มนุษย์รู้จักและนำเห็ดมาใช้บริโภคเป็นอาหารมาตั้งแต่มัยโบราณ โดยพบว่า ฟาโร กษัตริย์ของอียิปต์ทรงโปรดปรานเห็ดเป็นอาหารอันโอชะ ชาวกรีกเชื่อว่าเห็ดเป็นขุมพลังงาน และชาวจีนถือว่าเห็ดเป็นอาหารสุขภาพ ปัจจุบันเห็ดได้รับความนิยมในการบริโภคอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติอร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งอุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ เหมาะสำหรับคนทุกวัย รวมทั้งยังมีสรรพคุณทางยาช่วยในการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ และช่วยในการต้านมะเร็งหลายชนิด
ตารางแสดงคุณค่าทางอาหารของเห็ดชนิดต่างๆ (จากส่วนที่กินได้ 100 กรัม)
ชนิดของเห็ด
|
น้ำ
(กรัม)
|
พลังงาน
(แคลอรี่)
|
ไขมัน
(กรัม)
|
คาร์โบไฮเดรต
(กรัม)
|
เส้นใย
(กรัม)
|
โปรตีน
(กรัม)
|
เห็ดโคน
|
84.90
|
48.72
|
0.280
|
5.28
|
1.963
|
6.27
|
เห็ดนางฟ้า
|
90.27
|
33.32
|
0.071
|
4.79
|
0.472
|
3.36
|
เห็ดฟาง
|
89.90
|
32.38
|
0.071
|
4.75
|
0.595
|
3.16
|
เห็ดหอม
|
92.40
|
21.55
|
0.043
|
2.95
|
1.308
|
2.34
|
เห็ดนางรม
|
90.70
|
32.39
|
0.043
|
5.67
|
0.396
|
2.13
|
(ที่มา : ผาณิต, 2557)
แต่การบริโภคเห็ดเพียงชนิดเดียวอาจได้รับประโยชน์ไม่เท่ากับการนำเห็ดอย่างน้อย 3 ชนิด มาปรุงเป็นอาหาร เพราะเมื่อนำเห็ด 3 ชนิด มารวมกันจะได้โปรตีนจากเห็ดที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ง่ายกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยโปรตีนจากเห็ดจะไปสร้างกรดอะมิโนที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย คือ
1. ช่วยล้างพิษที่สะสมในตับ ทั้งจากอาหารและสารเคมี เช่น พิษสุรา สารตกค้างในเนื้อสัตว์ สารเคมีจากเครื่องสำอาง (ลิปสติกสีสด ยาย้อมผม)
2. ช่วยล้างพิษพวกอนุมูลอิสระ ซีสต์ เนื้องอก มะเร็ง อัลฟาท็อกซิล ไวรัสตับอักเสบ สเก็ดเงิน
3. ช่วยล้างไขมันในตับ ตับแข็งแรง ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้อารมณ์ดี การสร้างเม็ดเลือดแดงดี
(ที่มา : http://www.npzmoon.com/?p=31064)
การนำเห็ด 3 ชนิด หรือมากกว่า 3 ชนิดขึ้นไป ทั้งเห็ดสดหรือเห็ดแห้งมาปรุงอาหารนั้น เรียกได้ว่าเป็นเมนูเห็ดล้างพิษ สามารถช่วยล้างพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายได้ดี ซึ่งนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายวิธี ได้แก่ ต้ม ผัด แกง ยำ ย่าง ทอด หรือทำอาหารประเภทใดก็ได้โดยไม่ต้องใช้น้ำมัน นอกจากนั้นอาจนำไปต้มเป็นน้ำเห็ด 3 ชนิด ไว้สำหรับดื่มได้เช่นเดียวกัน
แกงเห็ด น้ำเห็ด 3 ชนิด
(ที่มา : http://www.never-age.com/2124-1- (ที่มา : http://www.acfs.go.th/healthfood/
กินเห็ดสามอย่าง%20ช่วยล้างสารพิษในร่างกาย.html) showFood.php?food_id=31)
ทั้งนี้ เห็ด 3 อย่าง ที่นำมาใช้ปรุงอาหารต้องเป็นเห็ดที่สามารถบริโภคได้ เช่น
1. เห็ดฟาง เป็นเห็ดที่มีสารช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดอาการไขมันในเส้นเลือดหรือหัวใจ
2. เห็ดหอม คนจีนใช้เห็ดหอมเป็นยาอายุวัฒนะรักษาหวัด ทำให้เลือดลมดี แก้โรคหัวใจ ป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย ต้านพิษงู ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง และโรคร้ายจากเชื้อไวรัส
3. เห็ดหูหนูขาว ใช้บำรุงร่างกาย บำรุงปอด บำบัดอาการอ่อนเพลีย ไอ เสมหะมีเลือดปน ร้อนใน คอแห้ง
4. เห็ดหูหนูน้ำตาล ช่วยรักษาโรคร้อนใน โลหิตจาง แก้เจ็บคอ บำรุงเลือด แก้อาการท้องเสีย อุจจาระปัสสาวะมีเลือดปน และช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร
5. เห็ดเข็มทอง กินเป็นประจำช่วยรักษาโรคตับ โรคกระเพาะอาหาร และโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
6. เห็ดขอนขาว ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงตับ ชูกำลัง แก้ไข้พิษ ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น
7. เห็ดโคน ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิด คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ
8. เห็ดนางฟ้า ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดไขมันในเส้นเลือด
9. เห็ดนางรม ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง โรคความดันโลหิตสูง เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เพราะมีปริมาณไขมันและแคลอรี่ต่ำ
เห็ดฟาง เห็ดเข็มทอง เห็ดหอม
(ที่มา : http://design.drr.go.th/th/node/755)
(ที่มา : http://www.lovefitt.com/healthy-fact/สารพัดประโยชน์ของเห็ดนานาชนิด/)
ดังนั้น การบริโภคเห็ด 3 ชนิด ถือเป็นการช่วยล้างสารพิษในร่างกาย บำรุงตับ และบำรุงสมอง สามารถรับประทานได้ทุกวัน เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ไขมันต่ำ และไม่มี
คอเลสเตอรอล อีกทั้ง ยังเป็นอาหารที่ให้ปริมาณโปรตีนสูง ผู้บริโภคจึงสามารถรับประทานทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้โดยปราศจากสารตกค้างด้วย
เอกสารอ้างอิง
คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. ทานเห็ดต้านโรคภัยและสรรพคุณทางยา. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561].
เข้าถึงจาก : http://medinfo2.psu.ac.th/healthpromotion/images/stories/Banner_personel/p_1.pdf
ชำนาญ พิทักษ์ทอง. บทที่ 1 ความสำคัญและประโยชน์ของการเพาะเห็ด. เห็ดเศรษฐกิจ, กรุงเทพฯ : เกษตรสยามบุ๊คส์, 2555, หน้า 7-16.
ผาณิต พระดาเวชช. สารพัดเห็ดเพื่อสุขภาพ. ประโยชน์มหัศจรรย์ : เห็ด, กรุงเทพฯ : อมรินทร์สุขภาพ, 2557, หน้า 7-42.
ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. เห็ดทางการแพทย์กับสุขภาพ. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561].
เข้าถึงจาก : http://www.sptn.dss.go.th/otopinfo/attachments/article/109/CF82(A13).pdf