
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
![]() |
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า แกแล สักขี เหลือง หนามเข (ประจวบคีรีขันธ์) กะเลอะ เซอะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ภาคเหนือเรียกว่า แกก้อง (แพร่) ช้างงาต้อก (ลำปาง) ภาคใต้เรียกว่า แกแหร น้ำเคี่ยว โซ่ (ปัตตานี) |
ลักษณะ : เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย กิ่งมีหนามแหลมตามซอกใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กลับปลายใบมนหรือสอบแหลม มีติ่งเป็นขนแข็งโคนใบสอบแหลมรูปลิ่ม แผ่นใบบาง ผิวเรียบ ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบเป็นดอกแยกเพศและอยู่คนละต้น ช่อดอกมีสีเหลือง มีดอกย่อยเป็นจำนวนมากเรียงชิดกันแน่นไม่มีก้านดอก ผลเป็นผลรวมรูปกลม ผิวขรุขระ | |
ส่วนให้สี : แก่นต้น เปลือกต้น |
การย้อมสีเส้นไหม เส้นฝ้าย โดยใช้ไม้เข มีวิธีดังต่อไปนี้ | |
มีขั้นตอนเช่นเดียวกับการย้อมด้วยไม้ฝางแดง เมื่อเติมสารส้มจะเห็นน้ำสีขุ่น เมื่อนำเส้นไหม เส้นฝ้าย ลงย้อม น้ำสีจะค่อยๆ ใสขึ้น เส้นใยที่ย้อมได้เป็นสีเหลือง |
|
ผ่าไม้เขให้เป็นชิ้นเล็กๆ |
|
เติมสารส้ม เพื่อให้เกิดเม็ดสี จุ่มเส้นไหม/ฝ้ายลงย้อมในน้ำเข |
|
แช่เส้นฝ้ายในน้ำสีเพื่อให้สีดูดซับดี บีบน้ำย้อมเขออกแล้วเอาไปกระตุกเพื่อให้เส้นด้ายคลายเป็นเส้นตรง สีที่ย้อมด้วยเข โดยใช้สารส้มเป็นตัวช่วยติดสีจะได้เป็นสีเหลือง
|
|
เส้นไหมหรือเส้นฝ้ายที่ย้อมด้วยเขซึ่งมีสีเหลืองนำไปจุ่มในน้ำย้อมจากไม้ฝางจะได้เป็นสีส้ม
|