วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...
วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
แกแล/เข
ชื่อสามัญ Cockspur thorn
ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cudrania javanensis Trec.)
วงศ์ MORACEAE
ชื่อท้องถิ่น แกก้อง (แพร่), ช้างงาต้อก (ลำปาก), เข (นครศรีธรรมราช), หนามเข (ประจวบคีรีขันธ์), น้ำเคี่ยวโซ่ (ปัตตานี), สักขี เหลือง (ภาคกลาง), แกล แหร (ภาคใต้), กะเลอะเซอะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :- | |
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก บ้างว่าเป็นไม้พุ่มรอเลื้อยหรือเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มียางสีขาวถึงเหลืองอ่อน มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร มีหนามแข็งแหลม ยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร (ปลายแหลมตรงหรือโค้งเล็กน้อย) อยู่ตามต้น กิ่ง และตามง่ามใบ ส่วนเนื้อไม้มีลักษณะแข็ง มักขึ้นตามป่าละเมา ตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบ ในพื้นที่ระดับต่ำไปจนถึงพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำ และการเพาะเมล็ด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัดและชุ่มน้ำ | |
ใบ :- | |
เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-11 เซนติเมตร มีหนามแหลมออกตรงซอกใบ 1 อัน ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเรียบเป็นสีเขียวเป็นมัน มีเส้นแขนงใบอยู่ข้างละประมาณ 6-9 เส้น ส่วนก้านใบยาวประมาณ 0.3-1-5 เซนติเมตร และยังมีหูใบขนาดเล็กมากร่วงได้ง่าย | |
ดอก :- | |
ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น ดอกเพศผู้จะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาวนวล กลีบดอกมี 4 กลีบ ลักษณะของกลีบเป็นรูปไข่กลีบ และมีใบประดับขนาดเล็กมากเป็นรูปช้อนที่โคนดอก ด้านนอกกลีบดอกมีขนสั้น ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน ขนาดเล็กมาก ช่อดอกเพศผู้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น โดยออกตามง่ามใบเป็นคู่ๆ หรืออยู่เดี่ยวๆ มีกลีบดอกรวม 4 กลีบ โคนกลีบติดกัน ปลายแยก ช่อดอกเพศเมียมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ส่วนรังไข่จะอยู่ในฐานรองดอก ก้านเกสรเพศเมียจะเรียวและยาวกว่ากลีบรวมเล็กน้อย ส่วนก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 0.3-1 เซนติเมตร | |
ผล :- | |
เป็นผลรวม ผลมีลักษณะกลม ผิวผลขรุขระ ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร มียางสีขาว ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็ก | |
ส่วนที่ให้สี :- | |
คือ แก่นไม้ (เนื้อไม้) | |
สีที่ได้ :- | |
สีเหลือง | |
วิธีการย้อมสี :- | |