วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...
วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
สะเดา
ชื่อสามัญ : Neem Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)
วงศ์ : MELIACEAE
ชื่อท้องถิ่น : กะเดา (ภาคใต้), จะตัง (ส่วย) สะเดา ( ภาคกลาง) สะเลียม (ภาคเหนือ) สะเดาบ้าน (ทั่วไป)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :- | |
เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 20-25 เมตร ลักษณะเรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบตลอดปี มีระบบรากที่แข็งแรงกว้างขวางและหยั่งลึก เปลือกไม้ค่อนข้างหนา สีน้ำตาลเทาหรือเทาปนดำ แตกเป็นร่องตื้นๆ หรือเป็นสะเก็ดยาวๆ เยื้องสลับกันไปตามความยาวของลำต้นเปลือกของกิ่งค่อนข้างเรียบ เนื้อไม้ สีแดงเข้มปนน้ำตาล เลี้ยนค่อนข้างสับสนเป็นริ้วๆ แคบ เนื้อหยาบเป็นมัน เลื่อม แข็งทนทาน แกนมีสีน้ำตาลแดง แข็งแรงและทนทานมาก | |
ใบ :- | |
มีสีเขียวเข้มหนาทึบ ออกเป็นช่อ เป็นใบประกอบแบบขนนกออกสลับ ขอบใบหยักเล็กน้อยหรือเกือบเรียบการเรียงตัวของใบแบบสลับ ใบย่อยเรียงตัวแบบตรงกันข้าม เรียวแหลมโคน ใบเบี้ยวขอบใบจักไม่เป็นระเบียบ ในพื้นที่ที่แล้งจัด จะทิ้งใบเฉพาะส่วนล่างๆ ประมาณเดือนมกราคม ถึงมีนาคม และใบใหม่จะผลิขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเมษายน ช่วงนี้สะเดาสจะแทงยอดอ่อนพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว | |
ดอก :- | |
ดอกสะเดามีขนาดเล็กสีเทาสีขาวนวลออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่งมีกลีบดอกและกลีบเลี้ยงอย่างละ 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน กลิ่นหอม โคนก้านดอกติดกันเป็นหลอด ออกดอกเดือนธันวาคม-มกราคม | |
ผล :- | |
มีลักษณะคล้ายผลองุ่น ขนาดยาว 1-2 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 1 เซ็นติเมตร ผลจะสุกระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน แล้วแต่สภาพพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะแก่เร็วกว่าภาคกลาง ผลสุกสีเหลืองอมเขียว ลักษณะกลมรี มีรสหวานเล็กน้อย เมล็ดมีผิวค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ตามยาวสีเหลืองซีดหรือสีน้ำตาล ลักษณะกลมรี การเก็บเมล็ดจากต้นโดยใช้ไม้สอย หรือเก็บที่ร่วงหล่นตามโคนต้น น้ำหนัก 1 กิโลกรัมจะมีเมล็ดประมาณ 4,000 เมล็ด เมล็ดมีน้ำมันประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนัก มีการสูญเสียชีวิตเร็วมากไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ดังนั้นเมล็ดเมื่อเก็บจากต้นแล้วทำการเพาะทันทำภายในสัปดาห์นั้น จะมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ และถ้าเก็บไว้นานเกินกว่า 20-30 วัน ในสภาพการเก็บปกติจะสูญเสียเปอร์เซ็นต์การงอกไปหมด | |
ส่วนที่ให้สี :- | |
คือ ใบ, เปลือก, แก่น | |
สีที่ได้ :- | |
สีเขียวแดง, น้ำตาลแดง, น้ำตาลเข้ม | |
วิธีการย้อมสี :- | |