ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP

 

 

       สมาร์ทฟาร์ม (Smart farm) เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย) เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนให้เกษตรกรและผู้ประกอบการใช้นวัตกรรมด้านการเกษตรมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและพัฒนาภาคการเกษตรให้ยั่งยืนในอนาคต  โดยรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมาร์ทฟาร์ม มีดังนี้

       สมาร์ฟาร์ม หรือ เกษตรอัจฉริยะ เป็นรูปแบบการทำเกษตรแบบใหม่ที่จะทำให้การทำไร่ทำนามีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการนำข้อมูลของภูมิอากาศทั้งในระดับพื้นที่ย่อย (Microclimate) ระดับไร่ (Mesoclimate) และระดับมหภาค (Macroclimate) มาใช้ในการบริหารจัดการ ดูแลพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่เกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต โดยได้รับการขนานนามว่า เกษตรกรรมความแม่นยำสูง หรือ เกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture) ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเริ่มแพรหลายเขาไปในหลายประเทศ ทั้งยุโรป ญี่ปุน มาเลเซีย และอินเดีย

    

(ที่มา : http://smartfarmthailand.com/precisionfarming/)

       แนวคิดหลักของสมาร์ทฟาร์ม คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการพัฒนาทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ของกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรไปจนถึงผู้บริโภค เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิต ลดต้นทุน รวมทั้งพัฒนามาตรฐานสินค้า สมาร์ทฟาร์มเป็นความพยายามยกระดับการพัฒนาเกษตรกรรม 4 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ (1) การลดต้นทุนในกระบวนการผลิต (2) การเพิ่มคุณภาพมาตรฐานการผลิตและมาตรฐานสินค้า (3) การลดความเสี่ยงในภาคเกษตร ซึ่งเกิดจากการระบาดของศัตรูพืชและจากภัยธรรมชาติ (4) การจัดการและส่งผ่านความรู้ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศจากการวิจัยไปประยุกต์สู่การพัฒนาในทางปฏิบัติ และให้ความสำคัญต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของเกษตรกร ซึ่งเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการทำสมาร์ทฟาร์ม ได้แก่

  • Global Positioning System (GPS) เปนเทคโนโลยีในการระบุพิกัด หรือตําแหนงบนพื้นผิวโลกโดยใชกลุมของดาวเทียมจํานวน 24 ดวง ซึ่งโคจรรอบโลกในวงโคจร 6 วง ที่ความสูง 20,200 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก
  • Geographic Information System (GIS) เปนเทคโนโลยีในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ แลวนํามาแสดงผลในรูปแบบตางๆ สามารถเก็บข้อมูลได้หลากหลายมิติ ซึ่งระบบ GIS ที่รู้จักกันดีคือ Google Earth
  • Remote Sensing หรือเทคโนโลยีการรับรูระยะไกล เปนเครื่องมือที่ใชในการเก็บขอมูลพื้นที่ โดยอาศัยคลื่นแสงในชวงความยาวคลื่นตางๆ และคลื่นแมเหล็กไฟฟา เชน        เรดาห์ ไมโครเวฟ วิทยุ เปนตน อุปกรณรับรูเหลานี้มักจะติดตั้งบนอากาศยาน หรือดาวเทียม
  • Proximal Sensing หรือเทคโนโลยีการรับรูระยะใกล อาศัยเซ็นเซอรวัดขอมูลต่างๆ ได้โดยตรงในจุดที่สนใจ เชน เซ็นเซอรตรวจอากาศ (Weather Station) เซ็นเซอรวัดดิน (Soil Sensor) เซ็นเซอรตรวจโรคพืช (Plant Disease Sensor) เซ็นเซอรตรวจวัดผลผลิต (Yield Monitoring Sensor) เป็นต้น เซ็นเซอรเหลานี้สามารถนํามาวางเปนระบบเครือขายไรสาย (Wireless Sensor Network) โดยนําไปติดตั้งหรือปลอยในพื้นที่ไรนา เพื่อเก็บขอมูลตางๆ ได้แก่ ความชื้นในดิน อุณหภูมิ ปริมาณแสง และสารเคมี
  • Variable Rate Technology (VRT) หรือเทคโนโลยีการใหปุย น้ำ ยาฆาแมลง ตามสภาพความแตกตางของพื้นที่ โดยมักจะใชรวมกับเทคโนโลยี GPS
  • Crop Models and Decision Support System (DSS) เปนเทคโนโลยีที่บูรณาการเทคโนโลยีทั้งหมดที่กลาวมาขางตนเขาไวดวยกัน เพื่อใชในการตัดสินใจวาจะทําอะไรกับฟารม เมื่อไร อยางไร รวมถึงยังสามารถทํานายผลผลิตได้ด้วย
       การทําสมาร์ทฟาร์มในประเทศไทยอาจมีข้อจำกัด เนื่องจากระบบเทคโนโลยีบางชนิดยังมีประสิทธิภาพไม่ดี เช่น ระบบ GPS และ GIS ต้องใช้เงินในการลงทุนสูง รวมถึงเกษตรกรขาดความชำนาญในการใช้เครื่องมือ  
       แต่เมื่อโลกเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพ สังคม ตลอดจนองค์ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ที่มีการแลกเปลี่ยนส่งผ่านกันอย่างรวดเร็วไปทั่วทุกภูมิภาค เกษตรกรไทยจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเองตามสภาพการดำเนินชีวิต การเปิดรับ เรียนรู้ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อพาตัวเองก้าวสู่การเป็นเกษตรกรคุณภาพ (Smart farmer) ตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ว่า การพัฒนาเกษตรกรให้เป็น Smart farmer โดยมี Smart officer เป็นเพื่อนคู่คิด
(ที่มา : http://www.clinictech.most.go.th/online/filemanager/fileclinic/F1/files/SmartAG-roiet.pdf)
       
