ปัจจุบันวิถีชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ต้องทำงานแข่งกับเวลา อาหารแช่เยือกแข็ง (Frozen food) จึงเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากขึ้น ส่งผลมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อลดเวลาในการเตรียมอาหาร และสะดวกในการบริโภค อาหารแช่เยือกแข็งเป็นวิธีการถนอมอาหารโดยการลดอุณหภูมิของอาหารให้ต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส น้ำในอาหารเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็ง จุลินทรีย์ไม่สามารถใช้น้ำในการดำรงชีวิต ส่งผลให้ช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ ทำให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาอาหารให้ยาวนานขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้สามารถช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของอาหารในด้านเนื้อสัมผัส รสชาติ และคุณค่าทางอาหารไว้ได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ
(ที่มา : http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1442478193)
ผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งมีหลากหลายชนิด ทั้งอาหารประเภทผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และอาหารที่ผ่านการปรุงสุกเพื่อเป็นอาหารพร้อมรับประทาน เช่น ติ่มซำ ผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูป โดยผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เยือกแข็งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศรองจากข้าว ได้แก่
1. กุ้งแช่เยือกแข็ง ทำได้หลายแบบ เช่น แช่แข็งทั้งตัว เด็ดหัว เด็ดหัวแล้วผ่าหลัง กุ้งเนื้อ กุ้งต้ม กุ้งห่อแป้งปอเปี๊ยะ กุ้งที่นิยมนำมาแช่เยือกแข็ง ได้แก่ กุ้งโอคัก กุ้งแช่บ๊วย กุ้งลาย กุ้งกุลาดำ
2. ปลาหมึกแช่เยือกแข็ง เช่น ปลาหมึกกล้วยแช่เยือกแข็ง และปลาหมึกกระดองแช่เยือกแข็ง
3. ปลาแช่เยือกแข็ง เช่น ปลาสดทั้งตัวแช่เยือกแข็ง เนื้อปลาแล่ หรือเนื้อปลาบดแช่เยือกแข็ง เรียกว่า ซูริมิ (Surimi) ปลาที่นิยมนำมาแช่เยือกแข็ง ได้แก่ ปลากระพง ปลาทูน่า ปลาโอ
4. ปูแช่เยือกแข็ง เช่น ปูทะเลแช่เยือกแข็ง
5. หอยแช่เยือกแข็ง มีหลายชนิด เช่น หอยนางรม หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยเชลล์ เป็นต้น
(ที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/ (ที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/
word/1901/frozen-seafood-อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง) wiki/word/2989/การแช่เยือกแข็ง-freezing)
ผู้บริโภคสามารถการเลือกซื้อและบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งชนิดต่างๆ ให้มีคุณภาพและปลอดภัย ควรคำนึงถึงหลักการที่สำคัญ ดังนี้
1. ควรเลือกซื้ออาหารแช่เยือกแข็งที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ในสภาพดี ไม่รอยรั่ว หรือฉีกขาด ไม่มีรอยเปื้อน ซึ่งบรรจุภัณฑ์ควรทนทานต่ออุณหภูมิต่ำ ปกป้องอาหารจากแสง และอาหารแช่เยือกแข็งประเภทพร้อมรับประทานควรใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถอุ่นร้อนในไมโครเวฟได้
2. ดูวันหมดอายุบนฉลากอย่างรอบคอบ และควรเลือกซื้ออาหารแช่เยือกแข็งที่ยังไม่หมดอายุ
3. สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงคือ ความปลอดภัยในด้านจุลินทรีย์ ซึ่งเมื่อกลับถึงบ้านควรรีบนำอาหารแช่เยือกแข็งเข้าช่องแช่แข็งของตู้เย็นทันที เพื่อช่วยรักษาสภาพอาหาร ไม่ควรปล่อยให้ละลาย เพราะน้ำในอาหารจะไหลออกมา ทำให้อาหารเสียรสชาติ และมีคุณค่าทางโภชนาการลดน้อยลง
4. การละลายอาหารแช่เยือกแข็ง ควรแบ่งอาหารออกมาละลายเท่าที่ต้องการในแต่ละครั้ง เพื่อรักษาคุณภาพของอาหารในส่วนที่เหลือ
5. เมื่อนำอาหารออกมาอุ่น ควรปฏิบัติตามวิธีการอุ่นอาหารบนฉลากที่ระบุไว้
6. ในการเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานแช่เยือกแข็ง ควรดูปริมาณสารอาหารต่างๆ บนฉลากโภชนาการ และควรเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของผู้บริโภค
(ที่มา : https://www.technologychaoban.com/ (ที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/
bullet-news-today/article_31371) wiki/word/2989/การแช่เยือกแข็ง-freezing)
ดังนั้น การเลือกซื้ออาหารแช่เยือกแข็งอย่างถูกวิธี ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ และมีความปลอดภัยต่อร่างกาย รวมทั้งช่วยประหยัดเวลาในการปรุงอาหารในสภาวะเร่งรีบของผู้คนในสังคมเมืองได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล. การแช่เยือกแข็ง...อีกวิธีถนอมอาหารโภชนาการอยู่ครบ. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2560].
เข้าถึงจาก : https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1438593073
เทคโนโลยีชาวบ้าน. ข้อควรรู้ในการบริโภคอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2560].
เข้าถึงจาก : https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_31371
พิมพ์ชนก พริกบุญจันทร์. การแปรรูปสัตว์น้ำโดยการแช่เยือกแข็ง. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2560].
เข้าถึงจาก : http://elearning.psru.ac.th/courses/152/บทที่%209/บทที่%209%20การแปรรูปสัตว์น้ำโดยการแช่เยือกแข็ง.pdf
สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. อาหารแช่เยือกแข็ง. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2560].
เข้าถึงจาก : https://www.foodsafety.moph.go.th/th/news-national-detail.php?id=378&pcid=270&pcpage=55