกหักง่ายภายใต้รังสี (UV) เช่น หมู่คีโตน (ketone group) อยู่ในโครงสร้าง เมื่อสารหรือหมู่ฟังก์ชันดังกล่าวสัมผัสกับรังสียูวีจะเกิดการแตกของพันธะกลายเป็นอนุมูลอิสระซึ่งไม่เสถียร จึงเข้าทำปฏิกิริยาต่อ อย่างรวดเร็วที่พันธะเคมีบนตำแหน่งคาร์บอนในสายโซ่พอลิเมอร์ ทำให้เกิดการขาดของสายโซ่ แต่การย่อยสลายนี้จะไม่เกิดขึ้นภายในบ่อฝังกลบขยะ กองคอมโพสท์ หรือสภาวะแวดล้อมอื่นที่มืด หรือแม้กระทั่งชิ้นพลาสติกที่มีการเคลือบด้วยหมึกที่หนามากบนพื้นผิว เนื่องจากพลาสติกจะไม่ได้สัมผัสกับรังสียูวีโดยตรง ประเทศฝรั่งเศสใช้พลาสติกประเภทนี้ ขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ปูลงบนทุ่งนาเพื่อกักเก็บความร้อนในดินและเร่งผลผลิต อายุใช้งานอยู่ระหว่าง 1-3 ปีก่อนผุพังปนไปกับดิน แต่พลาสติกชนิดนี้ต้องใช้ในภูมิประเทศที่มีแสงแดดสม่ำเสมอ เพื่อให้สลายตัวตามอัตราที่คาดการณ์ได้
4. พลาสติกย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (hydrolytic degradation plastics) การย่อยสลายของพอลิเมอร์ที่มีหมู่เอสเทอร์ หรือเอไมด์ เช่น แป้ง พอลิเอสเทอร์ พอลิแอนไฮไดรด์ พอลิคาร์บอเนต และพอลิยูริเทน ผ่านปฏิกิริยาก่อให้เกิดการแตกหักของสายโซ่พอลิเมอร์ โดยทั่วไปปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา (catalytic hydrolysis) และไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา (non-catalytic hydrolysis) ซึ่งประเภทแรกยังแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ แบบที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาจากภายนอกโมเลกุลของพอลิเมอร์เร่งให้เกิดการย่อยสลาย (external catalytic degradation) และแบบที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาจากจากภายในโมเลกุลของพอลิเมอร์เองในการเร่งให้เกิดการย่อยสลาย (internal catalytic degradation) โดยตัวเร่งปฏิกิริยาจากภายนอกมี 2 ชนิด คือ ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นเอนไซม์ต่างๆ (enzyme) เช่น depolymerase, lipase, esterase และ glycohydrolase ในกรณีนี้จัดเป็นการย่อยสลายทางชีวภาพ และตัวเร่งปฏิกิริยาที่ไม่ใช่เอนไซม์ (non-enzyme) เช่น โลหะแอลคาไลน์ (alkaline metal) เบส (base) และกรด (acid) ที่มีอยู่ในสภาวะแวดล้อมในธรรมชาติ ในกรณีนี้จัดเป็นการย่อยสลายทางเคมี สำหรับปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสแบบที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาจากภายในโมเลกุลของพอลิเมอร์นั้นใช้หมู่คาร์บอกซิล (carboxyl group) ของหมู่เอสเทอร์ หรือเอไมด์บริเวณปลายของสายโซ่พอลิเมอร์ในการเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส
เทคโนโลยีการผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
ในช่วงแรกของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพได้มีการนำแป้ง (starch) ชนิดต่างๆ มาใช้เป็นสารผสมร่วมกับพอลิเมอร์ที่ได้จากกระบวนการปิโตรเคมี เพื่อเป็นการลดสัดส่วนของสารที่ย่อยสลายได้ยากในวัสดุ และเพิ่มคุณสมบัติการสลายตัวของวัสดุให้มากขึ้น เนื่องจากแป้งเป็นวัสดุเพียงชนิดเดียวที่สามารถขึ้นเป็นรูปร่วมกับวัสดุอื่นได้ โดยการใช้ความร้อน แต่วัสดุที่ได้จะพบปัญหาในเรื่องของการซึมผ่านของน้ำ และการบวมหรือการคงตัวของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เมื่อได้รับความชื้น โดยทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปด้วยแป้งนิ่มง่ายและไม่คงรูป จึงทำให้การใช้แป้งเพียงอย่างเดียวไม่ได้ผลเท่าที่ควร
มิติใหม่ของการสรรหาวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ หมายถึง การสังเคราะห์โมเลกุลของสารเคมีขึ้นมาใหม่ตลอดกระบวนการซึ่งถือว่ายังไม่มีความชัดเจน วัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพมาได้จาก 2 แหล่ง คือ วัสดุที่มาจากแหล่งธรรมชาติ และวัสดุที่ได้จากการสังเคราะห์ โดยวัสดุที่มาจากแหล่งธรรมชาติ เช่น polyhydroxyalcanoates (PHAs) ซึ่งเชื้อจุลินทรีย์ผลิตและสะสมเอาไว้ในเซลล์ ส่วนวัสดุที่ได้จากการสังเคราะห์มักจะเกิดจากผลผลิตของกระบวนการหมัก (fermentation)ได้แก่ สารประกอบโปรตีน หรือสารประกอบเพคตินที่สามารถพัฒนาต่อไปเป็นสารพอลิเมอร์ รวมทั้ง polylactic acid (PLA) ซึ่งได้จากการต่อเชื่อมกัน (polymerisation) ของกรดแลคติก
วงจรวัฏจักรพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพเริ่มต้นจากพืชผลทางการเกษตรถูกเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตมอนอเมอร์และพอลิเมอร์ ตามลำดับ จากนั้นพอลิเมอร์ที่ได้จะผ่านการปรับปรุงสมบัติและขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับการนำไปใช้งานในด้านต่างๆ เมื่อหมดอายุการใช้งานหรือไม่เป็นที่ต้องการแล้วการนำไปทิ้งในสภาวะที่เหมาะสม จะทำให้พลาสติกเหล่านี้ถูกย่อยสลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ เเละมวลชีวภาพซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ดังแสดงในรูปที่ 3
รูปที่ 3 วงจรวัฏจักรพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (NIA, 2551)
ผลผลิตจากการเกษตรที่ให้แป้ง เช่น ข้าวเจ้า อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด และปาล์มน้ำมัน ฯลฯ เมื่อผ่านกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพแล้วจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล และเปลี่ยนน้ำตาลเป็นมอนอเมอร์ เช่น กรดแลคติก 1,4-บิวเทนไดออล (BDO) กรดซัคซินิค แล้วจึงผ่านกระบวนการปฏิกิริยาเคมีที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ (catalytic polymerization) เกิดเป็นพอลิแลคติกแอซิด (PLA) พอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (PBS) หรือจากแป้งเปลี่ยนเป็นพอลิเมอร์ประเภทต่างๆ โดยตรงด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น พอลิไฮดรอกซี อัลคาโนเอต (PHAs) ในขณะที่วัตถุดิบที่มาจากปิโตรเคมีใช้ผลิตมอนอเมอร์ประเภทต่างๆ เช่น 1,4-บิวเทนไดออล (BDO) กรดซัคซินิค กรดเทอเรพธาลิก (TPA) ไดเมทิลเทอเรพธาเลต (DMT) แล้วจึงผ่านกระบวนการปฏิกิริยาเคมีที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อเปลี่ยนเป็นพอลิเมอร์ต่อไป
คุณสมบัติและการนำไปใช้ประโยชน์ของพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
1. คุณสมบัติของพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่รู้จักกันดี ได้แก่ แป้งเทอร์โมพลาสติก (thermoplastic starch หรือ TPS) พอลิแลคติกแอซิด (polylactic acid หรือ PLA) พอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอต (polyhydroxyalkanoates หรือ PHAs) พอลิคาร์โปแลคโทน (polycaprolactone หรือ PCL) พอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (polybutylene succinate หรือ PBS) พอลิบิวทิลีนเทอเรพธาเลต (polybutylene terephthalate หรือ PBT) พอลิไตรเมทิลีนเทอเรพธาเลต (polytrimethylene terephthalate หรือ PTT) พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ (polyvinyl alcohol หรือ PVA) ฯลฯ โดยพอลิเมอร์ที่มีการศึกษาวิจัย และนำมาผลิตเพื่อใช้ประโยชน์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ พอลิเมอร์ประเภทที่มีส่วนผสมของแป้ง (polysaccharide) และพอลิเอสเทอร์ (polyesters) โดยพอลิเมอร์ประเภทแรกเกิดจากการผสมพอลิเมอร์บางชนิด เข้ากับสายโซ่พอลิเมอร์ของแป้งที่เกิดจากการเรียงต่อกันของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคส เชื่อมต่อกันด้วยพันธะ glucosidic โดยใช้อัตราส่วนผสมตั้งแต่ 10 - 90% ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการใช้งาน หากส่วนผสมของแป้งมากกว่า 60% จะทำให้พลาสติกผสมสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และเมื่อส่วนผสมของแป้งต่ำกว่า 60% ส่วนผสมที่เป็นแป้งจะทำหน้าที่เป็นจุดที่ทำให้เกิดการแตกตัวของชิ้นส่วนพอลิเมอร์ผสมทำให้มีขนาดเล็กลง ตัวอย่างพอลิเมอร์ที่นำมาผสมกับแป้งประกอบด้วย พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ พอลิเอสเทอร์ เป็นต้น โดยก่อนกระบวนการผสมอาจมีการปรับปรุงคุณภาพของแป้งที่ใช้โดยกระบวนการทางเคมีก่อน เพื่อให้ได้คุณสมบัติทางเคมีที่เหมาะสม
พอลิเอสเทอร์ จัดเป็นพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพเนื่องจากประกอบด้วยพันธะเอสเทอร์อยู่ในสายโซ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งพันธะนี้มีความแข็งแรงน้อย สามารถแตกตัวได้ง่ายโดยทำปฏิกิริยากับน้ำ (hydrolysis) ดังนั้นจึงสามารถย่อยสลายเป็นโมเลกุลที่มีขนาดเล็กลงได้ นอกจากนี้ พอลิเอสเทอร์ยังสามารถจำแนกตามส่วนประกอบของสายโซ่เป็น 2 ประเภท คือ aliphatic และ aromatic polyester ในปัจจุบันมีการผลิตพอลิเมอร์ย่อยสลายได้ในกลุ่มนี้หลายชนิดดังแสดงในรูปที่ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพอลิเมอร์ประเภท aliphatic polyester เพราะสายโซ่มีความเหมาะสมต่อการสลายพันธะดีกว่า ในส่วนของ aromatic polyester จะต้องทำการปรับปรุงโครงสร้างให้เหมาะสมขึ้น โดยอาจต่อสายโซ่กับ aliphatic polyester ให้เป็นโคพอลิเมอร์ (aliphatic-aromatic copolyester) ก่อนจึงจะสามารถย่อยสลายได้ ซึ่งสามารถใช้ PET เป็นส่วนประกอบหลักได้
Aliphatic polyester ประกอบด้วยพอลิเมอร์ 4 ตระกูลใหญ่ๆ คือ polybutylene succinate (PBS), polycaprolactone (PCL), polyhydroxyalkanoates (PHA), polylactic acid (PLA) ซึ่ง 2 ชนิดแรกต้องใช้มอนอเมอร์จากปิโตรเคมี ส่วน PLA สามารถใช้วัตถุดิบที่ทดแทนได้แต่ยังต้องอาศัยปฏิกิริยาเคมีในการสังเคราะห์สายโซ่ของพอลิเมอร์ในขั้นตอนสุดท้าย ขณะที่ PHA เป็นพอลิเมอร์ตระกูลเดียวที่กระบวนการสังเคราะห์ทั้งหมดเกิดขึ้นในจุลินทรีย์ โดยปัจจุบันมีนำพอลิเมอร์เหล่านี้มาใช้ทางการค้าและมีการผลิตผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดบ้างแล้วคือ PLA ที่สามารถนำไปทดแทนพลาสติกประเภทบรรจุภัณฑ์ เช่น ขวด PET ถุงพลาสติก ฯลฯ โดยพอลิเมอร์ชนิดนี้สังเคราะห์ได้จากวัตถุดิบที่เป็นแป้ง เช่น ข้าวโพด และมันสำปะหลัง โดยต้องนำแป้งมาผ่านกระบวนการหมักบ่มด้วยจุลินทรีย์เพื่อให้ได้ lactic acid monomer จากนั้นจึงนำไปผ่านกระบวนการสังเคราะห์เป็นพอลิเมอร์ แต่ข้อจำกัดของ PLA คือ ไม่คงรูปเมื่อได้รับความร้อน ส่วนอีกชนิดคือ PHA ที่มีสมบัติทางกลดีกว่า เหมาะกับการขึ้นรูปด้วยความร้อน (thermal forming) โดยพอลิเมอร์ชนิดนี้มีอนุพันธุ์หลายชนิดด้วยกันดังแสดงในรูปที่ 4 โดยพอลิเมอร์ส่วนใหญ่สามารถสังเคราะห์ได้โดยตรงจากสารจำพวกแป้งและน้ำตาล แล้วได้เป็นสายโซ่ยาวของพอลิเมอร์ อีกทั้งมีการใช้จุลินทรีย์ตลอดกระบวนการ จึงเรียกพอลิเมอร์ประเภทนี้ว่า “ microbial polymers ” อย่างไรก็ดี บทความนี้จะขอกล่าวถึงพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่น่าสนใจโดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 พอลิแลคติกแอซิด (polylactic acid หรือ PLA) เป็นพลาสติกที่ผลิตจากกระบวนการหมักพืชจำพวกแป้ง (ข้าวโพด) ซึ่งกำลังกลายเป็นทางเลือกใหม่มาแทนที่พลาสติกจากปิโตรเลียม PLA เป็นแหล่งคาร์บอนที่ได้จากวัตถุดิบที่สร้างขึ้นทดแทนได้ โดยคาร์บอนที่ดูดซับโดยพืช เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถลดการแพร่ของปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนขึ้น และ PLA ยังไม่ก่อให้เกิดก๊าซพิษเมื่อถูกเผาเป็นเถ้า กระบวนการสังเคราะห์พอลิแลคติกแอซิดถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกโดยนักวิจัยของบริษัท Dupont ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ W.H. Carothers ในปี 1932 โดยการให้ความร้อนแก่กรดแลคติกภายใต้ความดันสูญญากาศ และได้ผลิตภัณฑ์เป็น PLA ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ และได้จดสิทธิบัตรไว้ในปี 1954 หลังจากนั้นได้มีการศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากราคาที่สูงของ PLA ทำให้การนำไปใช้งานมุ่งเน้นไปทางด้านการแพทย์ และเภสัชกรรม บริษัท Cargill, Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิต PLA โดยในปี 1987 ได้เริ่มทำการวิจัยเพื่อผลิตกรดแลคติก แลคไทด์ และ PLA และในปี 1992 ได้เริ่มการผลิตในระดับโรงงานต้นแบบ จากนั้น ในปี 1997 ได้ร่วมลงทุนกับบริษัท Dow Chemical Company, Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วสร้างบริษัท Cargill Dow LLC ขึ้นมา เพื่อทำการพัฒนาเทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์ PLA เพื่อการค้าอย่างเต็มรูปแบบ และในปี 2001 ได้ส่งผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อทางการค้าว่า NatureWorks® ออกมาสู่ตลาดบริษัท ในปี 2005 บริษัท Dow Chemical Company, Inc. ได้ถอนตัวออก จึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท NatureWorks® แทน
พอลิแลคติกแอซิดที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพมีแนวทางหนึ่งที่ได้พัฒนาจนประสบความสำเร็จและได้พอลิเมอร์ในปริมาณที่เหมาะแก่การลงทุน คือ การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้จากข้าวโพด โดยการแยกส่วนของแป้งและน้ำตาลที่หลงเหลือในเศษข้าวโพด น้ำตาลที่สกัดได้จะนำไปเข้ากระบวนการหมักจนกระทั่งได้ผลผลิต คือ กรดแลคติก (lactic acid) (Flieger, M., et al., 2003) แล้วจึงนำไปเข้ากระบวนการอื่นๆ ต่อไป ความปลอดภัยของพอลิแลคติกแอซิดถูกจัดให้เป็น GRAS (generally recognized as safe) โดยสำนักงานอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา
