ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
สูตรน้ำยาปรับผ้านุ่ม (fabric softener formulations) 
              สูตรน้ำยาปรับผ้านุ่มควรจะประกอบไปด้วยสารต่างๆ ดังต่อไปนี้
              1. สารออกฤทธิ์ที่ทำให้ผ้านุ่ม  น้ำยาปรับผ้านุ่มแบบธรรมดาจะประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ประมาณ 3-7 %  สารออกฤทธิ์ที่ใช้ทำน้ำยาปรับผ้านุ่มมีให้เลือกหลายชนิด  ที่นิยมใช้กันแพร่หลาย เช่น สารประกอบควอเทอนารี แอมโมเนียม (quaternary ammonium compound) (รูปที่ 2) ซึ่งเป็นสารลดแรงตึงผิวที่มีประจุบวกที่ใช้ทำน้ำยาปรับผ้านุ่ม ได้แก่ ไดทาโลว ไดเมทิล แอมโมเนียม คลอไรด์ (ditallow dimethyl ammonium chloride, DTDMAC  ซึ่งมีชื่อเรียกทางการค้าว่า “Arquad 2HT-75”) สารนี้ให้ผลดีเรื่องความนุ่ม (softening) ช่วยในการต้านไฟฟ้าสถิต  และมีราคาถูก แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและเป็นพิษกับสัตว์น้ำ จึงทำให้สารชนิดนี้ไม่ได้รับความนิยมทั้งในทวีปยุโรปและอเมริกา
 
รูปที่ 2  โครงสร้างของสารประกอบควอเทอนารี แอมโมเนียม 
 
              2. ตัวทำอิมัลชัน (emulsifiers)  สารออกฤทธิ์ชนิดนี้สามารถใช้ร่วมกับสารอื่นๆ ที่เป็นตัวเสริมสารออกฤทธิ์และเป็นตัวทำอิมัลชันให้สารออกฤทธิ์  สารที่ช่วยเสริมสารออกฤทธิ์มีหลายชนิด เช่น กรดไขมันและสารที่ไม่มีประจุ (nonionics) เช่น แอลกอฮอล์อีทอกซิเลต (alcohol ethoxylate :C14-C15 alcohol-7EO)  หรือกลีเซอรอล โมโนสเตียเรต (glycerol monostearate) สารที่ไม่มีประจุช่วยให้สารออกฤทธิ์กระจายตัวได้ดีขึ้นขณะใส่ลงไปในน้ำล้างสุดท้าย  ช่วยลดปัญหาในกระบวนการผลิตและลดข้อเสียเกี่ยวกับความสามารถในการดูดน้ำของผ้าที่ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มเป็นประจำ
              3. สารฆ่าเชื้อโรค  น้ำยาปรับผ้านุ่มมีสารออกฤทธิ์ที่มีประจุบวก ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย (anti-bacterials) ได้ แต่ก็สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิดเช่นกัน   การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรานี้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่สามารถสังเกตเห็นได้จากกลิ่นเหม็นที่เกิดขึ้นหรือจากการแยกชั้น  ดังนั้นจึงต้องใส่สารฆ่าเชื้อในน้ำยาปรับผ้านุ่มเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาปรับผ้านุ่มเสีย  การใส่สารฆ่าเชื้อในน้ำยาปรับผ้านุ่มนี้ไม่ได้มีผลเสียต่อประสิทธิภาพของน้ำยาปรับผ้านุ่มเลย
              4. อิเล็กโทรไลต์ (electrolytes) ส่วนผสมของน้ำยาปรับผ้านุ่มที่มีลักษณะข้นเกินไป สามารถปรับให้เหลวลงได้โดยใช้สารพอลิเอทิลีน ไกลคอล (Polyethylene glycol) น้ำกระด้างหรือเกลือ เช่น โซเดียมคลอไรด์(sodium chloride) ซึ่งเป็นอิเล็กโทรไลต์ แต่ปริมาณอิเล็กโทรไลต์ที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการแยกชั้นของน้ำยาปรับผ้านุ่มได้
              5. สารที่ใช้ปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)  เมื่อค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำยาปรับผ้านุ่มสูงกว่า 4.0-4.5 ให้เติมกรดแร่เจือจางหรือกรดอินทรีย์จำนวนเล็กน้อยเพื่อปรับให้ได้ค่าความเป็นกรด-ด่าง ตามความต้องการ
              6. น้ำ  จะถูกเติมลงในส่วนผสมของน้ำยาปรับผ้านุ่มที่มีความข้นมากๆ โดยใช้น้ำที่ไม่มีการปนเปื้อนของแร่ธาตุ (demineralised water) ตัวอย่างสูตรน้ำยาปรับผ้านุ่มแสดงไว้ในตารางที่ 2-4
 
ตารางที่ 2  สูตรน้ำยาปรับผ้านุ่มสูตรที่ 1
 

สารเคมีที่ใช้ (สูตรที่ 1)

ปริมาณสารที่ใช้ (%)

สารออกฤทธิ์ที่มีประจุบวก ไดทัลโล ไดเมทิล แอมโมเนียม คลอไรด์ (ditallow dimethyl ammonium chloride, DTDMAC) 75%

3-7

น้ำหอมและสี

ตามความต้องการ

สารต่อต้านเชื้อรา (anti-microbial agent) และสารอื่น เช่น อิเล็กโทรไลต์

ตามความต้องการ

กรดสำหรับปรับค่าความเป็นกรด-ด่างให้ได้ประมาณ 4-6

ตามความต้องการ

น้ำที่กำจัดประจุออกไป

ใส่ให้ครบ 100

 

ตารางที่ 3  สูตรน้ำยาปรับผ้านุ่มที่ใช้ส่วนผสมต่างกัน (สูตร A-D)

สารเคมีที่ใช้

สูตร A

สูตร B

สูตร C

สูตร D

ระดับความเข้มข้น

(%)

(%)

(%)

(%)

DSDMAC

2-3.5

3-4

4-6

4-6.5

อิมมิดาโซลีน (imidazoline)

4-5.5

0.5-3

-

-

ไดเอทานอลเอไมด์ (diethanolamide)

-

-

0.5-1

-

กรดสเตียริก (stearic acid)

-

0.3-0.8

-

1-2

ซิลิโคน (silicone)

0.1-0.3

0.1-0.3

0.02-0.05

-

กลีเซอรอลเอสเทอร์ (glycerol ester)

-

0.5-1.5

-

-

พอลิเอทอิลีนไกลคอล (polyethylene glycol) ใช้ปรับความข้นเหลว

1-2

-

-

-

น้ำหอม สารกันเสีย สี น้ำ

เติมให้ครบ 100

 

ตารางที่ 4  สูตรน้ำยาปรับผ้านุ่มสูตร E และสูตร F

สารเคมีที่ใช้

สูตร E

สูตร F

ระดับความเข้มข้น

(%)

(%)

สารออกฤทธิ์

2.5-4.0

4.0-8.5

Nonionic

-

0-0.2

สี

มีได้

มีได้

สารเพิ่มความขุ่น

0-1.0

0-1.0

น้ำหอม

0.1-0.5

0.1-0.5

สารฆ่าเชื้อ

0.1

0.1

แอลกอฮอล์

มีได้

มีได้

น้ำ

ตามความต้องการ

ตามความต้องการ