วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...
วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
สะแกนา
ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums
ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz var.lanceolatum Gagnep., Combretum attenuatum Wall., Combretum laccifera Pierre) จัดอยู่ในวงศ์ COMBRETACEAE
ชื่อท้องถิ่น ขอนแข้ ขอนแด่ จองแข้ (แพร่), แก (อุบลราชธานี), แพ่ง (ภาคเหนือ), แก (ภาคอีสาน), สะแก (ภาคกลาง), ซังแก (เขมร-ปราจีนบุรี) เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :- | |
จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร (บ้างว่าสูงได้ประมาณ 15-20 เมตร) เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทานวล ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่มุม ส่วนต่างๆ ของลำต้นมีขนเป็นเกล็ดกลมๆ ต้นสะแกนาที่มีอายุมากบริเวณโคนต้นจะพบหนามแหลมยาวและแข็ง หรือเป็นกิ่งที่แปรสภาพไปเป็นหนามสั้นตามโคนต้น เนื้อใบหนาเป็นมัน ใบมีสีเขียวสด ผิวใบทั้งสองด้านมีเกล็ดสีเงินอยู่หนาแน่น ผิวใบด้านบนสากมือ ก้านใบสั้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ที่ขึ้นได้ในทุกชนิด แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ชุ่มชื้น และควรปลูกในช่วงฤดูฝน มีเขตการกระจายพันธุ์จากอินเดียจนถึงคาบสมุทรอินโดจีน พบได้ตามป่าละเมาะทั่วไป ป่าเต็งรัง หรือริมธารน้ำชายป่า ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 250 เมตร | |
ใบ :- | |
ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมขอบขนาน ปลายใบมนหรือเว้าเป็นแอ่งตื้นๆ โคนใบสอบแคบไปยังก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบหรือหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร | |
ดอก :- | |
ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและที่ปลายยอด ช่อดอกเป็นแบบช่อเชิงลด ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ไม่มีก้านดอก ในช่อหนึ่งจะมีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบเลี้ยงที่โคนที่เชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ส่วนปลายแยกเป็นกลีบ 4 กลีบ กลีบเลี้ยงเป็นสีขาวอมเหลือง ส่วนกลีบดอกมี 4 กลีบ สีขาวอมเหลือง ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ปลายมน หลุดร่วงได้ง่าย ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 อัน เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม | |
ผล :- | |
ผลเป็นผลแห้ง ขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ มีครีบ 4 ครีบ สีน้ำตาลอมขาว ผลเมื่อแก่หรือสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลแดง 2เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกระสวย มีสัน 4 สัน ตามยาว | |
ส่วนที่ให้สี :- | |
คือ เปลือก | |
สีที่ได้ :- | |
สีเขียวอ่อน, เขียวขี้ม้า | |
วิธีการย้อมสี :- | |