กระบวนการผลิตพอลิแลคติกแอซิด เริ่มต้นจากขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ โดยการปลูกข้าวโพดซึ่งใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และน้ำเป็นวัตถุดิบ ผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ได้ผลผลิตเป็นแป้ง จากนั้นจึงนำเอาแป้งข้าวโพดมาผ่านกระบวนการหมักบ่มโดยใช้จุลินทรีย์เฉพาะ เพื่อย่อยโมเลกุลขนาดใหญ่ของแป้งและน้ำตาลเป็นกรดแลคติก (lactic acid, C3H6O3) ซึ่งใช้เป็นมอนอเมอร์ในขั้นตอนการสังเคราะห์พอลิเมอร์ โดยสามารถจำแนกได้เป็น 2 กระบวนการที่แตกต่างกัน คือ กระบวนการควบแน่น (polycondensation) และกระบวนการเปิดวง (ring-opening polymerization) ถึงแม้ว่าพอลิเมอร์ที่ผลิตได้จากทั้งสองกระบวนการนี้จะมีโครงสร้างและสมบัติต่างๆ เหมือนกันทุกประการ ดังแสดงในรูปที่ 5 แต่ก็มีรายละเอียดขั้นตอนของกระบวนการสังเคราะห์ที่ต่างกัน จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อพอลิเมอร์ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่ได้จากกระบวนการแรกมักจะเรียกว่า “ พอลิแลคติกแอซิด ”ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการนี้เริ่มต้นจากการใช้กรดแลคติกโดยตรงจนได้พอลิเมอร์ในขั้นตอนสุดท้าย ในกระบวนการที่สองจะมีการเปลี่ยนกรดแลคติกโดยปฏิกิริยาการรวมตัวของกรดแลคติก 2 โมเลกุล แล้วเกิดเป็นสารประกอบแบบวงที่มีชื่อว่า แลคไทด์ (lactide) ก่อน จากนั้นจึงนำเอาวงแหวนแลคไทด์นี้มาสังเคราะห์เป็นสายโซ่ยาวพอลิเมอร์ในขั้นตอนต่อมา ด้วยเหตุนี้จึงเรียกชื่อผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์จากกระบวนการนี้ว่า “ พอลิแลคไทด์ ” อย่างไรก็ตาม พอลิเมอร์ที่ได้จากทั้งสองกระบวนการก็คือสารชนิดเดียวกันนั่นเอง ซึ่งเมื่อสังเคราะห์ได้แล้วก็สามารถนำมาขึ้นรูปเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไดออกซิน
บทนำ
มนุษย์นำสารเคมีมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันมนุษย์ก็ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีเช่นกัน ปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนที่ได้รับผลกระทบซึ่งเกิดจากกิจกรรมอุตสาหกรรมและการเกษตร นับเป็นปัญหาสำคัญไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแต่ยังเป็นปัญหาระดับโลก ปัจจุบันมนุษย์จึงได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมีหลายชนิด รวมทั้งสารมลพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและสารตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารและระบบนิเวศน์ โดย 50-60 ปีที่ผ่านมา ปัญหาสารเคมีตกค้างที่ยาวนานแสดงให้เห็นถึงพิษภัยจากการใช้สารเคมีอย่างชัดเจนมากขึ้นทั่วโลก ทำให้เกิดความร่วมมือและทำข้อตกลงระหว่างประเทศขึ้น หนึ่งในความร่วมมือนั้นคือข้อตกร่วมเป็นภาคีตามอนุสัญญาสตอกโฮล์ม ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการปลดปล่อยสารมลพิษอินทรีย์กลุ่มที่ตกค้างยาวนาน (persistent organic pollutants, POPs) ซึ่งสารเหล่านี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ สารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนคลอรีน (organochlorine) กลุ่มพีซีบี (polychlorinated biphenyls: PCBs) และกลุ่มไดออกซิน (polychlorinated dibenzo-p-dioxins:PCDDs) และฟิวแรน (polychlorinated dibenzofurans : PCDFs) รวมทั้งสิ้น 12 ชนิดคือ อัลดริน (aldrin) คลอเดน (chlordane) ดีดีที (DDT) ดิลดริน (dieldrin) เอนดริน (endrin) เฮปตะคลอร์ (heptachlor) เอชซีบี (hexachlorobenzene) ไมเร็กซ์ (mirex) ท็อกซาฟีน (toxaphene) พีซีบี (polychlorinated biphenyls)ไดออกซิน (polychlorinated dibenzo-para-dioxins: PCDDs) และฟิวแรน ( polychlorinated dibenzo furan: PCDFs) (กรมควบคุมมลพิษ, 2551)
ไดออกซินคืออะไร
ไดออกซิน (dioxins) เป็นผลิตผลทางเคมีที่เกิดขึ้นมาโดยมิได้ตั้งใจผลิตขึ้น (unintentional products) จากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เป็นสารประกอบในกลุ่มคลอริเนตเตท อะโรเมติก (chlorinated aromatic compounds) ที่มีออกซิเจน (O) และคลอรีน (Cl) เป็นองค์ประกอบ 1 ถึง 8 อะตอม ไดออกซิน มีชื่อเรียกเต็ม คือ โพลีคลอริเนตเตทไดเบนโซ พารา-ไดออกซิน (polychlorinated dibenzo-para-dioxins: PCDDs) มีทั้งหมด 75 ชนิด และสารอีกกลุ่มที่มีโครงสร้าง และความเป็นพิษคล้ายกับไดออกซิน เรียกว่า Dioxin like สารกลุ่มนี้คือ ฟิวแรน มีชื่อเรียกเต็มคือ โพลีคลอริเนตเตทไดเบนโซฟิวแรน (polychlorinated dibenzo furan: PCDFs) มีอยู่ 135 ชนิด โดยไดออกซิน/ฟิวแรน มีทั้งหมด 210 ชนิด (75+135) ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มีสารคลอรีน (Cl) บนวงแหวนของเบนซีน (benzene ring) (จารุพงศ์ บุญหลง, 2547) ดังแสดงในรูปที่ 1 และจำนวนไอโซเมอร์ (isomer) ของไดออกซินและฟิวแรน ดังแสดงในตารางที่ 1
รูปที่ 1 โครงสร้างพื้นฐานของไดออกซิน (PCDDs)และฟิวแรน (PCDFs) (Holtzer,Dañko, and Dañko, 2007)
ตารางที่ 1 ไอโซเมอร์ของไดออกซินและฟิวแรน
จำนวน คลอรีนอะตอม |
จำนวนไอโซเมอร์ของไดออกซิน (PCDDs) |
จำนวนไอโซเมอร์ของ ฟิวแรน (PCDFs) |
1 2 3 4 5 6 7 8 รวม |
2 10 14 22 14 10 2 1 75 |
4 16 28 38 28 16 4 1 135 |
ที่มา : Rappe, C. (1996)
คุณสมบัติของสารไดออกซิน
โครงสร้างของสารไดออกซิน/ฟิวแรน ที่ประกอบด้วยคลอรีนอะตอมเกาะเกี่ยวด้วยพันธะทางเคมีกับวงแหวนเบนซีน ละลายได้ดีในไขมัน ทำให้สารในกลุ่มนี้มีความคงทนสูงอยู่ในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ละลายน้ำได้น้อย สามารถถ่ายทอดและสะสมได้ในห่วงโซ่อาหาร (food chain) สามารถเคลื่อนย้ายและแพร่กระจายในอากาศและตกลงสู่ดิน รวมทั้งแหล่งน้ำ สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีความเป็นพิษโดยมีการจัดการลำดับความเป็นพิษของ WHO ซึ่งเทียบให้เป็นสารที่มีความเป็นพิษระดับ 1 ซึ่งคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของไดออกซินและฟิวแรน ดังแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของสารไดออกซินและฟิวแรน
คุณสมบัติ |
PCDDs |
PCDFs |
จุดหลอมเหลว (°C) |
89 -322 |
184-258 |
จุดเดือด(°C) |
284-510 |
375-537 |
Log Kow |
4.3-8.2 |
5.4-8.0 |
Half life (อากาศ) |
2 วัน –3 สัปดาห์ |
1 –3 สัปดาห์ |
Half life (น้ำ) |
2 เดือน –6 ปี |
3วัน –8 เดือน |
Half life(ดิน) |
2 เดือน –6 ปี |
8 เดือน –6 ปี |
Half life (ตะกอนดิน) |
8 เดือน –6ปี |
2 ปี –6 ปี |
การเกิดและแหล่งกำเนิดไดออกซิน
สารกลุ่มไดออกซิน/ฟิวแรนที่เกิดขึ้นในรูปของผลผลิตพลอยได้จากหลายกระบวนการและแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม สามารถสรุปได้ ดังนี้
แหล่งกำเนิด |
ปริมาณไดออกซิน /ฟิวแรน (g -TEQ/ year) |
||
สหรัฐ (พ.ศ. 2538) |
เยอรมัน (พ.ศ.2538) |
เนเธอร์แลนด์ |
|
เตาเผาขยะโรงพยาบาล เตาเผาขยะชุมชน เตาเผาหลอมโลหะ เตาเผาขยะสารอันตราย กระบวนการแปรรูปโลหะ
โรงงานผลิตสารเคมี การใช้ไม้ที่ได้รับการรักษาเนื้อไม้ การใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากยานพาหนะ
การเผาไม้
การเผาไหม้ที่ควบคุมไม่ได้ การใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง |
477 1,100 0.38 5.7 17.0 (อะลูมิเนียม) 541 (ทองแดง) - - 72.8 33.5 (ดีเซล) 6.3 (ไร้สารตะกั่ว) 62.5 (ที่อยู่อาศัย) 29.1 (อุตสาหกรรม) 208 (ป่าไม้ฟาง) 9.3 |
0.1 30 168 2 5.69 (อุตสาหกรรมเหล็ก) - - - 14.2 4.7 - 2.7 - - 1.59 |
- 382 26 - 4.0 - 0.5 25 16.7 7.0 - - - - - |
congeners |
TEF NATO/CCMS(1988) |
TEF WHO (1997) |
Dibenzo-p-dioxins 2,3,7,8-Tetra CDD 1,2,3,7,8-Penta CDD 1,2,3,4,7,8-Hexa CDD 1,2,3,6,7,8-Hexa CDD 1,2,3,,8,9-Hexa CDD 1,2,3,4,6,7,8-Hepta CDD 1,2,3,4,6,7,8,9-Octa CDD Dibenzofurans 2,3,7,8-Tetra CDF 1,2,3,7,8-Perta CDF 2,3,4,7,8-PentaCDF 1,2,3,4,7,8-HexaCDF 1,2,3,6,7,8-HexaCDF 1,2,3,7,8,9-HexaCDF 2,3,4,6,7,8-HexaCDF 1,2,3,4,6,7,8-HeptaCDF 1,2,3,4,7,8,9-Hepta CDF 1,2,3,4,6,7,8,9-Octa CDF |
1.0 0.5 0.1 0.1 0.1 0.01 0.001
0.1 0.05 0.5 0.1 0.1 0.1 0.1 0.01 0.01 0.001 |
1.0 1.0 0.1 0.1 0.1 0.01 0.001
0.1 0.05 0.5 0.1 0.1 0.1 0.1 0.01 0.01 0.0001 |
การรับสารไดออกซินของมนุษย์ |
ระดับของสารไดออกซิน/น้ำหนักตัว (body weight)/วัน |
ออสเตรเลีย ออสเตรีย แคนาดา เดนมาร์ก คณะกรรมการยุโรป ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา(EPA 1996) องค์การอนามัยโลก (WHO) |
2.33 pg TEQ/kg bw/day 10pg TCDD /kg bw/day 10pg TEQ/kg bw/day 5 pg TCDD /kg bw/day 2 pg TEQ/kg bw/day 5 pg TCDD /kg bw/day 1 pg TCDD /kg bw/day 1 pg TCDD /kg bw/day 10 pg TCDD /kg bw/day 4 pg TEQ/kg bw/day 1 pg TEQ/kg bw/day 5 pg TCDD /kg bw/day 1 pg TCDD /kg bw/day 10pg TEQ/kg bw/day 0.006 pg TEQ/kg bw/day 1-4 pg TEQ/kg bw/day |
ที่มา : Rodriguez, C., et al. (2008)
2. การกระจายสู่ดิน ไดออกซินสามารถปนเปื้อนได้ในดินจากกระบวนการเผาไหม้และการทับถม (deposition) ของไดออกซินและฟิวแรน ซึ่งพบได้ที่ชั้นบนสุดของผิวหน้าดิน (Brambilla, G., et al., 2004) เนื่องจากไดออกซินมีความสามารถในการละลายน้ำ(water solubility) ต่ำ โดยพบว่าสารในกลุ่มคลอโรฟีนอล (chlorophenol) PCDDs มีการปนเปื้อนในดินมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับ polychlorinated phenoxy phenols (PCPPs), polychlorinated diphenyl ethers (PCDEs) และ polychlorinated dibenzofurans (PCDFs) นอกจากนี้ยังพบ PCDDs และ PCDFs ที่ความลึกสุดของชั้นดิน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีการเคลื่อนที่ของ PCDDs และ PCDFs ลงไปในชั้นดินและมีการอิ่มตัว (saturation) ของสารอินทรีย์ (organic matters) เกิดขึ้นที่ผิวหน้าดินโดยที่สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายในน้ำและเป็นสารแขวนลอย (particulate organic matters) และสารอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำ (dissolved organic matters) และตกค้างอยู่ในดินเป็นตัวช่วยให้สารในกลุ่มคลอโรฟีนอลเคลื่อนที่ลงสู่ดิน (Frankki, S., et al., 2007)
3. การปะปนของไดออกซินในน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมโดยตรง เช่น น้ำเสียจากโรงงานกระดาษ โรงงานผลิตสารเคมี โรงงานที่นำโลหะกลับมาใช้ใหม่จากการใช้สารล้างที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
ลำดับที่ |
วัสดุ |
ร้อยละของคลอรีนในวัสดุ |
Dioxins (µg/kg emission) |
1 2 3 4 5 |
PVC Hospital waste Hazardous waste Municipal waste Wood composition |
45 7 5.5 0.4 0.2 |
0.4* 20 1 10 1* |
ตารางที่ 6 ปริมาณของสารไดออกซินที่มีโอกาสเกิดขึ้นในการเผาไหม้วัสดุ (ต่อ)
ลำดับที่ |
วัสดุ |
ร้อยละของคลอรีนในวัสดุ |
Dioxins (µg/kg emission) |
6 7 8 9 10 |
Coal combustion Leaded gasoline Unleaded gasoline Heavy fuel Diesel rhinebarge |
0.02 0.002 0.001 0.005 Nd. |
1* 0.03 0.003 0.4* 0.1* |
ที่มา : พล สาเททอง (2549)
7. การแพร่กระจายสารไดออกซินจากการไม้ฟืนในครัวเรือนโดยทั่วไปในไม้จะมีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ จากการประมาณการพบว่า มีการแพร่กระจายของสารไดออกซินที่มีความเข้มข้นต่อพื้นที่สูงสุดประมาณ 0.2 ng/m2 ต่อพื้นที่ที่มีบ้าน 50 หลัง โดยแต่ละหลังห่างกันในรัศมี 1 กิโลเมตร

(Roeder, RA., Garber, RJ., and Schelling, GT., 1998)
ผลิตภัณฑ์ |
ปริมาณของ PCDDs และ PCDFs สูงสุด (pgWHO-TE/g lipid base) |
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ของเนื้อสัตว์จาก สัตว์เคี้ยวเอื้อง สัตว์ปีกและสัตว์ป่าที่เลี้ยงในฟาร์ม หมู ตับและผลิตภัณฑ์จากตับ เนื้อปลาและผลิตภัณฑ์สืบเนื่องจากการประมง นมและผลิตภัณฑ์นม (เนยเหลว) ไข่ไก่และผลิตภัณฑ์จากไข่ น้ำมันและไขมัน ไขมันสัตว์ จากสัตว์เคี้ยวเอื้อง จากสัตว์ปีกและสัตว์ป่าที่เลี้ยงในฟาร์ม จากไขมันสัตว์ผสม น้ำมันพืช น้ำมันปลาที่มนุษย์ใช้บริโภค |
3 2 1 6 4 (น้ำหนักสด) 3 3
3 2 1 0.75 2 |
นอกจากนี้ยังสามารถพบไดออกซินในน้ำลาย (saliva) ของมนุษย์ด้วย จากการทดลองของ Ogawa, T., et al (2003) ได้วิเคราะห์ polychlorinated biphenyls (PCBs) และ PCDDs ในตัวอย่างน้ำลายและเลือดของมนุษย์ที่มีผลต่อเซลล์เยื่อบุผิวจากชิ้นเนื้อเหงือกมนุษย์ (human gingival epithelial cell : HGEC) พบว่ามีระดับของ tri- และ tetrachlorinated PCBs สูงในตัวอย่างน้ำลาย ขณะที่ในเลือดจะพบ hexa- และ heptachlorinated PCBs โดยทั่วไปแล้วในตัวอย่างน้ำลายและเลือดจะพบ 1,2,3,4,6,7,8,9-octachlorodibenzo-p-dioxin (OCDD) เป็นสารหลัก ผลที่ได้นี้ชี้ให้เห็นว่าไดออกซินในน้ำลายเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดโรคปริทันต์(periodontal disease) ได้และปริมาณน้อยที่สุดของไดออกซินที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติจากการได้รับสารไดออกซินทางปากของมนุษย์โดยมีอาการเฉียบพลัน ปานกลาง และเรื้อรัง เท่ากับ 200, 20 และ 1 พิโคกรัม ต่อกิโลกรัม ต่อ วัน ตามลำดับ (ATSDR, 2008)
การตรวจวัดสารไดออกซิน
การตรวจวิเคราะห์สารไดออกซินนั้นสามารถอ้างอิงได้หลายวิธี ซึ่งวิธีมาตรฐานเหล่านั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามตัวอย่างประเภทต่างๆ เช่น ตัวอย่างอากาศจากปล่อง ตัวอย่างในบรรยากาศ ตัวอย่างน้ำทิ้ง ตัวอย่างชีวภาพ ตัวอย่างอาหาร ฯลฯ นอกจากนั้นแต่ละประเทศก็จะมีมาตรฐานการวิเคราะห์ด้วยวิธีต่างๆ กัน เช่น EPA1613 EPA8290 หรือ EPA23 TO-09 EN1948 (พล สาเททอง, 2549) ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
การจัดการกากของเสีย (ปิยาณี ตั้งทองทวี, 2546)
วิธีจัดการกากของเสียไดออกซินที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยและเป็นวิธีที่ USEPA แนะนำคือ การเผา (Incineration) โดยเตาเผาที่เหมาะสมมี 3 แบบ คือ
ตารางที่ 8 เปรียบเทียบค่ามาตรฐาน PCDDs/PCDFs จากเตาเผาอุณหภูมิสูงของประเทศต่างๆ
ประเทศ |
ค่ามาตรฐาน |
ประเภทเตาเผา |
ออสเตรีย แคนาดา สหภาพยุโรป เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น(มาตรฐานเก่า) ญี่ปุ่น(มาตรฐานใหม่) สหรัฐอเมริกา(มาตรฐานเก่า) สหรัฐอเมริกา(มาตรฐานใหม่) |
0.1ng. I-TEQ/Nm3 0.1 ng. I-TEQ/Nm3 0.1ng. I-TEQ/Nm3 1.0 ng. I-TEQ/Nm3 0.5 ng. I-TEQ/Nm3 0.5 ng. I-TEQ/Nm3 0.1ng. I-TEQ/Nm3 30 ng-Total/Nm3 13 ng-Total/Nm3 |
เตาเผาทุกขนาด เตาเผาทุกขนาด เตาเผาทุกขนาด เตาเผาทุกขนาด เตาเผาทุกขนาด เตาเผาทุกขนาด เตาเผาขนาดใหญ่ เตาเผาขนาดใหญ่ เตาเผาขนาดใหญ่ |
ตารางที่ 8 เปรียบเทียบค่ามาตรฐาน PCDDs/PCDFs จากเตาเผาอุณหภูมิสูงของประเทศต่างๆ (ต่อ)
ประเทศ |
ค่ามาตรฐาน |
ประเภทเตาเผา |
ประเทศไทย (2540)
ประเทศไทย (2545) |
30 ng-Total/Nm3
0.5 ng. I-TEQ/Nm3 |
เตาเผามูลฝอยชุมชนขนาดตั้งแต่ 1 ตัน/วันขึ้นไป เตาเผาสิ่งปฏิกูลหรือเตาเผาที่ไม่ใช้แล้ว |
ที่มา : จารุพงศ์ บุญหลง (2547)
ตารางที่ 9 ค่ามาตรฐานของสารไดออกซินจากตัวกลางสิ่งแวดล้อมที่กำหนดโดยประเทศแคนาดา
ตัวกลางสิ่งแวดล้อม |
ค่ามาตรฐาน |
|
อากาศ น้ำดื่ม น้ำผิวดิน ดิน |
บรรยากาศ (24 ชั่วโมง) ปริมาณมากที่สุดที่อนุญาตให้ตรวจพบได้ กำลังดำเนินการพิจารณา - พื้นที่ที่อยู่อาศัย - พื้นที่การเกษตร |
5 พิโคกรัม TEQ ต่อคิวบิกเมตร 15 พิโคกรัม TEQ ต่อลิตร - 1000 พิโคกรัม TEQ ต่อกรัม 10 พิโคกรัม TEQ ต่อกรัม |
ที่มา : Ministry of Environment and Energy of Canada (2008)
มาตรฐานควบคุมสารไดออกซินของประเทศไทย
ประเทศไทยเริ่มมีการกำหนดให้เตาเผามูลฝอยเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ ที่จะต้องควบคุมการปล่อยอากาศเสียออกสู่บรรยากาศและกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย โดยจัดทำเป็นประกาศ 4 ฉบับ ประกอบด้วย
ฉบับที่ 1 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2540 เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย ซึ่งกำหนดค่าสารประกอบไดออกซินรวมไม่เกิน 30 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, 2540)
บทสรุป
ไดออกซิน (dioxins) เป็นผลิตผลทางเคมีที่เกิดขึ้นมาโดยมิได้ตั้งใจผลิตขึ้น (unintentional products) และเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูงที่สุดที่ปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม มนุษย์สามารถรับสารไดออกซินได้จากกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวเราโดยมีแหล่งกำเนิดทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือแม้แต่การจราจรซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวเรามาก ภาครัฐเห็นความสำคัญของปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อประชาชนโดยมีนโยบายและกฎหมายเพื่อควบคุมแก้ไขและพยายามปรับลดการปลดปล่อยของสารกลุ่มไดออกซินจากแหล่งกำเนิด ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีให้เหมาะสมต่อไปในอนาคตและต้องมีการติดตามตรวจสอบเพื่อควบคุมการปลดปล่อยสารไดออกซินอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศที่เจริญแล้วนั้น การบังคับใช้กฎหมายและความรับผิดชอบต่อสังคมนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการปรับลดสารมลพิษไม่ใช่แต่เฉพาะสารไดออกซินเท่านั้นแต่สารพิษกลุ่มอื่นๆ ก็สามารถบริหารจัดการให้ปลอดภัยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนั้นการให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อความเข้าใจและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเพื่อมิให้เป็นผู้สร้างมลพิษก็เป็นช่องทางหนึ่งที่มีส่วนช่วยแก้ปัญหามลพิษให้ลดลงด้วย
อ้างอิง
Ministry of Environment and Energy of Canada. Dioxins and Furans. [Online] [cited 8 April 2008]
Available from internet : http://www.mywaterlooregion.com/website/references/dioxinsandfurans.pdf
Moreno-Pirajan, JC., et al. Evaluation of dioxin and furan formation thermodynamics in combustion process of urban solid waste. Ecl. Quim.
São Paulo, 2007, vol. 32, no. 1, p. 15-18.
Ogawa, T., et al. Detectable dioxins in human saliva and their effects on gingival epithelial cells. J Dent Res, 2003, vol. 82, no. 10, p. 849-853.
Oka, H., et al. Atmospheric deposition of polychlorinated dibenzo-p-dioxins (PCDDs) and polychlorinated dibenzofurans (PCDFs) in Kanazawa, Japan.
Journal of Health Science, 2006, vol. 52, no. 3, p. 300-307.
อาหารดัดแปรพันธุกรรม
บทนำ
สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยเซลล์ แต่ละเซลล์มีนิวเคลียส ในนิวเคลียสมีโครโมโซมที่ประกอบด้วยดีเอ็นเอ (DNA) ดีเอ็นเอเป็นหน่วยถ่ายทอดพันธุกรรมที่มีรหัสเฉพาะของโปรตีน เอนไซม์และสารชีวเคมีอื่นๆ ที่มีหน้าที่ต่างๆ ในสิ่งมีชีวิต สมัยก่อนการปรับปรุงพันธุ์พืชใช้วิธีคัดสรรตามธรรมชาติโดยนักปรับปรุงพันธุ์จะคัดเลือกพืชที่มีลักษณะที่ต้องการ เช่น ให้ผลผลิตสูงนำมาผสมเกสรกับพืชที่มีลักษณะที่เด่นที่ต้องการ เช่น ทนต่อโรค พืชลูกผสมที่ได้จะถูกคัดเลือกอีกหลายชั่วรุ่น (Generations) เพื่อให้ได้ลักษณะสองอย่างตามที่ต้องการ ซึ่งต้องใช้เวลาตรงกันข้ามกับปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมในการพัฒนาสายพันธุ์ให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยการเลือกดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะตามที่ต้องการ นำมาต่อเชื่อมกับส่วนอื่นของดีเอ็นเอแล้วนำกลับเข้าไปใส่ในพืช หรือโดยการยิงอนุภาคของทองหรือทังสเตนที่เคลือบด้วยดีเอ็นเอที่ต้องการเข้าไปในพืช เซลล์จะซ่อมแซมตัวเอง เกิดดีเอ็นเอใหม่ในจีโนม (Genome) พืช ซึ่งการยิงดีเอ็นเอเข้าไปนี้ไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ ดังนั้นบางครั้งอาจมีผลต่อลักษณะแสดงออกของยีน หรืออาจมีการผลิตสารพิษหรือสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ หรือให้ลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ได้ นอกจากนี้ดีเอ็นเอที่ใส่เข้าไปอาจมาจากพืชที่ไม่ได้เป็นอาหาร แบคทีเรีย สัตว์ หรือไวรัส เพื่อให้ได้พืชที่มีความต้านทานต่อศัตรูพืช โรค ยากำจัดวัชพืช รวมทั้งลักษณะด้านคุณภาพ เช่น รส กลิ่น สีและคุณค่าทางอาหาร ตัวอย่าง เช่น ฝ้ายบีที ที่มีความต้านทานต่อหนอนเจาะสมอฝ้ายเช่นเดียวกับข้าวโพดบีทีต้านทานต่อหนอนเจาะฝัก ข้าวทองที่เพิ่มสารเบต้าแคโรทีน
จีเอ็มโอ (Genetically Modified Organism หรือ GMOs) หมายถึง พืชหรือสัตว์ที่มีการดัดแปรยีนหรือสารพันธุกรรม ปัจจุบันเทคโนโลยีการดัดแปรยีนหรือสารพันธุกรรมมีความก้าวหน้าและมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราอย่างมาก พืชดัดแปรพันธุกรรมหรือพืชจีเอ็มหลายชนิดมีวางจำหน่ายตามท้องตลาดในประเทศที่พัฒนา เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันฝรั่ง มะเขือเทศ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากพืชจีเอ็ม เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ แป้งขนมปัง เป็นต้น ซึ่งความปลอดภัยของอาหารที่มาจากพืชดัดแปรพันธุกรรมหรืออาหารจีเอ็มเป็นหัวข้อหลักในเรื่องพันธุวิศวกรรม ดังนั้นจึงต้องมีการทดสอบและประเมินความปลอดภัยก่อนวางจำหน่ายในท้องตลาด
อาหารที่มาจากพืชดัดแปรพันธุกรรมจึงมีทั้งผู้สนับสนุนและผู้ที่ต่อต้าน โดยผู้สนับสนุนได้โต้แย้งว่าพืชดัดแปรพันธุกรรมไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างเด่นชัด แต่ยังคงแสดงลักษณะอื่นๆ เหมือนที่เคยเป็น ดังนั้นพืชดัดแปรพันธุกรรมยังคงลักษณะทุกอย่างเทียบเท่า (Substantially equivalent) พืชต้นพ่อแม่และไม่มีความจำเป็นต้องทดสอบความปลอดภัย ผู้โต้แย้งกล่าวว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสมมุติฐานที่ไม่มีการทดสอบ ด้วยเทคโนโลยี ใหม่นี้ อาจมีผลที่ไม่รู้หรือไม่ได้ตั้งใจเกิดขึ้นตามมา จึงต้องให้ความระมัดระวัง ต้องมีการทดสอบความปลอดภัยของอาหารที่มาจากพืชดัดแปรพันธุกรรมก่อนที่จะไปให้คนเป็นล้านๆ คนบริโภค (Carman, J., 2004) และหากการค้นคว้ามีการจดลิขสิทธิ์ ก็จะมีความเสี่ยงว่ามันแพงเกินไปสำหรับเกษตรกรที่ยากจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา ด้านเอกชนที่ลงทุนมักมองถึงการลงทุนในตลาดสำหรับคนร่ำรวยและให้ความสนใจต่อประเทศยากจนน้อย ทำให้การผลิตอยู่ในมือของบริษัทใหญ่ๆ ซึ่งอาจมีผลรบกวนต่อปัญหาความมั่นคงของอาหารโลก
พืชที่มีการถ่ายโอนยีนเริ่มจากนักวิจัย 4 กลุ่มที่ทำการวิจัยเป็นอิสระต่อกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมาได้แก่ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยวอชิงตันในเมืองเซ็นต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี ประเทศสหรัฐอเมริกา, Rijksuniversiteit ที่เมือง Ghent ประเทศเบลเยี่ยม มหาวิทยาลัยวิสคอนซินและบริษัทมอนซานโต้ เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี การค้นพบนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ และในปี ค.ศ. 1994 อาหารดัดแปลงพันธุกรรมได้เข้าสู่การตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกาคือ มะเขือเทศที่ใช้เทคโนโลยีด้านพันธุวิศวกรรมและสามารถเก็บรักษาให้สุกช้าลงภายใต้ชื่อ The Flavr Savr
เป็นที่คาดกันว่าในปี ค.ศ. 2050 ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าดังนั้นการผลิตอาหารก็จะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 2-3 เท่าเพื่อให้เพียงพอต่อประชากรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกยังคงมีเท่าเดิมจึงต้องหาวิธีเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เช่น การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปรับปรุงวิธีการควบคุมศัตรูพืช ดินและน้ำ ตลอดจนการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยวิธีดั้งเดิมหรือวิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชที่มีการถ่ายโอนยีนหรือพืชจำแลงพันธุ์เป็นแนวทางที่คาดหวังว่าจะให้ผลผลิตการเกษตรเพิ่มขึ้นเมื่อมีการผสมผสานกับวิธีดั้งเดิมอย่างเหมาะสม ได้มีการแสดงให้เห็นว่าพืชที่มีการถ่ายโอนยีนมีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต ในปี ค.ศ. 1996 และ 1997 พืชที่มีการดัดแปรให้ต้านทานต่อไวรัส แมลง และยากำจัดวัชพืช ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 5-10 % ประหยัดยากำจัดวัชพืชถึง 40 % (Herrera-Estrella, LR., 2000) ประเทศที่กำลังพัฒนาในเขตร้อนและใกล้เขตร้อนของโลก พืชได้รับความเสียหายจากศัตรูพืช โรคและดินที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้เนื่องจากภูมิอากาศในแถบนี้เป็นที่ชอบของพาหะของแมลงและโรค รวมทั้งขาดปัจจัยการผลิตที่ดี ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ ยาฆ่าแมลง และปุ๋ย จึงทำให้ได้ผลผลิตต่ำ ผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวก็มีความเสียหายสูงเนื่องจากอากาศเขตร้อนเหมาะสมสำหรับเชื้อราและแมลง การเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม ปัญหาเหล่านี้สามารถทำให้ลดน้อยลงได้โดยเทคโนโลยีชีวภาพ ข้อดีของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในพืชก็คือ สามารถใช้วิธีการปรับปรุงพืชหนึ่งไปประยุกต์ใช้กับพืชอื่นได้ พันธุวิศวกรรมด้านต้านทานไวรัส ต้านทานแมลงและยืดอายุการสุก เป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่สามารถนำไปใช้กับพืชได้หลากหลาย ข้อดีที่สองคือ ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงมากในการทำเกษตรกรรมของเกษตรกรรายย่อย ปัจจุบันการพัฒนาส่วนใหญ่ของเทคโนโลยี ถ่ายโอนยีนพืชและยุทธศาสตร์ในการปรับปรุงผลิตพันธุ์พืชถูกผลักดันโดยคุณค่าทางเศรษฐกิจของชนิดหรือลักษณะพืช
