วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...
วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยนางสาวขนิษฐา อินทร์ประสิทธิ์ นางสาวลลิตา ชูแก้ว และนางเจนจิรา สุขสวัสดิ์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรจากสำนักงานเทศบาลนครนนทบุรี ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” มีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการหมักอาหารให้ปลอดภัย และการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารหมัก ณ สำนักงานเทศบาลนครนนทบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 25 ราย
เทศบาลนครนนทบุรีตระหนักถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม ทำให้อัตราการว่างงานของประชาชนและหนี้สินครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมอาชีพแก่ประชาชน ทั้งนี้ วศ. อว. ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารหมัก และมีความต้องการต่อยอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากนม ได้แก่ แตงกวาดองด้วยวิธีซูสวีด (Sous – vide) และริคอตต้าชีส (Ricotta Cheese) โดยมุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมและสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารหมัก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพต่อไป
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฝ่ายประชาสัมพันธ์/ทีมงานโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม