Sodium Chloride
Glossaries
Term | Definition |
---|---|
Sodium Chloride | โซเดียมคลอไรด์ มีชื่อสามัญที่รู้จักกันทั่วไปว่า "เกลือแกง หรือ เกลือหิน" มีสูตรทางเคมีว่า NaCl ประเภทของเกลือ เกลือที่ผลิตจากน้ำทะเลจะเรียกว่า "เกลือสมุทร" ซึ่งจะผลิตได้จากจังหวัด สมุทรสงคราม สมุทรปราการ สมุทรสาคร ชลบุรี ส่วนผู้ที่ผลิตเกลือหรือทำงานที่เกี่ยวกับการทำนาเกลือจะเรียกว่า ชาวนาเกลือ แต่ถ้าเกลือที่ผลิตจากดินนั้นจะเรียกว่า"เกลือสินเธาว์"จะพบได้มากแถวทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ผลิตได้เป็นบางจังหวัด เกลือสมุทร เกลือสมุทรได้จากการนำน้ำทะเลมาขังไว้ในที่นาโดยใช้กระบวนการระเหยของน้ำเข้ามาช่วยเกลือชนิดนี้จะมีสารไอโอดีนผสมอยู่ด้วย การผลิตเกลือสมุทร แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ
หลักการเกิดผลึกเกลือแกง การที่ปล่อยให้เกลือนั้นระเหยน้ำต่อไป จะทำให้ความถ่วงจำเพาะของน้ำนั้นเพิ่มขึ้น จึงทำให้เกิดผลึก "แมกนีเซียมคลอไรด์ และ แมกนีเซียมซัลเฟต"ตกผลึกลงมาด้วย เป็นเหตุให้เกลือไม่บริสุทธิ์ มีคุณภาพต่ำ ชื้นได้ง่ายเก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน การป้องกันไม่ให้เกลือมีคุณภาพต่ำ ต้องควบคุมความถ่วงจำเพาะของน้ำไม่ให้สูงเกินไปโดยให้ระบายน้ำเข้าสู่นาปลงให้สม่ำเสมอ โดยทั่วไปชาวนาจะปล่อยให้เกลือแกงตกผลึกอยู่ในแปลงนาประมาณ 1-10 วัน หลังจากนั้นก็ขูดเกลือออก เกลือแกงที่ได้จะมีผลผลิตต่อ 4-9 ตันต่อไร่ หรือ 2.5-6 กิโลกรัมต่อพื้นที่นา 1 ตารางเมตร เกลือสินเธาว์ เกลือสินเธาว์เกิดจากดินที่มีส่วนผสมของแร่ธาตุต่างๆ จนเกิดความเค็มขึ้นและเกลือชนิดนี้จะไม่มีสารไอโอดีนมากเท่ากับเกลือสมุทร เพราะเป็นเกลือที่ได้จากดินแต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นเกลือที่มีสารไอโอดีนไม่แพ้เกลือที่ได้จากน้ำทะเล การผลิตเกลือสินเธาว์ เริ่มจากการขูดขี้เถ้าหรือ (ดินที่มีส่าเกลือหรือคราบเกลือ) ที่พบได้ตามธรรมชาติสามารถพบเกลือในช่วงฤดูแล้ง จากนั้นนำดินที่ได้ไปล้างในน้ำเพื่อละลายเกลือในดินออก แล้วนำไปกรองเอากากหรือตะกอนออก นำน้ำเค็มที่ได้จากดิน หรือส่าเกลือไปต้มในกระทะขนาดใหญ่ หรือหม้อขนาดใหญ่จนเดือดจนเกลือตกผลึก ก็จะได้เกลือแกงที่สามารถนำไปรับประทานและนำมาประกอบอาหาร |