ปัจจุบันมีพืชที่ดัดแปรพันธุกรรมมากกว่าหนึ่งครั้งที่เรียกว่า “จีเอ็มสแทค” (GM stacked event) เพื่อให้ได้ลักษณะที่ต้องการมากกว่า 1 อย่างในพืชนั้น เช่น การผสมข้ามสายพันธุ์ของพืชจีเอ็มด้วยกันเพื่อให้มีความต้านทานต่อแมลงและทนต่อยากำจัดวัชพืช ในข้าวโพด ฝ้ายและถั่วเหลือง มีการประเมินความเสี่ยงไม่มากเท่าการประเมินพ่อแม่พันธุ์ที่เป็นพืชจีเอ็มที่มีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเทียบเท่าพืชต้นแบบทั่วไป ในกรณีพืชจีเอ็มลูกผสม หมายถึง ลูกผสมระหว่างลักษณะพันธุ์พ่อแม่ที่เป็นจีเอ็มกับสายพันธุ์ที่ไม่ได้เป็นจีเอ็ม มีการคัดด้านต่อการประเมินว่าหากพืชลูกผสมที่ไม่ใช่จีเอ็มไม่ต้องมีความทดสอบความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพคนและสัตว์แล้ว ทำไมถึงต้องมีการทดสอบความเสี่ยงของพืชลูกผสมจีเอ็มที่เกิดจากสายพันธุ์พ่อแม่ที่ได้ทดสอบความปลอดภัยแล้วและก็ยังไม่แน่ชัดว่าพืชลูกผสมระหว่างพืชจีเอ็มสองสายพันธุ์พืชจะให้พืชจีเอ็มใหม่ขึ้นมาซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนั้นก็ควรจะมีการประเมินความเสี่ยง อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการยุโรป ( European Commission) พิจารณาว่าหากมีการดัดแปรพันธุกรรมซ้ำ (GM stacked event) ถือว่าเป็นพืช/สัตว์ดัดแปรพันธุกรรมชนิดใหม่ ต้องมีการให้ข้อมูลด้านประเมินความเสี่ยงโดยมีข้อมูลของสายพันธุ์พ่อแม่จีเอ็มร่วมด้วย ซึ่งในอนาคตจะมีการรวมลักษณะเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มีคุณค่าด้านต่างๆ เช่น การต้านทานแมลง ทนต่อยากำจัดวัชพืชและลักษณะทางคุณภาพ รูปแบบของการทดสอบความปลอดภัยและวิธีการต้องสามารถประเมินความเทียบเท่าทางโมเลกุลระหว่างการรวมหลายลักษณะและลักษณะเดียวของพืชจีเอ็มได้ (Schrijver, AD., et al., 2007; Sesikeran, B. and Vasanthi, S., 2008)
การประเมินความปลอดภัยอาหารที่มาจากพืชจีเอ็มโดย OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) หัวข้อการประเมินประกอบด้วย
อาหารทุกอย่างรวมทั้งที่มาจากพืชจีเอ็มมีความเสี่ยงโดยธรรมชาติต่อสุขภาพ เนื่องจากสามารถทำให้เกิดภูมิแพ้ หรือเป็นพิษหรือขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร ไม่สามารถรับประกันได้ว่าอาหารทั่วไปจะไม่มีความเสี่ยงเลย แม้ว่าอาหารจากพืชจีเอ็มบางชนิดประกอบด้วยสารก่อภูมิแพ้ สารพิษและสารต้านการดูดซึมสารอาหาร แต่ระดับของสารเหล่านี้ก็เทียบเท่ากับที่พบในพืชที่ไม่ได้ดัดแปรพันธุกรรม อาหารจีเอ็มจะถูกทดสอบตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยเริ่มจากแหล่งของยีนดัดแปร ตรวจสอบอาหารจีเอ็มเช่นเดียวกับอาหารที่มาจากพืชพันธุ์ที่รู้สารก่อภูมิแพ้ สารพิษและสารต้านโภชนาการหรือสารต้านการดูดซึมสารอาหาร อาจรวมทั้งทดสอบความปลอดภัยของโปรตีนดัดแปรจากอาหารจีเอ็มในระบบย่อยอาหาร ในแต่ละขั้นตอนเปรียบเทียบระดับความเสี่ยงที่พบในอาหารจากพืชปรกติ ถ้าอยู่ในระดับเดียวกันก็ถือว่าอาหารจีเอ็มนั้นปลอดภัยเช่นเดียวกับอาหารทั่วไป
สารต้านโภชนาการ (Antinutrition) เป็นสารประกอบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่ไปรบกวนการดูดซึมสารอาหารที่สำคัญในระบบย่อยอาหาร เช่นเดียวกันหากอาหารจีเอ็มมีสารต้านการดูดซึมอาหารต้องแน่ใจว่าไม่เกินระดับของที่มีในอาหารดั้งเดิม ถ้าระดับใกล้เคียงกันก็จะถือว่ามีความปลอดภัยเช่นเดียวกับของเดิม เช่น ในปี ค.ศ. 1995 บริษัทได้ยื่นประเมินความปลอดภัยของน้ำมันคาโนลาซึ่งได้มีการดัดแปลงองค์ประกอบของกรดไขมันในน้ำมัน บริษัทได้เปรียบเทียบองค์ประกอบสารต้านการดูดซึมสารอาหารของผลิตภัณฑ์กับน้ำมันคาโนลาต้นแบบที่ไม่ได้ดัดแปร และพบว่าน้ำมันคาโนลาที่ดัดแปรมีปริมาณสารดังกล่าวไม่เกินระดับที่มีในของต้นแบบ และเพื่อให้มั่นใจว่าอาหารจีเอ็มไม่ได้ลดคุณค่าทางโภชนาการ จึงได้วัดองค์ประกอบทางโภชนาการของอาหารจีเอ็มด้วย และมักรวมถึงการวัดกรดอะมิโน น้ำมัน กรดไขมันและวิตามิน ในหลายประเทศยอมรับและให้มีจำหน่ายอาหารดัดแปรพันธุกรรมพืชหรืออาหารจีเอ็มที่ได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยใต้กรอบการประเมินความปลอดภัยขององค์กรระหว่างประเทศ
การยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่ออาหารและพืชดัดแปรพันธุกรรม
ประเทศต่างๆ ที่ยอมรับเทคโนโลยีนี้ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความระมัดระวังเรื่องนโยบาย ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ความสามารถที่จะประเมินความเสี่ยง การออกกฎหมายควบคุม ประโยชน์ที่ได้รับจากเทคโนโลยีนี้ ผลต่อการส่งสินค้าออก พื้นที่บนโลกที่ปลูกพืชจีเอ็มเพิ่มขึ้น 47 เท่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 และในปีค.ศ. 2004 มีพื้นที่ปลูก 81 ล้านเฮกแตร์โดยเกษตรกร 8.25 ล้านใน 17 ประเทศ (Zarrilli, S., 2005) พืชจีเอ็มที่ปลูกมากที่สุดคือ ถั่วเหลืองทนยาฆ่าแมลง รองลงมาคือ ข้าวโพดบีที ฝ้ายบีที ที่ต้านทานแมลงและคาโนลาทนต่อยาฆ่าแมลง แปดประเทศที่เป็นผู้นำการปลูกพืชจีเอ็มคือ สหรัฐอเมริกา (59%) อาร์เจนตินา (20%) แคนนาดาและบราซิล ( ประเทศ ละ 6%) จีน (5%) ปารากวัย (2%) อินเดีย (1%) และแอฟริกาใต้ (1%) นอกจากนี้ยังมีปลูกในประเทศอุรุกวัย ออสเตรเลีย โรมาเนีย เม็กซิโก สเปน ฟิลิปปินส์ ฮอนดูรัส โคลัมเบียและเยอรมันนี ในปี ค.ศ. 2004 พืชจีเอ็มที่ปลูกมาก ได้แก่ ถั่วเหลือง (56%) ฝ้าย ( 28%) คาโนลา (19%) และข้าวโพด (14%) และสินค้าพืชจีเอ็มทั่วโลกมีมูลค่าถึง 4.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี ค.ศ. 2004 เช่นกัน
การนำพืชและอาหารจีเอ็มเข้ามาในระบบการผลิตอาหารทำให้เกิดคำถามตามมามากมายโดยเฉพาะด้านลบ ซึ่งมุ่งเน้นไปยังผลที่มีต่อสุขภาพ ความปลอดภัยและการรักษาสิ่งแวดล้อม สิทธิบัตร ฉลาก ทางเลือกของผู้บริโภคและด้านจริยธรรม ซึ่งก่อนหน้านี้พืชมักจะไม่ได้รับความสนใจด้านจริยธรรม จนกระทั่งมีอาหารพืชจีเอ็มเพราะสิ่งเหล่านี้มิได้เป็นไปตามธรรมชาติโดยเฉพาะการถ่ายโอนยีนของสัตว์ไปยังพืช จึงเป็นสิ่งที่หยิบยกขึ้นมาในหมู่พวกมังสวิรัติและศาสนา การทดลองอาหารจีเอ็มกับสัตว์ก็เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ของคนจำนวนมาก เทคนิคพันธุวิศวกรรมที่ใส่ยีนเข้าไปในพืชหรือสัตว์ก็ยังไม่ถูกต้องแน่นอน ลำดับดีเอ็นเออาจใส่ไปผิดที่ หรือผิดลำดับหรืออาจไปรบกวนลำดับดีเอ็นเอที่สำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตนั้นซึ่งอาจทำให้ได้สิ่งที่ไม่ตั้งใจตามมา ตัวอย่าง เช่น มะละกอจีเอ็มมีความต้านทานต่อโรคจุดวงแหวนที่เกิดจากไวรัส เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งที่ตามมาคือมะละกอจีเอ็มมีความอ่อนแอต่อโรคจุดดำที่เกิดจากเชื้อรา ทั้งนี้ยีนไม่ได้ทำงานตามลำพังแต่ทำในรูปเครือข่ายหน้าที่ของแต่ละยีนขึ้นกับยีนอื่นๆ ในจีโนม (Asante, DKA., 2008) อาหารจีเอ็มมีความเสี่ยงต่ออาการแพ้เนื่องจากโปรตีนในอาหารที่เกิดจากดีเอ็นเอหรือยีนที่ยังไม่เคยรับประทานมาก่อนหรือทดสอบความปลอดภัย สารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ส่วนใหญ่คือ โปรตีน อาหารส่วนใหญ่ที่พบว่ามักจะทำให้เกิดอาการแพ้ ได้แก่ นม ปลา อาหารทะเล ถั่วเหลือง ถั่ว และข้าวสาลี
สหภาพยุโรปยอมรับอาหารและพืชจีเอ็มอย่างระมัดระวัง โดยการยอมรับนั้นขึ้นกับคุณภาพความปลอดภัยและความชอบของอาหารนั้น แม้ว่าจะมีการปฏิเสธจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ในการบริโภคสัตว์จีเอ็มที่นำมาผลิตเป็นอาหาร แม้แต่หญ้าหรืออาหารสัตว์ที่เป็นจีเอ็มนำมาเลี้ยงสัตว์ แต่ที่จริงแล้วในสหภาพยุโรปก็มีการใช้อาหารสัตว์จีเอ็มมาเป็นเวลาหลายปี ประเทศสเปนปลูกข้าวโพดจีเอ็มเพื่อเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 ปัจจุบันข้าวโพดจีเอ็มปลูกในประเทศฝรั่งเศส เยอรมันนี สาธารณรัฐเชค และโปรตุเกส นอกจากนี้สหภาพยุโรปนำเข้าถั่วเหลืองปีละ 40 ล้านตันเพื่อเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นถั่วเหลืองจีเอ็ม จึงเห็นได้ว่าผู้บริโภคในสหภาพยุโรปบริโภคอาหารจีเอ็มมาเป็นเวลานานแล้ว และมีกฎข้อบังคับให้มีการติดฉลากอาหารคนและสัตว์ว่าเป็นอาหารจีเอ็มแต่ไม่ได้บังคับให้อาหารที่ผลิตจากสัตว์ที่เลี้ยงด้วยอาหารจีเอ็มต้องติดฉลาก (Knight, JG., Holdsworth, DK., and Mather, DW., 2008)
- ต้านทานต่อไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรีย (Resistance to viruses, fungi and bacteria) การป้องกันเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโดยใช้ยีนโปรตีนที่ห่อหุ้มไวรัสหรือทำให้เกิดยีนจำลองของไวรัส การต้านเชื้อราเป็นการดัดแปรพืชให้เกิดชีวสังเคราะห์ของสารต้านเชื้อราโดยเอนไซม์ไคติเนส (Chitinases) เบต้ากลูคาเนส (ß-glucanases) หรือสร้างโปรตีนที่ไปยับยั้งการสร้างไรโบโซม (Ribosome) ที่จำเพาะต่อไรโบโซมของเชื้อรานั้น สำหรับแบคทีเรียก็เช่นเดียวกันจะอยู่ในรูปของเอนไซม์ที่ต้านแบคทีเรีย นอกจากการมียุทธศาสตร์เพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชที่ต้านทานต่อโรค แมลง และยากำจัดวัชพืชแล้ว ยังมีปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ความแห้งแล้ง ภาวะความเค็มที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสง และเพิ่มการเกิดอนุมูลอิสระของออกซิเจนที่ทำให้พืชเจริญไม่เต็มที่ ความเป็นกรด-ด่างของดินที่มีผลต่อการดูดซึมธาตุอาหารพืช จึงมีการดัดแปรพืชด้วยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมเพื่อให้ได้พืชที่ทนต่อสภาพที่มีน้ำไม่เพียงพอ การปรับปรุงพันธุ์พืชที่ปลดปล่อยคีเลตเพื่อไปละลายธาตุอาหารทำให้พืชดูดไปใช้ได้ สำหรับสภาพพื้นที่มีความเค็มใช้เทคนิคการเพิ่มเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการออสโมซิส หรือสร้างเอนไซม์ที่ต้านการเกิดออกซิเดชัน
2. พืชอุตสาหกรรม (Industrial crops) พืชดัดแปiพันธุกรรมที่เป็นอุตสาหกรรม ได้แก่ พืชที่ให้น้ำมันคือถั่วเหลือง น้ำมันลินสีด (Linseed oil) เรพสีด (Rapeseed) และคาโนลา (Canola) ถั่วเหลืองจีเอ็มโอให้น้ำมันที่มีคุณค่าต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น พืชอุตสาหกรรม 3 ชนิดที่ปลูกในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลืองและฝ้าย เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกใช้พืชจีเอ็มโอ พืชเหล่านี้เป็นแหล่งของส่วนผสมในกระบวนการผลิตอาหาร เช่น น้ำเชื่อมข้าวโพด (Corn syrup) น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันจากเมล็ดฝ้าย และเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศสหรัฐอเมริกา (GOA, 2002 ; McKeon, TA., 2003) พืชอาหารจีเอ็มที่ทำเป็นการค้าพืชแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาคือ มะเขือเทศ ที่มีชื่อการค้าว่า “ Flavr Savr” เป็นมะเขือเทศที่สุกช้า เนื่องจากการยับยั้งเอนไซม์พอลิกาแลคทูโรเนส (Polygalacturonase) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอ่อนตัวของผนังเซลล์ จึงทำให้ชะลอการสุก ยืดอายุการวางจำหน่ายและสะดวกต่อการขนส่ง นอกจากนี้ยังมีการดัดแปรเอนไซม์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวสังเคราะห์กลิ่นและรสชาติ เช่น การผลิตน้ำมันหอมระเหยในมินต์ หรือดัดแปรเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและทำลายกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว การใช้พันธุวิศวกรรมดัดแปรพืชเพื่อผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารหลักหรือสารอาหารหลัก (Macronutrients) และคุณค่าทางอาหารรองหรือสารอาหารรอง (Micronutrients) (Engel, KH., Frenzel, T., and Miller, A., 2002)
สารอาหารหลักนั้นใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมในกระบวนการลิพิดเมแทบอลิซึม (Lipid metabolism) ของพืชน้ำมันเพื่อให้ได้น้ำมันและไขมันสำหรับเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการผลิตน้ำมันหรือไขมันที่ใช้เป็นอาหาร มีการดัดแปรความยาวและจำนวนไม่อิ่มตัวของกรดไขมันเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพขายเป็นการค้า เช่น น้ำมันคาโนลา และน้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน นอกจากนี้มีการปรับปรุงคุณภาพของโปรตีนของพืชที่เป็นอาหารคนและสัตว์ ส่วนสารอาหารรอง โดยตัวอย่างพืชจีเอ็มโอที่รู้จักกันดีคือ ข้าวทอง “Golden Rice” เป็นพันธุ์ข้าวที่มี ß-carotene และธาตุเหล็กสูง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการขาดวิตามินเอ และธาตุเหล็กของประชากรโลก
ผลของอาหารดัดแปรพันธุกรรมพืช
1. ผลทางด้านโภชนาการของมนุษย์ (Effect on human nutrients) เทคโนโลยีชีวภาพด้านการดัดแปรพันธุกรรมพืชมีแนวโน้มที่จะใช้ปรับปรุงคุณภาพอาหารด้านโภชนาการสำหรับผู้บริโภคในประเทศที่กำลังพัฒนา ในประเทศที่ร่ำรวยในทวีปยุโรป อเมริกาและอื่นๆ ผู้บริโภคใช้จ่ายเพียง 10% ของรายได้สำหรับอาหาร ผู้บริโภคส่วนใหญ่ของประเทศที่พัฒนาแล้วจะไม่มีภาวะขาดสารอาหารแต่อาจมีการบริโภคมากเกินจนทำให้เกิดปัญหาในบางคน ซึ่งต่างจากประเทศที่ยากจนที่ภาวะขาดอาหารและสุขภาพเจ็บป่วยพบเห็นได้บ่อย ผู้บริโภคในประเทศยากจนใช้จ่าย 70% ของรายได้ในอาหารและอาหารส่วนใหญ่ก็เป็นอาหารประจำประเทศที่ขาดวิตามิน แร่ธาตุ และส่วนประกอบที่สำคัญช่วยรักษาสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังที่เกิดจากอาหาร นอกจากนี้การมีรายได้ต่ำทำให้คนขาดโอกาสที่จะดูแลสุขภาพได้อย่างพอเพียง การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการปรับปรุงผลผลิตของพืชโดยใช้วิธีการใส่ยีนที่ต้องการเข้าไปในพืช เช่น พืชทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อดินเค็ม พืชบีทีที่ทนต่อแมลงทำให้การใช้ยากำจัดแมลงลดลง สุขภาพเกษตรกรดีขึ้น การใช้การถ่ายโอนยีนในพืชเพื่อปรับปรุงสารอาหารรองและ /หรือ สาระสำคัญอื่นๆ ในอาหารบริโภคทั่วไปในประเทศ
