
กรมวิทยาศาตร์บริการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และให้ความรู้การยืดอายุผลิตภัณฑ์น้ำพริกแก่โอทอปในพื้นที่ประจว...
นักวิจัยสำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำทีมโดยนางวรรณดี มหรรณพกุล นักวิทยาศาสตร์ชำ...

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ลงพื้นที่นครพนม ติดตามผลการนำองค์ความรู้ วทน.ยกระดับสินค้า OTOP สู่มาตรฐานเพิ่ม...
วันที่ 21 กรกฎาคม 2562 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม...

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ตรวจเยี่ยมศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม จ.สกลนคร
วันที่ 20 กรกฎาคม 2562 นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยา...

ลงพื้นที่เพื่อให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการจังหวัดสงขลา
ดร.กาจพันธ์ สกุลแก้ว นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ รักษาการหัวหน้ากลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง เป็นห...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
ทองกวาว
ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่อท้องถิ่น : กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ภาคใต้), จ้า ( เขมร) ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :- | |
ทองกวาวเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8 - 20 เมตร เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ ทรงพุ่มทึบปานกลาง ผลัดใบ เจริญเติบโตช้ามากเนื่องจากเป็นไม้เนื้อแข็ง เวลาออกดอกใบจะร่วงหมด ดอกสะพรั่งเต็มต้น เป็นไม้ที่ทนต่อสภาพแห้งแล้งทนลมและสภาพดินเค็ม ถ้าปลูกในที่ชื้นหรือใกล้แหล่งน้ำจะไม่ค่อยออกดอก ปลูกจากเมล็ดจะออกดอกเมื่อมีอายุ 8 - 10 ปี โคนลำต้นมีลักษณะเป็นพูพอนเล็กน้อย ลำต้นมักจะบิดงอไม่ตั้งตรง กิ่งก้านจะแตกออกไม่เป็นระเบียบบิดโค้งและห้อยย้อยลงมา ลำต้นเมื่อมีอายุมาก ๆ มักจะเป็นโพรงกลวง เปลือก สีเทาคล้ำแตกเป็นร่องตื้น ๆ ทั้งตามทางยาวและตามขวาง เมื่อแก่มีสีเทาคล้ำ จากนั้นจะแตกเป็นสะเก็ดหลุดลอกออก และเปลือกใหม่จะขึ้นมาแทนที่ |
![]() |
ใบ :- | |
เป็นใบประกอบแบบขนนก มี 3 ใบย่อยคล้ายใบถั่ว ออกสลับ ก้านใบ ยาว 25 - 30 เซนติเมตร โคนก้านใบบวม ใบยอดรูปไข่กลับปลายมน โคนสอบ ส่วนอีก 2 ใบ ออกตรงกันข้ามรูปไข่ค่อนข้างกว้างโคนใบเบี้ยว เส้นกลางใบนูนชัดเจน ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 10 - 18 เซนติเมตร ยาว 15 - 20 เซนติเมตร |
![]() |
ดอก :- | |
มีสีเหลืองแสดหรือสีส้ม ดอกเดี่ยว คล้ายดอกถั่ว หรือดอกทองหลาง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันมีขนสีน้ำตาลเข้ม กลีบดอก 5 กลีบ ยาว 5-7 เซนติเมตร ปลายแหลมมน โค้งบิดงอ มีเกสรเพศผู้ 10 อัน ยาว 6 - 8 เซนติเมตร โค้งบิดงอเช่นเดียวกับกลีบดอก ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้านและปลายกิ่ง จะออกดอกในระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ - เมษายน |
![]() |
ผล :- | |
เป็นฝักแห้ง สีน้ำตาลอมเหลือง มีขนนุ่ม รูปขอบขนาน แบนบาง สันหนา โค้งงอเล็กน้อย กว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 12 - 15 เซนติเมตร มีเมล็ดอยู่ภายใน เมล็ด ติดอยู่ที่ปลายฝัก รูปร่างเป็นแผ่นแบนบาง สีน้ำตาลคล้ายรูปไต กว้าง 1.0-1.2 เซนติเมตร ยาว 1.5-2.0 เซนติเมตร ฝักหนึ่งมีเมล็ด 1 - 2 เมล็ด |
![]() |
ส่วนที่ให้สี :- | |
คือ ดอก | |
สีที่ได้ :- | |
สีส้ม | |
วิธีการย้อมสี :- | |