วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...
วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
สมอไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz.
วงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่อท้องถิ่น : มะนะ, ม่าแน่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :- | |
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร ลำต้นค่อนข้างเปลา ตรง ไม่มีพูพอนหรืออาจมีบ้างเล็กน้อยในช่วงที่ใกล้ ๆ ผิวดิน เปลือกหนา สีน้ำตาลแก่ค่อนข้างดำแตกปริเป็นร่องลึกไปตามยาว ลำต้นขรุขระ เปลือกในสีน้ำตาลแดง เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่ค่อนข้างโปร่ง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงทั่วไป | |
ใบ :- | |
เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบมีทั้งรูปรี ๆ รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 10-13 ซม. ยาว 18-28 ซม. โคนใบมนและมักเบี้ยวเล็กน้อย บริเวณขอบใบใกล้ ๆ กับโคนใบจะมีตุ่มหูดหนึ่งคู่ ปลายเป็นติ่งแหลม เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบสีเขียวเข้ม มีขนสีขาวคลุม ทางด้านท้องใบสีจางคลุมด้วยขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่ม พอใบแก่จัดขนทางด้านท้องใบจะหลุดร่วงไปหมดหรือเกือบหมด เส้นแขนงใบค่อนข้างถี่ มี 12-18 คู่ และมักมีเส้นแทรกเส้นใบย่อยแบบเส้นร่างแหเห็นชัดมากทางด้านท้องใบ ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 2-2.5 ซม. | |
ดอก :- | |
มีขนาดเล็ก สีขาวหรือเหลืองอ่อน กลิ่นหอม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกรวมกันเป็นช่อยาว ๆ ที่ไม่แยกแขนงเป็นกระจุก ๆ ละ 4-7 ช่อ บริเวณเหนือรอยแผลใบใกล้ ๆ ปลายกิ่ง ปลายช่อจะห้อยย้อยลง กลีบฐานดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีขนแน่นทางด้านใน เมื่อบานเต็มที่กว้าง 3-4 มม. ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้มี 10 อัน เรียงตัวเป็นสองแถวล้อมรอบรังไข่ รังไข่รูปไข่เกลี้ยง ๆ ภายในมีช่องเดียว และมีไข่อ่อน 2 หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว | |
ผล :- | |
รูปป้อม ๆ หรือรูปกระสวย มีเนื้อเยื่อหนาหุ้มเมล็ดซึ่งมีเมล็ดเดียวแข็ง ๆ ผลโต 2-3 ซม. และยาว 3-4 ซม. มีพูหรือเหลี่ยมตามยาวตัวผล 5 พู ผลแก่สีเขียวอมเหลือง แต่พอแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เมล็ดรูปกระสวย เมล็ดเดียว เกิดตามป่าดงดิบเขา ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณทั่วไป ระยะการออกดอกเป็นผล เริ่มออกดอกภายหลังจากใบใหม่ผลิออกมาแล้ว ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ผลจะแก่จัดในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม | |
ส่วนที่ให้สี :- | |
คือ เปลือก, ผล | |
สีที่ได้ :- | |
สีเขียว, เหลือง, เทาดำ | |
วิธีการย้อมสี :- | |