นอกจากสารอาหารหลักและสารอาหารรองแล้ว ยังมีสารอาหารอื่นที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพและชีวิตที่ดี ในประเทศที่ยากจนการได้รับสารอาหารรองไม่เพียงพอมากกว่าครึ่งของประชากร ซึ่งสภาวการณ์นี้เนื่องมาจากอาหารที่มีคุณภาพด้านโภชนาการต่ำ ประชากรต้องการอาหารที่ไม่ใช่อาหารประจำ เช่น ผลิตภัณฑ์จากสัตว์และปลา ผลไม้ ถั่วและผัก ซึ่งอาหารเหล่านี้เป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่และสารอาหารรองเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่มีขายในตลาดท้องถิ่น แต่อาหารเหล่านี้มักมีราคาแพงสำหรับคนจนที่จะต้องบริโภคเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการบริโภคอาหารที่ไม่มีคุณภาพสิ่งที่ตามมาคือ เกิดภาวะขาดสารอาหาร ด้วยเหตุนี้เทคโนโลยีชีวภาพจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถปรับปรุงด้านโภชนาการและสุขภาพของผู้บริโภคในประเทศที่กำลังพัฒนาโดยเพิ่มวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารในอาหารบริโภคประจำหรืออาหารอื่น
การเพิ่มธาตุเหล็กในข้าวเพื่อป้องกันโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก โดยถ่ายโอนยีนเฟอริทิน (Ferritin) จากถั่วเหลืองใส่ในข้าว ทำให้เมล็ดข้าวมีธาตุเหล็กเพิ่มเป็น 2-3 เท่าของข้าวปรกติ การเพิ่มระดับของสารช่วยดูดซึมและใช้ประโยชน์ของสารอาหารโดยการเพิ่มระดับของไลซีน (Lysine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นและมีจำกัดในข้าว ไลซีนจะช่วยการดูดซึมสารอาหารรองสามารถปรับปรุงได้ด้วยวิธีแปรพันธุ์ (Transgenic method) เช่น การใช้ยีนจากแบคทีเรียสองชนิดผลิตพืชจีเอ็มที่มีไลซีนในเมล็ดสูงเป็น 5 เท่าของเดิม ได้แก่ เมล็ดคาโนลา และถั่วเหลือง การเพิ่มเบต้าแคโรทีนที่เป็นสารเริ่มต้นของวิตามินเอในเมล็ดข้าว (ข้าวทอง) เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดวิตามินเอในประเทศที่กำลังพัฒนา (Bouis, HE., Chassy, BM., and Ochanda, O., 2003) นอกจากนี้ยังมีการดัดแปรพันธุกรรมเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการพืชอาหารอื่นๆ เช่น เพิ่มคุณภาพของน้ำมันและโปรตีนในถั่วเหลือง วิตามินในผลไม้ ดังแสดงในตารางที่ 1
2. ผลทางด้านสุขภาพของมนุษย์ (Effect on human health) พืชอาหารดัดแปรพันธุกรรมมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1995 จนถึงปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 2000 16% ของพื้นที่เพาะปลูกของโลกมีการปลูกถั่วเหลือง คาโนลา ฝ้ายและข้าวโพดแปลงพันธุ์ โดยส่วนใหญ่ของพืชเหล่านี้มีลักษณะที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืช ต้านทานแมลง ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ทำให้ลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น เกษตรกรในประเทศออสเตรเลียที่ปลูกฝ้ายสามารถลดการฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืชลดลงประมาณครึ่งหนึ่งของที่ใช้กับพืชดั้งเดิม เช่นเดียวกับในประเทศสหรัฐอเมริกาเกษตรกรปลูกฝ้ายได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและลดการใช้ยาฆ่าแมลง ซึ่งการลดสารพวกออกาโนฟอสเฟตจะเป็นการลดผลกระทบของสารเคมีเหล่านี้กับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่เป้าหมายและสิ่งที่ตามมาคือ มีผลบวกต่อสุขภาพของเกษตรกร (Barton and Dracup, 2000) โภชนาการด้านสุขภาพของประชากร ได้แก่ การปรับปรุงคุณภาพของอาหาร การป้องกันและควบคุมโรคที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการโดยเฉพาะผู้ยากไร้ เช่น ข้าวทองเป็นข้าวที่ใช้สำหรับประชากรโลกที่ขาดวิตามินเอที่เป็นสาเหตุของการมองไม่เห็นทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น พืชจีเอ็มที่ใช้เป็นแหล่งของอาหารแล้วยังมีการจัดการด้านพืชเพื่อให้ผลิตวัคซีนและยา วัคซีนจากผลไม้และผัก เช่น ไวรัส (Tobacco mosaic virus) ได้ถูกใส่เข้าไปในผักโขม (Spinacia oleracea) ด้วยเทคนิคพันธุวิศวกรรม เพื่อให้พืชผลิตชิ้นส่วนของสารก่อภูมิต้านทานที่ต้องการสำหรับพัฒนาเป็น Anthrax vaccine (Darnton-Hill, I., Margettes, B., and Deckelbaum, R., 2004)
ตารางที่ 1 พืชอาหารดัดแปรพันธุกรรมที่ได้รับการประเมินโดย FDA
ต้านทานแมลง |
ต้านทานไวรัส |
ทนต่อสารกำจัด วัชพืช |
น้ำมันพืชที่ดัดแปลง |
หยุดการเจริญพันธุ์ |
ยืดเวลาการสุก/ทำให้นิ่ม |
ข้าวโพด มะเขือเทศ มันฝรั่ง ฝ้าย
|
สควอช มะละกอ มันฝรั่ง |
ข้าวโพด ข้าว คาโนลา(canola) ซูก้าบีท (sugar beet) แฟ๊กซ์(Flax) ฝ้าย แรดิช(radish) ถั่วเหลือง |
ถั่วเหลือง คาโนลา
|
ข้าวโพด คาโนลา แรดิช |
แคนตาลูป มะเขือเทศ |
ที่มา : GOA (2002)
3. ผลทางด้านคุณภาพของอาหาร (Effect on food quality) พืชอาหารจีเอ็มนอกจากมีลักษณะด้านการเกษตรคือ ทนต่อโรค แมลง ยากำจัดวัชพืชและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมแล้ว ลักษณะด้านคุณภาพ เช่น รสชาติและคุณค่าทางอาหารเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมได้ทำให้มีอาหารมีคุณภาพดีขึ้นและช่วยลดการขาดสารอาหารรองของประชากรในประเทศที่กำลังพัฒนา สารอาหารเป็นสิ่งที่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้โดยเฉพาะเพื่อประชากรยากจนที่ขาดสารอาหาร การเพิ่มสารอาหารรองในอาหารประจำท้องถิ่น (Staple foods) อาจทำได้ 4 วิธีคือ (1) เพิ่มแร่ธาตุและวิตามินในอาหารประจำท้องถิ่นด้วยการผสมพันธุ์พืชแบบดั้งเดิม (2) เพิ่มแร่ธาตุและวิตามินด้วยการใส่ยีนที่มีรหัสสำหรับโปรตีนที่มีพันธะกับธาตุรอง (3) ลดระดับของสารยับยั้งหรือสารต้านการดูดซึมสารอาหาร (4) เพิ่มสารประกอบที่จะไปเพิ่มสภาพพร้อมใช้ทางชีวภาพของสาร (Darnton-Hill, I., Margettes, B., and Deckelbaum, R., 2004)
4. ผลทางด้านสิ่งแวดล้อม (Effect on environment) แม้ว่าพืชอาหารจีเอ็มจะให้คุณประโยชน์ในด้านการเกษตร เกษตรกรและผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาแต่เทคโนโลยีนี้ก็ไม่ได้ปราศจากความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ยังคงมีความกลัวว่าจะมีผลต่อ คน สัตว์ วงจรชีวิตพืช ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม แม้ว่ายังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัดแต่ก็ยังมีความคิดว่าอาจมีได้ในอนาคต สิ่งที่คำนึงมากเรื่องสิ่งแวดล้อมคือ การเคลื่อนย้ายยีนจากพืชจีเอ็มไปยังพืชที่ไม่ใช่จีเอ็มของพืชชนิดเดียวกันหรืออาจข้ามชนิด บ้างก็อ้างว่าการที่พืชจีเอ็มทนต่อยากำจัดวัชพืช ทำให้เกิดวัชพืชที่ดื้อยาขึ้นเรียกว่า “Super weed” หรือการทำให้แมลงปรับตัวให้ทนทานต่อยากำจัดแมลง (GAO, 2002 ; Thomson, J., 2003)
กฎระเบียบของอาหารดัดแปรพันธุกรรมพืชในประเทศต่างๆ
1. ประเทศสหรัฐอเมริกา พืชอาหารจีเอ็มได้นำออกจำหน่ายเป็นการค้าครั้งแรกปี ค.ศ. 1994 และ 2004 สหรัฐอเมริกามีพื้นที่ปลูก 47.6 ล้านเฮกแตร์ (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้ายและคาโนลา) จึงถือได้ว่าเป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรของโลก รัฐบาลมีกฎหมายที่ให้ความมั่นใจต่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์จีเอ็ม โดย FDA รับผิดชอบความปลอดภัยด้านอาหารและอาหารสัตว์ Plant Health Inspection Service (APHIS) รับผิดชอบด้านการประเมินความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมของพืชจีเอ็มและThe Environmental Protection Agency (EPA) รับผิดชอบต่อการพัฒนาและปล่อยพืชจีเอ็มที่มีคุณสมบัติในการควบคุมแมลง กฎหมายที่ใช้ในการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่มาจากเทคโนโลยีใหม่ ได้แก่ พระราชบัญญัติต่างๆ เช่น The Plant Protection Act (PPA), the Federal Food, Drug and Cosmetic Act (FFDCA), the Federal Insecticide, Fungicide, and Rodenticide Act (FIFRA) และ the Toxic Substance Control Act (TSCA) ในปี ค.ศ. 1992 FDA ได้ออกนโยบายเกี่ยวกับอาหารที่มาจากพืชพันธุ์ใหม่ ผู้พัฒนาจะต้องรับผิดชอบที่จะให้ความมั่นใจต่อผู้บริโภคว่าอาหารนั้นปลอดภัยและสอดคล้องกับข้อกำหนด ในปี ค.ศ. 2001 FDA ได้เสนอกฎและร่างเอกสารข้อแนะนำสำหรับอาหารจีเอ็ม (Zarrilli, S., 2005)
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพดัดแปรพันธุกรรมพืช ได้มีการคำนึงถึงแนวโน้มของความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ดังนั้นขณะที่เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมกำลังพัฒนา นักวิทยาศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้วางกฎระเบียบและผู้วางนโยบายเห็นพ้องต้องกันว่า พืชจีเอ็มควรได้รับการประเมินอย่างระมัดระวังก่อนที่จะนำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง สหรัฐอเมริกาได้ตีพิมพ์ Coordinated Framework for Regulation of Biotechnology วางแนวทาง กฎระเบียบ ข้อกฎหมายและนิยามของสิ่งมีชีวิตที่ดัดแปลงพันธุกรรม โดยมี 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ USDA, EPA และ FDA เพื่อประเมินความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์อันเนื่องมาจากพืชจีเอ็ม บริษัทต้องยื่นอาหารจีเอ็มใหม่ให้กับ FDA เพื่อทำการประเมินโดยทดสอบความปลอดภัยตามกฎระเบียบที่จัดตั้งขึ้น ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์แหล่งที่มา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีประวัติที่จะทำให้เกิดภูมิแพ้ เป็นพิษหรือต้านการดูดซึมสารอาหารหรือไม่ (GAO, 2002) โดย FDA ได้ประเมินอาหารจากพืชดัดแปรสำหรับมนุษย์ที่สามารถบริโภคได้ ดังแสดงในตารางที่ 2
2. ประเทศออสเตรเลีย พืชดัดแปรพันธุกรรมที่ได้รับการรับรองจากมาตรฐานอาหารของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (Food Standards Australia New Zealand, FSANZ) ยอมให้ขายได้ในประเทศออสเตรเลีย ได้แก่ ถั่วเหลือง คาโนลา (canola) ข้าวโพด มันฝรั่ง ซูการ์บีท (sugarbeet) และฝ้าย อาหารจากพืชดัดแปรพันธุกรรมได้แก่ ขนมปัง ของขบเคี้ยว น้ำมัน ขนมหวาน เครื่องดื่ม และ sausage skin ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี ค.ศ 2001 อาหารเหล่านี้ต้องมีฉลากระบุแต่ไม่ครอบคลุมถึงอาหารที่มาจากสัตว์เลี้ยงด้วยพืชดัดแปรพันธุกรรม เช่น เนื้อ นม ไข่ และน้ำผึ้ง (Carman, J., 2004)
ตารางที่ 2 การดัดแปรพันธุกรรมเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของพืชอาหาร
สารโภชนาการ |
พืชเป้าหมาย |
ผลผลิตยีนเป้าหมาย |
ไขมันและน้ำมัน
โปรตีน
คาร์โบไฮเดรต
แคโรตินอยด์ และวิตามิน อี |
ถั่วเหลือง คาโนล่า ทานตะวัน
ข้าว ถั่วเหลือง มันเทศ
มันฝรั่ง มันสำปะหลัง กล้วย
ผลไม้และผัก ถั่วเหลือง |
Omega-3-fatty acid Stearidonic acid (SDA) Docosahexaenoic
Beta-phaseolin Methionine enriched glycinin Essential amino acid rich protein
Amylose and amylopectin (structure/ratio) Amylose and amylopectin (structure/ratio) Amylose and amylopectin (structure/ratio)
Beta-carotene Alpha-tocopherol
|
ที่มา : Bouis, HE., Chassy, BM., and Ochanda, O. (2003)
3. สหภาพยุโรป อาหารชนิดใหม่ (ของคนและสัตว์) และส่วนประกอบอาหารชนิดใหม่ที่เป็นจีเอ็มต้องขึ้นทะเบียนอาหารตาม EU Regulation 1829/2003 ซึ่งต้องมีการประเมินก่อนที่จะวางจำหน่าย Regulation 1830/2003 จะว่าด้วยการตรวจสอบย้อนกลับและการติดฉลากของสิ่งมีชีวิตที่ดัดแปรพันธุกรรม (Thomson, J., 2003 ; Zarrilli, S., 2005)
4. ประเทศกรีซ มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบจีเอ็มโอในอาหารคือ Hellenic Food Safety Authority ผู้ที่นำเข้าและดำเนินการด้านจีเอ็มโอโดยไม่ได้รับอนุญาตและการไม่ติดฉลากผลิตภัณฑ์จะต้องถูกลงโทษ หากบริษัทใดให้ใบรับรองไม่ถูกต้องก็ต้องถูกลงโทษเช่นกัน (Varzakas, th., Chryssochoidis, g., and Argyropoulos, D., 2007) แต่ละประเทศจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบและมีกฎระเบียบบังคับสำหรับพืชและสัตว์ที่มาจากการดัดแปรพันธุกรรมและผลิตภัณฑ์จีเอ็มว่าจะอนุญาตให้มีการนำเข้า วางจำหน่ายหรือไม่ (Zarrilli, S., 2005)
บทสรุป
จากการคาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกเท่าเดิม การผลิตอาหารจึงต้องเพิ่มขึ้นสองเท่าเป็นอย่างน้อยเพื่อความมั่นคงด้านอาหารสำหรับประชากรโลก เทคโนโลยีด้านพันธุวิศวกรรมพืชจึงเป็นทางหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาจึงได้เร่งพัฒนาการผลิตพืชดัดแปรพันธุกรรมหรือพืชจีเอ็ม เนื่องจากพืชจีเอ็มให้ผลผลิตสูง ทนต่อโรค แมลง ไวรัส ยากำจัดวัชพืช และทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งให้ลักษณะคุณภาพตามต้องการ เช่น รสชาติ คุณค่าทางโภชนาการ อย่างไรก็ตาม อาหารที่มาจากพืชดัดแปรพันธุกรรมนั้นมีทั้งผู้สนับสนุนและผู้ที่ต่อต้าน ในขณะที่พืชอาหารจะมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคตและมีวิธีการดัดแปรเพิ่มขึ้น การทดสอบและการประเมินความปลอดภัยจึงต้องมีการปรับปรุงตามไปด้วย อาหารจีเอ็มในท้องตลาดไม่ควรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงต้องมีการทดสอบและประเมินความปลอดภัยอย่างถูกต้องและเหมาะสมก่อนที่จะวางจำหน่าย ในบางประเทศกำหนดให้มีการติดฉลากอาหารที่มาจากพืชและสัตว์จีเอ็ม แต่ละประเทศจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบและมีกฎระเบียบบังคับสำหรับพืชและสัตว์ที่มาจากการดัดแปรพันธุกรรมและผลิตภัณฑ์จีเอ็มว่าจะอนุญาตให้มีการนำเข้า และวางจำหน่ายหรือไม่
อ้างอิง
Asante, DKA. Genetically modified food-The dilemma of Africa. African Journal of Biotechnology, May, 2008, vol. 7, no. 9, p. 1204-1211.