ซึ่งคุณสมบัติพื้นฐานของ Smart farmer มี 6 ประการ คือ
       ประการที่ 1 เป็นผู้มีความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่ สามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร หรือให้คำแนะนำปรึกษากับผู้อื่นที่สนใจในเรื่องที่ทำอยู่ได้
       ประการที่ 2 มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลทั้งจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอื่นๆ เช่น Internet, Mobile smart phone เป็นต้น
       ประการที่ 3 มีการบริหารจัดการผลผลิตและการตลาด มีความสามารถในการบริหารจัดการปัจจัยการผลิต แรงงาน และทุน สามารถเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดเพื่อให้ขายผลผลิตได้ ตลอดจนสามารถจัดการของเหลือจากการผลิตที่มีประสิทธิภาพ (Zero waste management
       ประการที่ 4 เป็นผู้มีความตระหนักถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค มีความรู้หรือได้รับการอบรมเกี่ยวกับมาตรฐาน GAP/GMP เกษตรอินทรีย์ หรือมาตรฐานอื่นๆ 
       ประการที่ 5 มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม/สังคม มีกระบวนการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (Green economy) มีกิจกรรมช่วยเหลือชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง
       ประการที่ 6 มีความภูมิใจในความเป็นเกษตรกร มีความมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพการเกษตร รักและหวงแหนพื้นที่และอาชีพทางการเกษตรไว้ให้คนรุ่นต่อไป มีความสุขและพึงพอใจในการประกอบอาชีพการเกษตร
       กระบวนการสร้าง Smart farmer เป็นการพัฒนา Smart Officer หรือเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งมีองค์ความรู้ทางวิชาการและนโยบาย สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนเกษตรกร โดยชี้นำเกษตรกรตามแนวทางการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนการก้าวสู่การเป็น Smart Officer คือ การปรับกระบวนการทำงาน ซึ่งเริ่มจากการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงชนิดและปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งปัญหาของสินค้าแต่ละชนิด และต้องสามารถเชื่อมโยงกับศูนย์วิจัยของเครือข่ายหน่วยงานในกระทรวงเกษตรฯ และข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยนำมาวางแผนด้านการผลิตให้กับเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(ที่มา : http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/1074-img.pdf)
       
       นอกจากการพัฒนาให้เกษตรกรไทยเป็น Smart farmer โดยมี Smart Officer เป็นเพื่อนคู่คิดแล้ว ยังมีการปฏิรูปภาคการเกษตรของประเทศด้วย ตามกรอบแนวคิดในการขับเคลื่อนการพัฒนา คือ 
Zoning = Area + Commodity + Human Resource
 
       มีสาระสำคัญ คือ การขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) ในพื้นที่หนึ่งให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยความพร้อมของปัจจัยหลัก 3 ด้านในการขับเคลื่อน ได้แก่ การบริหารจัดการพื้นที่และทรัพยากรที่เหมาะสม (Area) ผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของตลาด (Commodity) รวมทั้งการมีบุคลากรด้านการเกษตรทั้งเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ (Human :Smart farmer & Smart officer) ที่จะทำหน้าที่บริหารจัดการการผลิตทางการเกษตร ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       สมาร์ทฟาร์มเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความสอดคลองกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ การใชทรัพยากรอยางคุมคาและเกิดประโยชนสูงสุด ด้วยเหตุนี้ สมาร์ทฟาร์มจึงเป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่น่าสนใจในการช่วยจัดระบบการเกษตรใหมีศักยภาพมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบการเกษตรของประเทศให้ยั่งยืนในอนาคต
 
เอกสารอ้างอิง
ธีรเกียรติ์  เกิดเจริญ. Smart Farm.  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2559]  เข้าถึงจาก :
       http://smartfarmthailand.com/precisionfarming/index.php/product/micro-climate-monitoring/83-smart-farm
ธีรพงศ์  มังคะวัฒน์. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบการจัดการฟาร์ม.  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2559]  
       เข้าถึงจาก : http://www.aec.agr.ku.ac.th/document/attach/attach_08Aug2012155814.pdf
ฤทัยชนก  จริงจิตร. เจาะลึก “Smart Farmer” แค่แนวคิดใหม่ หรือจะพลิกโฉมการเกษตรไทย.  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2559]  
       เข้าถึงจาก : http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/1074-img.pdf
สำนักนายกรัฐมนตรี. SMART FARMER ปรับเปลี่ยน เรียนรู้ ก้าวสู่ “เกษตรกรคุณภาพ”. SMART FARMER รู้ไว้...ทำได้จริง คัมภีร์ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ,
      สำนักนายกรัฐมนตรี กรุงเทพฯ, 2559, หน้า 30-34. 
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. เกษตรนวัตกรรม แรงบันดาลใจจากพระอัจฉริยภาพ.  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2559]  
      เข้าถึงจาก : http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/634466