Barton, JE. And Dracup, M. Genetically modified crops and the environment. Agronomy Journal, July-August, 2000, vol. 92, p. 797-803.
Bouis, HE. ,Chassy, BM. , and Ochanda, O. Genetically modified food crops and their contribution to human nutrition and food quality.
Trends in Food Science & Technology, 2003, vol. 14, p. 191-209.
Carman, J. Is GM food safe to eat? Edited by Hindmarsh, R; and Lawrence, G. In Recording nature critical perspectives on genetic engineering.
Sydney:UNSW Press, 2004, p. 82-93.
Darnton-Hill, I. , Margetts, B. , and Deckelbaum, R. Public health nutrition and genetics: implications for nutrition policy and promotion.
Proceedings of the Nutrition Society, 2004, vol. 63, p. 173-185.
Engel, KH. , Frenzel,T. , and Miller, A. Current and future benefits from the use of GM technology in food production. Toxicology Letters, 2002,
vol. 127, p. 329-336.
GAO. Genetically modified foods experts view regimen of safety test as adequate, but FDA’s evaluation process could be enhanced. 2002,
May 23; United State general accounting office: Washington, DC. 2002, p. 4-11.
Herrera-Estrella, LR. Genetically modified crops and developing countries. Plant Physiology, November, 2000, vol. 124, p. 923-925.
Knight, JG. ,Holdsworth, DK. , and Mather, DW. Perspective GM food and neophobia:connecting with the gatekeepers of consumer choice.
Journal of the Science of Food and Agriculture, 2008, vol. 38, p. 739-744.
Kok, EJ., and Kuiper, HA. Comparative safety assessment for biotech crops. Trends in Biotechnology, October, 2003, vol. 21, no. 10, p. 439-444.
Kok, EJ., et al. Comparative safety assessment of plant-derived food. Regulatory Toxicology and Pharmacology, 2008, vol. 50, p. 98-113.
McKeon, TA. Genetically modified crops for industrial products and processes and their effects on human health.
Trends in Food Science & Technology, 2003, vol. 14, p. 229-241.
Rodriguez-Lazaro, D. , et al. Trends in analytical methodology in food safety and quality: monitoring microorganisms and genetically
modified organisms. Trends in Food Science & Technology, 2007, vol. 18, p. 306-319.
Schrijver, AD. , et al. Risk assessment of GM stacked events obtained from crosses between GM events. Trends in Food Science & Technology,
2007, vol. 18, p. 101-109.
Sesikeran, B. , and Vasanthi, S. Constantly evolving safety assessment protocols for GM foods. Asia Pac J Clin Nutr, 2008, vol. 17(SI), p. 241-244.
Thomson, J. Genetically modified food crops for improving agricultural practice and their effects on human health.
Trends in Food Science & Technology, 2003, vol. 14, p. 210-228.
Varzakas, TH. , Chryssochoidis, G. , and Argyropoulos, D. Approaches in the risk assessment of genetically modified foods by the Hellenic
Food Safety Authority. Food and Chemical Toxicology, 2007, vol. 45, p. 530-542.
Zarrilli, S. International trade in GMOs and GM products: national and multilateral legal frameworks. 2005, United nations: New York and Geneva,
2005, p. 1-22.
พลังงานจากชีวมวล
บทนำ
|
00/01 |
01/02 |
02/03 |
03/04 |
04/05 |
05/06 |
อ้อย |
49,563 |
60,013 |
74,263 |
70,101 |
67,900 |
63,621 |
ข้าว |
25,844 |
26,523 |
26,057 |
26,841 |
24,977 |
26,493 |
มันสำปะหลัง |
19,064 |
18,396 |
16,868 |
19,718 |
16,977 |
18,246 |
ปาล์มน้ำมัน |
3,256 |
4,089 |
4,001 |
4,903 |
5,192 |
5,513 |
รูปแบบของปฏิกิริยาไพโรลิซิส |
เวลา |
ความร้อนที่ให้ |
สภาพในการทำปฏิกิริยา |
ความดัน (บาร์) |
อุณหภูมิ (เคลวิน) |
ผลิตภัณฑ์ |
การทำถ่าน |
ชม./วัน |
ต่ำมาก |
สิ่งที่ได้จาก การเผาไหม้ |
1 |
400 |
ของแข็ง |
แบบเดิม |
5-30 นาที |
ต่ำ |
สิ่งที่ได้จากผลิตภัณฑ์ปฐมภูมิและทุติยภูมิ |
1 |
600 |
ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง |
แบบเร็ว |
< 1 วินาที |
สูง |
สิ่งที่ได้จาก ผลิตภัณฑ์ปฐมภูมิ |
1 |
< 600 |
ของเหลว |
แบบเร็ว |
< 1 วินาที |
สูง |
สิ่งที่ได้จากผลิตภัณฑ์ปฐมภูมิ |
1 |
> 700 |
ก๊าซ |
สูญญากาศ |
2-30 วินาที |
กลาง |
สูญญากาศ |
< 0.1 |
400 |
ของเหลว |
ไฮโดรไพโรลิซิส |
< 10 วินาที |
สูง |
ไฮโดรเจนและสิ่งที่ได้จากผลิตภัณฑ์ปฐมภูมิ |
20 |
< 500 |
ของเหลว |
เมทาโนไลซิส |
0.5-1.5 วินาที |
สูง |
มีเทนและสิ่งที่ได้จากผลิตภัณฑ์ปฐมภูมิ |
3 |
1050 |
เบนซิน โทลูอีน ไซลีน อีทีน |
ชนิดเชื้อเพลิง |
อุณหภูมิ(๐C) |
ปริมาณอากาศ กก./กก.ชีวมวล |
องค์ประกอบของก๊าซจากgasification (เศษส่วนโมล) |
||||||
H2O |
N2 |
H2 |
CO |
CO2 |
CH4 |
H2S |
|||
ถ่านหิน |
832 |
2,836 |
0.005 |
0.500 |
0.158 |
0.324 |
0.009 |
0.001 |
0.003 |
น้ำมันพืช |
875 |
3,837 |
0.003 |
0.467 |
0.251 |
0.275 |
0.003 |
0.001 |
0.000 |
ฟางข้าว |
659 |
1,401 |
0.063 |
0.384 |
0.225 |
0.205 |
0.113 |
0.010 |
0.000 |
ไม้ยืนต้นมีการปรับปรุง |
655 |
1,628 |
0.062 |
0.409 |
0.213 |
0.194 |
0.112 |
0.010 |
0.000 |
ไม้ยืนต้นไม่มีการปรับปรุง |
642 |
1,452 |
0.076 |
0.380 |
0.227 |
0.177 |
0.126 |
0.013 |
0.000 |
ไม้ล้มลุก |
621 |
1,240 |
0.097 |
0.363 |
0.232 |
0.146 |
0.145 |
0.018 |
0.000 |
น้ำทิ้ง |
600 |
1,237 |
0.186 |
0.412 |
0.192 |
0.056 |
0.147 |
0.004 |
0.003 |
มูลสัตว์ |
600 |
1,247 |
0.246 |
0.395 |
0.171 |
0.018 |
0.147 |
0.002 |
0.001 |
ระดับ |
ประสิทธิภาพการปลดปล่อยพลังงาน (%) |
ระดับ 1 |
≥70 |
ระดับ 2 |
≥60 <70 |
ระดับ 3 |
≥50 <60 |
ระดับ 4 |
≥30 < 50 |

ระดับการปลดปล่อย CO |
ปริมาณการปลดปล่อย CO (%)ที่ O2 13 % |
ระดับ 1 |
≤0.3* |
ระดับ 2 |
>0.3 ≤0.8* |
ระดับ 3 |
>0.8 ≤1.0* |
หมายเหตุ * 1 mg/m3 = 0.0001 %
ที่มา : Malatak, J., et al (2007)
บทสรุป
อาหารฉายรังสี
บทนำ
การฉายรังสีอาหารได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกว่า 40 ประเทศ แต่ยังคงมีปริมาณการใช้ไม่มากนัก เนื่องจากปัญหาในการยอมรับของผู้บริโภค กรรมวิธีการฉายรังสีอาหารเป็นการนำประโยชน์ของพลังงานที่เกิดการไอออไนซ์ส่งผ่านไปยังอาหารเพื่อทำลายแบคทีเรียและจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แหล่งของรังสีที่เป็นต้นกำเนิด ได้แก่ รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ และรังสีอิเล็กตรอน การฉายรังสีอาหารช่วยให้เก็บรักษาอาหารได้นานขึ้น ควบคุมการงอกและชะลอการสุกของผลิตผลทางการเกษตร อาหารที่ผ่านการฉายรังสีจะไม่สูญเสียคุณค่าทั้งด้านโภชนาการและคุณภาพทางประสาทสัมผัส เนื่องจากไม่ผ่านการใช้ ความร้อนและไม่ทำให้คุณสมบัติของอาหารเปลี่ยนแปลง เช่น ผลไม้ที่ผ่านการฉายรังสีจะยังคงมีความชุ่มฉ่ำเหมือนเดิม เนื้อสดและเนื้อแช่แข็งสามารถนำมาฉายรังสีได้โดยไม่จำเป็นต้องทำให้สุกและอาหารที่ผ่านการฉายรังสีจะไม่มีรังสีตกค้างเช่นเดียวกับการฉายเอ็กซเรย์ฟันและกระดูก ปริมาณรังสีที่ใช้ในการฉายรังสีอาหารเกี่ยวข้องกับชนิดของอาหารและประสิทธิภาพในการฉายรังสีอาหาร ซึ่งอาหารที่ผ่านการฉายรังสีแล้ว ต้องระบุวัตถุประสงค์ของการฉายรังสี วันเดือนและปีที่ทำการฉายรังสีด้วย ในประเทศไทยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลอาหารฉายรังสี ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกามีคณะกรรมาธิการอาหารสากล (Codex Alimentarius General Standards for Irradiated Foods) ทำหน้าที่กำกับดูแลการฉายรังสีอาหาร ทั้งนี้ในส่วนของผู้ประกอบการไทยควรมีการส่งเสริมศักยภาพการผลิตอาหารฉายรังสีพร้อมกับผลักดันให้หน่วยงานผู้เชี่ยวชาญของสหภาพยุโรปให้การรับรองแหล่งผลิตหรือโรงงานฉายรังสีอาหารไปพร้อมกัน เพื่อขยายโอกาสในการส่งออกสินค้าอาหารสู่ตลาดสหภาพยุโรป โดยมีมาตรฐาน CODEX 106-1983 ซึ่งได้รับการรับรองจากคณะกรรมาธิการในปี ค.ศ. 1983 จากสมาชิกองค์การอาหารและเกษตร (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดให้ปริมาณรังสีดูดกลืนสำหรับอาหารฉายรังสีมีได้สูงถึง 10 กิโลเกรย์ และรับรองว่าปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่เป็นพิษ ไม่ก่อปัญหาทั้งด้านโภชนาการและจุลชีววิทยา นอกจากนี้หากผู้บริโภคเข้าใจถึงการฉายรังสีอาหารอย่างถูกต้องแล้ว จะทำให้ผู้บริโภคให้การยอมรับอาหารฉายรังสีมากขึ้น
ความหมายของอาหารฉายรังสีและวัตถุประสงค์ในการฉายรังสี
อาหารฉายรังสี (Irradiated foods) เป็นอาหารที่แปรรูปโดยการผลิตด้วยกรรมวิธีการฉายรังสี (กระทรวงสาธารณสุข, 2549) เพื่อกำจัดหรือควบคุมเชื้อโรคและแมลงในผลิตภัณฑ์อาหาร ทั้งยังเป็นวิธีการถนอมอาหารที่เกิดจากการไอออไนซ์โดยใช้รังสี (Ionizing radiation) การฉายรังสีอาหารเพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมาในอาหารเป็นการลดการเน่าเสียและคงคุณภาพ ช่วยลดจำนวนแบคทีเรีย จึงทำให้เก็บรักษาได้นานขึ้น การฉายรังสีอาหารเป็นกระบวนการที่ไม่ทำให้คุณสมบัติของอาหารเปลี่ยนแปลง เช่น ผลไม้ที่ผ่านการฉายรังสีจะยังคงมีความชุ่มฉ่ำเหมือนเดิม เนื้อสดและเนื้อแช่แข็งสามารถนำมาฉายรังสีได้โดยไม่จำเป็นต้องทำให้สุก และอาหารที่ผ่านการฉายรังสีจะไม่มีรังสีตกค้างเช่นเดียวกับการฉายเอ็กซเรย์ฟันและกระดูก แม้ว่าการฉายรังสีอาหารจะได้รับการรับรองจากประเทศต่างๆ กว่า 40 ประเทศแล้วก็ตาม แต่ก็ยังเป็นปัญหาในการยอมรับของผู้บริโภค
วัตถุประสงค์ของการฉายรังสีอาหาร มีดังนี้
การฉายรังสีอาหารต้องใช้ปริมาณรังสีดูดกลืน (Absorbed dose) ในระดับต่ำสุดให้เพียงพอตามวัตถุประสงค์ที่ทำการฉายและต้องปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยคงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไว้ ไม่ทำให้โครงสร้างและคุณสมบัติของอาหารเปลี่ยนแปลง และยังคงคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสของอาหาร (กระทรวงสาธารณสุข, 2549)
ข้อควรรู้เกี่ยวกับกรรมวิธีการฉายรังสีอาหาร หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ชนิดของรังสี (CODEX, 2008; กระทรวงสาธารณสุข, 2549) ชนิดของรังสีที่อนุญาตให้ใช้ได้ในกระบวนการฉายรังสีอาหารต้องได้จากแหล่งของรังสีที่เป็นต้นกำเนิดดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของการฉายรังสีอาหารชนิดต่างๆ
ชนิดของอาหาร |
ผลของการฉายรังสี |
เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อสัตว์ปีก |
ทำลายเชื้อจุลินทรีย์และพยาธิ เช่น Salmonella, Clostridium botulinum and Trichinae |
อาหารที่เน่าเสียได้ |
ชะลอการเน่าเสีย ชะลอการเจริญของเชื้อรา ลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ |
ธัญพืช เมล็ดข้าว ผลไม้ |
ควบคุมแมลงในพืชผัก ผลไม้แห้ง เครื่องเทศ และเครื่องปรุงรส |
หัวหอม แครอท มะเขือเทศ กระเทียม ขิง |
ยับยั้งการงอก |
กล้วย มะม่วง มะละกอ ฝรั่ง ผลไม้ไม่เปรี้ยว |
ชะลอการสุก |
ข้าว ผลไม้ |
ลดเวลาในการอบแห้ง |
ที่มา : สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย (2551 ก)
3. ปริมาณรังสีดูดกลืน (Radiation absorbed dose) ปริมาณรังสีดูดกลืน หมายความว่า ปริมาณพลังงานที่อาหารดูดกลืนไว้ต่อหนึ่งหน่วยน้ำหนักของผลิตภัณฑ์อาหารเมื่อได้รับรังสี มีหน่วยเป็นเกรย์ และต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการฉายรังสีตามแต่กรณี ทั้งนี้ปริมาณรังสีดูดกลืนต้องไม่เกินที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เว้นแต่มีเหตุผลทางวิชาการหรือความจำเป็นทางเทคนิคที่สมควรต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหาร (กระทรวงสาธารณสุข, 2549)
4. การติดฉลาก การแสดงฉลากของอาหารฉายรังสี นอกจากต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง ฉลาก และประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องของอาหารนั้น ๆ แล้ว ต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
งานวิจัยด้านอาหารฉายรังสีมีความก้าวหน้ามาก ซึ่งมีการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยในปี พ.ศ. 2523 คณะกรรมาธิการด้านอาหารฉายรังสีประกาศว่า อาหารใดที่ผ่านการฉายรังสีปริมาณเฉลี่ยไม่เกิน 10 กิโลเกรย์ จะไม่ก่อให้เกิดโทษอันตราย ไม่ก่อเกิดปัญหาทางโภชนาการและจุลชีววิทยา ไม่จำเป็นต้องทดสอบเรื่องความปลอดภัยอีกต่อไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ประกาศอนุญาตให้อาหารสดฉายรังสีได้ไม่เกิน 1 กิโลเกรย์ และอาหารแห้งฉายรังสีได้ไม่เกิน 30 กิโลเกรย์ เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชน (ยุทธพงศ์ ประชาสิทธิศักดิ์ , 2551)
1. กฎหมายอาหารฉายรังสีในประเทศไทย (ยุทธพงศ์ ประชาสิทธิศักดิ์, 2551) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลอาหารฉายรังสี ได้ออกกฎหมายบังคับใช้กับอาหารฉายรังสี ดังนี้
(1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2515) เรื่อง “กำหนดอาหารอาบรังสีเป็นอาหารที่ควบคุม” ต่อมามีการออกประกาศเพิ่มอีก 1 ฉบับ คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2516) เรื่อง “กำหนดหอมหัวใหญ่อาบรังสีเป็นอาหารที่ควบคุม กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการผลิตเพื่อจำหน่ายหรือจำหน่าย และฉลากสำหรับหอมหัวใหญ่อาบรังสี” ประกาศกระทรวงฯ ทั้ง 2 ฉบับ ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหาร พ.ศ. 2507
(2) พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มีผลให้ยกเลิกประกาศกระทรวงฯ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารอาบรังสีทั้ง 2 ฉบับ และให้ใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 9 และ 10 (พ.ศ. 2522) แทน
(3) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 103 (พ.ศ. 2529) เรื่อง “กำหนดวิธีการผลิตอาหารซึ่งมีการใช้กรรมวิธีการฉายรังสี” ในปี 2529 ประเทศสหรัฐอเมริกาออกประกาศรับรองอนุญาตให้ฉายรังสีอาหารแห้งโดยใช้ความแรงรังสีถึง 30 กิโลเกรย์ เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนได้ นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงกฎเกณฑ์และข้อบังคับที่ใช้อยู่เดิมให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลของคณะกรรมาธิการอาหารสากล (Codex Alimentarius General Standards for Irradiated Foods) ตลอดจนข้อแนะนำการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การฉายรังสีเพื่อใช้กับอาหาร (Recommended Code of Practice for Operation of Radiation Facilities for the Treatment of Food) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 103 (พ.ศ. 2529) นี้ ได้เพิ่มชนิดของอาหารที่อนุญาตให้ฉายรังสีเป็น 18 ชนิด เพิ่มจากเดิมซึ่งมีเพียงหอมหัวใหญ่เท่านั้นหรืออนุญาตให้ฉายรังสีได้ นอกจากนี้ยังให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่คณะกรรมการอาหารและยาพิจารณาเพิ่มชนิดของอาหารที่ต้องการฉายรังสีได้
(4) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงฯ ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ทุกส่วนราชการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบและข้อกำหนดต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสากล ประกอบกับประเทศไทยได้ทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ ดังนั้นเพื่อให้ข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 103) พ.ศ. 2529 มีความสอดคล้องกับมาตรฐานอาหารฉายรังสีในระดับสากล (Codex) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงออกประกาศกระทรวง (ฉบับที่ 297) พ.ศ. 2549 เรื่อง อาหารฉายรังสี แทนฉบับเดิม โดยอ้างอิงข้อกำหนดมาตรฐานสากล Codex General Standard for Irradiation Food (CODEX-STAN 106-1983, Rev. 1-2003) และ Recommended International Code of Practice for Radiation Processing of Food (CAC/RCP 19-1979, Rev. 2-2003)
ประกาศกระทรวง (ฉบับที่ 297) พ.ศ. 2549 เรื่อง อาหารฉายรังสี มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 โดยมีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
(1) กำหนดคำนิยามต่าง ๆ เช่น อาหารฉายรังสี การฉายรังสีอาหาร วัตถุประสงค์ของการฉายรังสีและผู้ฉายรังสีอาหาร
(2) ชนิดของรังสีที่ใช้ ต้องได้จากแหล่งกำเนิดรังสี ดังต่อไปนี้
(8) อาหารฉายรังสีต้องแสดงฉลาก นอกจากต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง ฉลากแล้ว ยังต้องแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
มาตรฐานของ CODEX 106-1983 (CODEX, 2008)
มาตรฐานของ CODEX 106-1983 ปรับปรุงจากมาตรฐาน CAC/RS 106-1979 โดยได้รับการรับรองจากคณะกรรมาธิการ ในปี ค.ศ. 1983 ด้วยการยอมรับจากสมาชิกขององค์การอาหารและเกษตร (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ต้องวัดและคำนวณปริมาณรังสีดูดกลืนให้เป็นไปตาม Recommended International Code of Practice for the Operation of Radiation Facilities Used for Treatment of Foods กำหนดให้ปริมาณรังสีดูดกลืนสำหรับอาหารฉายรังสีสูงถึง 10 กิโลเกรย์ ปริมาณรังสีดังกล่าวได้รับการรับรองว่าปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่เป็นพิษ ไม่ก่อปัญหาทั้งด้านโภชนาการและจุลชีววิทยา
สาระสำคัญของมาตรฐาน CODEX 106-1983 มีดังนี้
อาหารฉายรังสีมีความปลอดภัยไม่มีรังสีตกค้างในอาหาร เนื่องจากแหล่งกำเนิดรังสีที่ใช้สำหรับการฉายรังสีมีข้อจำกัดให้ใช้เพียงพลังงานต่ำ ๆ จึงไม่สามารถชักนำให้อาหารหรือวัสดุหีบห่อเกิดสารรังสีได้ และองค์การอาหารและยาได้สรุปว่าการฉายรังสีไม่เป็นสาเหตุให้เกิดสารพิษในอาหารซึ่งพลังงานความร้อนในการปรุงอาหารปกติใช้พลังงานสูงกว่าการฉายรังสี และคณะผู้เชี่ยวชาญในองค์การสากลต่าง ๆ อาทิ องค์การอาหารและเกษตร (Joint Food and Agriculture Organization) ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency) องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) กลุ่มที่ปรึกษาสากลด้านอาหารฉายรังสี (International Consultative Group on Food Irradiation) และองค์การอาหารและยา(Food and Drug administration) สรุปว่าการฉายรังสีอาหารภายใต้สภาวะควบคุมมีความปลอดภัย (Shea, KM., 2000)
ผลของการฉายรังสีต่อเชื้อโรคในอาหารและบรรจุภัณฑ์แบบต่าง ๆ
มักมีคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่ควรปฏิบัติสำหรับเนื้อวัวและเนื้อไก่ฉายรังสีเสมอ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (USDA: United States Department of Agruculture) ได้แนะนำข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยสำหรับอาหาร 4 ข้อ ได้แก่ Clean: ดูแลความสะอาดโดยล้างมือและอุปกรณ์ประกอบอาหารบ่อย ๆ Separate: ห้ามนำสิ่งแปลกปลอมเข้ามาเจือปน Cook: ปรุงอาหารให้สุกโดยใช้อุณหภูมิที่เหมาะสม Chill: เก็บรักษาอาหารในตู้เย็นหรือแช่เย็นเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หน่วยงานด้านสาธารณสุขได้ดูแลเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงของเชื้อโรคโดย USDA และหน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร (FSIS) ได้ตรวจสอบ เนื้อวัว เนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ไข่ที่ฉายรังสีเพื่อปกป้องผู้บริโภค โดยเทคโนโลยีการฉายรังสีอาหารจะช่วยลดอันตรายจากเชื้อแบคทีเรียในอาหารรวมทั้ง E. coli O157:H7 ซัลโมเนลลา และ Campylobacter การฉายรังสีเนื้อวัวและเนื้อไก่ได้ผ่านความเห็นชอบจากหน่วยงานราชการ โดยเสริมความปลอดภัยแต่มิใช่แทนกระบวนการทางสุขอนามัยที่ใช้ในโรงงานผลิตอาหาร องค์การอาหารและยา (FDA) และหน่วยงานอื่นทั่วโลกประเมินความปลอดภัยของการฉายรังสีอาหารเป็นเวลากว่า 50 ปีแล้วและผ่านการรับรองโดยสมาคมแพทย์ของชาวอเมริกันและองค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations World Health Organization: UN-WHO) ประเทศแถบยุโรปใช้วิธีฉายรังสีมาเป็นเวลาประมาณ 10 ปีแล้ว องค์การอาหารและยาเป็นผู้อนุมัติปริมาณรังสีที่ใช้กับอาหารต่าง ๆ โดยไม่ทำให้เปลี่ยนเป็นสารกัมมันตรังสี ผลงานวิจัยแสดงว่า การฉายรังสีอาหารไม่ทำให้ปริมาณธาตุอาหาร รสชาติ หรือลักษณะของอาหารเปลี่ยนแปลง (USDA, 2008)
ความปลอดภัยทางอาหารเป็นเรื่องสำคัญต่อชุมชน มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อต่อต้านเชื้อโรคที่ติดมากับอาหารด้วยการใช้กรรมวิธีฆ่าเชื้อในนมและการบรรจุอาหารกระป๋อง (Tauxe, RV., 2001) แม้ว่าสินค้าอาหารที่ใช้กระบวนการผลิตในระดับความปลอดภัยสูงเท่าไรก็ตาม อันตรายจากเชื้อโรคต่าง ๆ ก็ยังคงปรากฏอยู่เสมอ เพราะว่าในอาหารอาจจะมีเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตราย อาจใช้กรรมวิธีการปฏิบัติที่ผิดหลักการ รวมทั้งการประกอบอาหารที่อาจจะไม่เหมาะสม จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยการติดเชื้อโรคจากอาหารได้ ในปี ค.ศ. 1998 มีการรายงานจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคในประเทศสหรัฐอเมริกา รายงานผลการประเมินเชื้อแบคทีเรียที่เกิดในอาหารมีผลให้เกิดการเจ็บป่วยถึง 76 ล้านราย ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 325,500 ราย และมีผู้เสียชีวิตถึง 5,000 ราย (Osterholm, MT., and Norgan, AP., 2004; Smith, JS., and Pillai, S., 2004) ผลของ Escherichia coli 0157:H7 (E coli) เป็นสาเหตุให้มีคนเจ็บป่วยถึง 62,458 ราย ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 1,843 ราย และมีผลถึงขั้นเสียชีวิต 52 รายต่อปี และมีเชื้ออีก 4 ชนิดได้แก่ Campylobacter jejuni, Salmonella, Listeria monocytogens, Toxoplasma gondii ที่มีผลให้เกิดการเจ็บป่วย 3,420,000 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,526 รายทุกปี การเจ็บป่วยและเสียชีวิตทำให้สิ้นเปลืองทางด้านเงินทองและความรู้สึกต่อการสูญเสีย การใช้กรรมวิธีฉายรังสีเพื่อกำจัดเชื้อโรคได้รับการพิสูจน์และยืนยันความปลอดภัยโดยสามารถลดสาเหตุของเชื้อและผ่านการรับรองให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการเพิ่มความปลอดภัยทางด้านอาหาร (Wood, OB., and Bruhn, CM., 2001)
กฎข้อบังคับสำหรับปริมาณรังสีถูกกำหนดไว้ที่ระดับต่ำพอเหมาะตามวัตถุประสงค์หรือการนำไปใช้ประโยชน์ ปริมาณรังสีที่อนุญาตไว้โดยองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ กำหนดไว้ที่ 3 ระดับ ระดับต่ำสุดของปริมาณรังสี 1 กิโลเกรย์ สามารถควบคุมพยาธิตัวจี๊ด (Trichina) ในเนื้อ หมูสด ช่วยยับยั้งการสุกของผลไม้และผักและควบคุมแมลง ตัวไร และแมลงบางชนิดที่อยู่ในอาหาร ปริมาณรังสีระดับกลางไม่เกิน 10 กิโลเกรย์ สามารถควบคุมแบคทีเรียในเนื้อสัตว์ เนื้อไก่ และอาหารอื่น ๆ ปริมาณรังสีระดับสูงที่สูงกว่า 10 กิโลเกรย์ สามารถควบคุมแมลงในสมุนไพร เครื่องเทศ ชา และผักแห้งชนิดต่าง ๆ (Osterholm, MT., and Norgan, AP., 2004)
การฉายรังสีอาหารไม่นำมาใช้เพื่อทดแทนการผลิตและปรุงอาหารด้วยกรรมวิธีธรรมดา แม้ว่าจะทำลายเชื้อโรคได้ถึง 99.9 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม ก็ยังมีบ้างที่รอดชีวิตอยู่ได้ เช่น เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเน่าเสียจะมีความทนทานต่อรังสีจึงต้องใช้กรรมวิธีกำจัดที่มีปริมาณรังสีสูงขึ้น ดังนั้นการประกอบอาหารด้วยกระบวนการผ่านการฉายรังสีควรจะใช้ข้อควรระวังทางด้านความปลอดภัยทางอาหารเช่นเดียวกับอาหารอื่น การฉายรังสีอาหารไม่สามารถทำให้คุณภาพของอาหารที่ผ่านการฉายรังสีสดขึ้นหรือป้องกันการปนเปื้อนที่เกิดภายหลังจากการฉายรังสีได้ (Wood, OB., and Bruhn, CM., 2001)
แม้ว่ามีการดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับการฉายรังสีเนื้อวัวและเนื้อไก่สดเป็นเวลากว่า 40 ปี แล้วก็ตามแต่ยังต้องการเทคโนโลยีอื่นเข้ามาผนวกกับเทคนิคการฉายรังสี เช่น วิธีการบรรจุแบบ MAP: modified atmosphere packaging โดยผลงานที่ผ่านมาเน้นการถูกทำลายโดยจุลินทรีย์และเชื้อโรค บางรายงานเสนอโดยเน้นคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสของเนื้อวัวและเนื้อไก่สด ซึ่งผลของรังสีกับการบรรจุที่เปลี่ยนแปลงตามชนิดของเนื้อวัวและเนื้อไก่และสัดส่วนของอากาศในหีบห่อนั้น มีผลให้เกิดกลิ่น รสชาติและเปลี่ยนสีเนื่องจากออกซิเจนที่อยู่ภายในหีบห่อ ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและเกิดสารพิษ การใช้รังสีปริมาณ 1 กิโลเกรย์ สามารถช่วยยืดอายุเนื้อวัวได้แต่จะส่งกลิ่นไม่น่ารับประทาน สำหรับเนื้อหมูฉายรังสีปริมาณ 1 กิโลเกรย์ จะปลอดภัยจากพยาธิตัวจิ๊ด (Trichinae) โดยไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นและสี แต่จำพวกสัตว์ปีกต้องใช้ปริมาณรังสี 3 กิโลเกรย์ จึงจะปลอดภัยจากเชื้อโรค การยืดอายุการเก็บบรรจุภัณฑ์เนื้อวัวที่ผ่านการฉายรังสีทำได้โดยใช้ระบบสุญญากาศเก็บรักษาในตู้เย็นและใช้รังสีปริมาณ 1.5 กิโลเกรย์ นอกจากศึกษาการยืดอายุและความปลอดภัยของอาหารฉายรังสีแล้ว ควรคำนึงถึงคุณภาพของอาหารฉายรังสีโดยนำเทคนิคอื่นเข้ามาผสม เช่น การบรรจุหีบห่อในระบบสุญญากาศและระบบ MAP เพื่อให้ความชัดเจนสำหรับนำมาปฏิบัติได้ดีที่สุดต่อไป (Lee, M., et al., 1995)
เนื้อวัวปรุงกึ่งสุกและเนื้อสดทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงรุนแรงได้ (Henorrhagic diarrhea) เนื่องจาก Escherichia coli O157:H7 จึงได้ทำการศึกษาผลของรังสีปริมาณ 0-2 กิโลเกรย์ ที่อุณหภูมิ -20 ถึง +20 องศาเซลเซียส ในสภาวะอากาศและสุญญากาศที่มีต่อเชื้อ E coli O157:H7 ในเนื้อไก่ ผลการทดลองพบว่าการใช้ปริมาณรังสีและอุณหภูมิต่างกันมีผลต่อ E coli O157:H7 การใช้ปริมาณรังสีเพียง 0.27 กิโลเกรย์ที่อุณหภูมิ +5 องศาเซลเซียส และ 0.42 กิโลเกรย์ ที่อุณหภูมิ -5 องศาเซลเซียสสามารถกำจัด E coli O157:H7 ได้ 90 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าการฉายรังสีเป็นวิธีที่ใช้ควบคุมเชื้อโรคได้ (Thayer, DW., and Boyd, G., 1993)
สารคาโรทีนอยด์ (Carotenoids) และวิตามินเอเกี่ยวข้องกับวิธีที่นำมาใช้ในการผลิต ปริมาณคาโรทีนอยด์ในแครอทจะลดลงจาก 89.1% เหลือ 56.0% จากการปรุงอาหาร ผลิตภัณฑ์ตับที่เป็นแหล่งสำคัญของวิตามินเอนั้นได้ทดลองโดยนำผลิตภัณฑ์ตับมาฉายรังสีเพื่อตรวจสอบปริมาณวิตามินที่ลดลง พบว่า รังสีปริมาณ 3 กิโลเกรย์ ไม่ทำให้วิตามินในผลิตภัณฑ์ตับลดลง เนื่องจากการฉายรังสีนั้นไม่ใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อหรือที่เรียกว่าวิธี “Cold pasteurization” (Taipina, MS., and Mastro, del NL., 2003)
การยอมรับของผู้บริโภคเกี่ยวกับอาหารฉายรังสี
มักมีคำถามเกี่ยวกับการยอมรับของผู้บริโภคอาหารฉายรังสี โดยสถาบันการตลาดที่เกี่ยวกับอาหารได้ทำการสำรวจการยอมรับการบริโภคอาหารฉายรังสีผ่านทางเวบไซต์ชื่อ Foodborne Diseases Active Surveillance Network (Foodnet) ผลสำรวจที่ได้รับจากประชาชนร้อยละ 50 ตอบรับว่า พร้อมที่จะซื้ออาหารฉายรังสี ถ้ามีการเชิญชวน และจะมีการตอบรับเพิ่มมากขึ้นถ้าราคาของอาหารฉายรังสีไม่แพงมากเกินไปกว่าอาหารที่ไม่ผ่านการฉายรังสี อัตราการยอมรับจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 80-90 เปอร์เซ็นต์ ถ้าหากผู้บริโภคเข้าใจถึงการฉายรังสีมีผลให้ช่วยลดอันตรายจากเชื้อแบคทีเรียลงได้ ในปี ค.ศ. 2000 หน่วยงานภาครัฐในสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้โรงงานอาหารทำการฉายรังสีเนื้อสดและผลิตภัณฑ์เนื้อเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคและจัดจำหน่ายในตลาดหลายแห่ง ทั้งนี้หากผู้บริโภคให้การยอมรับอาหารฉายรังสีย่อมมีผลดีต่อด้านการแพทย์และสาธารณสุข เนื่องจากการเกิดโรคต่าง ๆ มาจากผู้บริโภคสัมผัสหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค อย่างไรก็ตาม บางโรงงานที่ผลิตอาหารยังชะลอการใช้วิธีการฉายรังสีเนื่องจากเข้าใจว่ามีจำนวนผู้บริโภคไม่มากนักที่ตั้งใจซื้ออาหารฉายรังสี (Frenzen, PD., et al., 2008) จากผลการสำรวจดังกล่าวของ Foodnet ที่พบว่าเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนที่สำรวจยินดีที่จะซื้อเนื้อวัวบดหรือเนื้อไก่ที่ผ่านการฉายรังสี และมีเพียงหนึ่งในสี่ที่มีความตั้งใจที่จะจ่ายชำระด้วยความยินดีสำหรับอาหารเหล่านี้ แม้ว่าราคาจะสูงกว่าชนิดที่ไม่ผ่านการฉายรังสีก็ตาม การสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่า ผลกระทบของอาหารฉายรังสีต่อด้านการสาธารณสุขมีข้อจำกัด นอกจากว่าความนิยมของผู้บริโภคจะมีการเปลี่ยนแปลงด้วยการให้ความรู้และข่าวสารเกี่ยวกับความปลอดภัยและคุณประโยชน์ของอาหารฉายรังสีแล้ว เหตุผลสำคัญที่ผู้บริโภคไม่ต้องการซื้อเนื้อวัวหรือเนื้อไก่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของการสำรวจ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยง ความปลอดภัย หรือ คุณประโยชน์ของอาหารฉายรังสีมีไม่เพียงพอต่อการรับประทานอาหารฉายรังสีนั่นเอง (Frenzen, PD., et al., 2008)
การสำรวจเกี่ยวกับการซื้อผลิตผลทางการเกษตรของผู้บริโภค ผลิตผลแอปเปิ้ลที่ผ่านการฉายรังสีและไม่ฉายรังสี โดยการบริโภคแอปเปิ้ลและกำหนดราคาให้แอปเปิ้ลที่ผ่านการฉายรังสีมีราคาเปลี่ยนแปลงได้ แต่แอปเปิ้ลที่ไม่ฉายรังสีมีราคาปกติ พบว่า ผู้บริโภคที่ซื้อแอปเปิ้ลไม่ฉายรังสี ซื้อแอปเปิ้ลฉายรังสีและซื้อแอปเปิ้ลทั้งสองชนิดเท่ากับ 44%, 38% และ 18% ตามลำดับ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างราคาและการตัดสินใจซื้อสินค้ามีความแปรปรวนเกี่ยวเนื่องกับราคาที่ขึ้นลง ผู้บริโภคจะเปลี่ยนใจซื้อสินค้าชนิดที่มีราคาถูกกว่า มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพแอปเปิ้ลหลังจากการซื้อพบว่า ประมาณหนึ่งในสามตอบรับว่าคุณภาพของแอปเปิ้ลฉายรังสีมีคุณภาพดีกว่าและมีผู้บริโภคเพียง 7.7 เปอร์เซ็นต์ ที่ตอบว่าแอปเปิ้ลฉายรังสีมีคุณภาพด้อยกว่าแอปเปิ้ลไม่ฉายรังสีและพบความแตกต่างเพียงเล็กน้อยของสีและสิ่งที่เห็นภายนอก สำหรับความสดและความแน่นของเนื้อแอปเปิ้ลมีความใกล้เคียงกัน ประมาณหนึ่งในสี่คิดว่าชอบแอปเปิ้ลฉายรังสีมากกว่า การนำเทคนิคฉายรังสีเพื่อทดแทนการใช้สารเคมีซึ่งถูกห้ามใช้แล้วนั้นเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคในการตัดสินใจยอมรับโดยต้องเพิ่มความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของเทคนิคการฉายรังสีเพื่อถนอมอาหารให้แก่ผู้บริโภคได้เลือกซื้อมากขึ้น (Terry, DE., and Tabor, RL., 1990)
ผลการทดลองเพื่อประเมินผลการยอมรับของผู้บริโภคโดยใช้รังสีแกมมาเพื่อถนอมอาหารเนื้อบดแช่แข็งบรรจุในหีบห่อสุญญากาศ ด้วยการใช้ปริมาณรังสี 3.0 และ 4.5 กิโลเกรย์ หลังจากฉายรังสีแล้วนำมาเก็บที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 27-29 วัน แล้วนำมาย่างเพื่อประเมินกลิ่น รสชาติ ความนุ่ม ความชุ่มฉ่ำ ของเนื้อ ผลการทดลองพบว่า ไม่พบความแตกต่างของรสชาติ ความนุ่ม และความชุ่มฉ่ำระหว่างเนื้อบดฉายรังสีปริมาณ 3.0 และ 4.5 กิโลเกรย์ แต่หลังจากนำเนื้อบดผสมกับส่วนผสมอื่นเพื่อทำแฮมเบอเกอร์พบว่า ผู้บริโภคให้คะแนนเนื้อบดฉายรังสีปริมาณ 3.0 กิโลเกรย์ไม่แตกต่างจากเนื้อที่ไม่ผ่านการฉายรังสี แต่เนื้อบดฉายรังสีที่ปริมาณ 4.5 กิโลเกรย์ มีคุณภาพด้อยกว่าเล็กน้อย (Wheeler, TL., Shackelford, SD., and Koohmaraie, M., 1999)
บทสรุป
การฉายรังสีอาหาร (Food irradiation) เป็นวิธีการหนึ่งของการถนอมอาหารให้เก็บรักษาได้นานขึ้น รังสีเป็นพลังงานที่มีลักษณะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถทะลุทะลวงผ่านวัตถุได้สูง แต่ไม่ทำให้วัตถุนั้นเปลี่ยนเป็นสารรังสีและการฉายรังสีอาหารจะใช้ปริมาณรังสีต่ำ จึงไม่มีการตกค้างและสะสมสารรังสีในอาหารดังที่วิตกกังวลกัน ประโยชน์ที่ได้จากการฉายรังสีอาหารและผลิตผลเกษตร เช่น ฆ่าเชื้อโรค พยาธิและแมลง การชะลอการสุกของผลไม้ การยับยั้งการงอกของหอมหัวใหญ่ การชะลอการบานของเห็ด ฯลฯ อาหารบางประเภทนั้นไม่เหมาะที่จะนำมาฉายรังสีเนื่องจากทำให้เกิดกลิ่นและรสชาติ ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ได้แก่ นมและอาหารที่มีไขมันสูง
สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย. อาหารฉายรังสี (Food irradiation). [ออนไลน์] [อ้างถึง 24 มิถุนายน 2551]
เข้าถึงได้จาก: http://www.nst.or.th/article/article143/article483052.html
สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย. 10 คำถามเกี่ยวกับการฉายรังสีอาหาร. [ออนไลน์] [อ้างถึง 24 มิถุนายน 2551] เข้าถึงได้จาก:
http:// www.nst.or.th/ article/ article143/ article483052.html
อรอนงค์ มหัคฆพงศ์. ส่งออกอาหารฉายรังสีต้องระวัง. [ออนไลน์] [อ้างถึง 24 มิถุนายน 2551] เข้าถึงได้จาก: http://www.nfi.or.th/stat/file/warning-12-1pdf
Codex. Codex general standard for irradiated foods. [Online] [cited 24 June 2008]
Available from internet: http://Siweb.dss.go.th/standard/Fulltext/codex/CXS_106E.pdf
Frenzen, PD., et al. Consumer acceptance of irradiated meat and poultry products. [Online] [cited 24 June 2008] Available from internet:
http:// www.ers.usda.gov/publications/aib757/.pdf
Inabo, HI. Irradiation of Foods. A better alternative in controlling economic losses. Journal of Applied Sciences & Environmental Management,
2005, vol. 10, no. 2, p. 151-152.
Lee, M., et al. Irradiation and packaging of fresh meat and poultry. Journal of Food Protection, vol. 59, no. 1, p. 62-72.
Morehouse, KM., and Komolprasert, V. Irradiation of food and packaging: an overview. [Online] [cited 2 July 2008]
Available from internet: http://www.cfsan.fda.gov/~dms/irraover.html
Osterholm, MT., and Norgan, AP. The role of irradiation in food safety. The New England Journal of Medicine, April, 2004, vol. 350, no. 18, p. 1898-1901.
Terry, DE., and Tabor, RL. Consumer acceptance of irradiated food products: An apple marketing study. Journal of Food Distribution Research,
June, 1990, vol. 21, no. 2, p. 63-74.
Thayer, DW., and Boyd, G. Elimination of Escherichia coli 0157:H7 in meats by gamma irradiation, applied and environmental microbiology.
American Society for Microbiology, April, 1993. vol. 59, no. 4, p. 1030-1034.
USDA. Irradiation and food safety. [Online] [cited 23 June 2008] Available from internet : http://www.fsis.usda.gov/PDF/Irradiation_and_Food_Safety.pdf
Wheeler, TL., Shackelford, SD., and Koohmaraie, M. Trained sensory panel and consumer evaluation of the effects of gamma irradiation on palatability of
vacuum-packaged frozen ground beef patties jas.fass.org by on June 23,2008 copyright 1999. American Society of Animal Science, p. 3219-3224.
Wood, OB., and Bruhn, CM. Position of the American dietetic association: Food irradiation. Journal of the American Dietetic Association, February,
2000, vol. 100, no. 2, p. 246-253.