วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...
วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
น้ำบาดาล (Groundwater) คือ ส่วนของน้ำใต้ผิวดินที่อยู่ในเขตอิ่มน้ำ รวมถึงธารน้ำใต้ดิน โดยทั่วไป หมายถึง น้ำใต้ผิวดินทั้งหมด ยกเว้นน้ำภายในโลก ซึ่งเป็นน้ำอยู่ใต้ระดับเขตอิ่มน้ำ แต่น้ำบาดาลตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 หมายความว่า น้ำใต้ดินที่เกิดอยู่ในชั้นดิน กรวด ทราย หรือหิน ที่อยู่ลึกจากผิวดินเกินความลึกที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่จะกำหนดความลึก น้อยกว่า 10 เมตร มิได้ ประเทศไทยมีการพัฒนานำน้ำบาดาลมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย ทั้งด้านการอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม
ลักษณะทั่วไปของน้ำบาดาลเป็นน้ำที่สะอาด ปราศจากสารแขวนลอย สารอินทรีย์เคมี และเชื้อโรคต่างๆ ไม่มีกลิ่นที่น่ารังเกียจ แต่ขณะที่ไหลผ่านไปตามชั้นดินหรือชั้นหิน อาจจะละลายเอาแร่ธาตุเข้ามาปะปน รวมทั้งถูกปนเปื้อนด้วยน้ำที่มีคุณภาพด้อยกว่า ส่งผลให้คุณภาพของน้ำบาดาลเปลี่ยนไป แต่ละพื้นที่น้ำบาดาลจะมีคุณภาพแตกต่างกัน ซึ่งมีคุณภาพดีตั้งแต่จืดใช้ดื่มได้ จนถึงคุณภาพดีปานกลางเหมาะเป็นน้ำใช้เพื่อการอุปโภค แต่ในบางพื้นที่พบว่าคุณภาพน้ำบาดาลมีความกระด้างและเหล็กสูง หรือบางครั้งอาจจะพบน้ำเค็ม โดยคุณภาพน้ำบาดาลสามารถวิเคราะห์ได้จากคุณลักษณะของน้ำบาดาล 4 ลักษณะ คือ
1. คุณลักษณะทางกายภาพ เป็นลักษณะภายนอกที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า น้ำบาดาลที่ดีจะต้องไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและรส น้ำที่เหมาะสำหรับดื่มควรเป็นกรดเล็กน้อย ซึ่งน้ำบาดาลถ้าใช้ดื่มอาจต้องมีค่า pH ใกล้เคียง 7 หรือต่ำกว่า 7 เล็กน้อย น้ำที่ดีควรมีความหนาแน่นเท่ากับ 1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ส่วนน้ำคุณภาพไม่ดี ค่าความหนาแน่นจะมากกว่า 1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แสดงว่าน้ำมีสิ่งเจือปนอยู่มาก โดยความขุ่น (Turbidity) เป็นคุณลักษณะทางกายภาพที่สำคัญจะเป็นตัวบอกลักษณะของสารแขวนลอยอื่นๆ น้ำบาดาลที่ดีควรมีความขุ่นต่ำ ปราศจากสิ่งแขวนลอยต่างๆ
มาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาลที่ใช้บริโภค |
||||
คุณลักษณะ |
ดัชนีคุณภาพน้ำ |
หน่วย |
ค่ามาตรฐาน |
|
เกณฑ์กำหนดที่เหมาะสม |
เกณฑ์อนุโลมสูงสุด |
|||
ทางกายภาพ |
1. สี (Colour) |
แพลทินัมโคบอลต์ |
5 |
15 |
2. ความขุ่น (Turbidity) |
หน่วยความขุ่น |
5 |
20 |
|
3. ความเป็นกรด-ด่าง (pH) |
- |
7.0-8.5 |
6.5-9.2 |
|
ทางเคมี |
4. เหล็ก (Fe) |
มก./ล. |
ไม่เกินกว่า 0.5 |
1.0 |
5. แมงกานีส (Mn) |
มก./ล. |
ไม่เกินกว่า 0.3 |
0.5 |
|
6. ทองแดง (Cu) |
มก./ล. |
ไม่เกินกว่า 1.0 |
1.5 |
|
7. สังกะสี (Zn) |
มก./ล. |
ไม่เกินกว่า 5.0 |
15.0 |
|
8. ซัลเฟต (SO4) |
มก./ล. |
ไม่เกินกว่า 200 |
250 |
|
9. คลอไรด์ (Cl) |
มก./ล. |
ไม่เกินกว่า 250 |
600 |
|
10. ฟลูออไรด์ (F) |
มก./ล. |
ไม่เกินกว่า 0.7 |
1.0 |
|
11. ไนเตรด (NO3) |
มก./ล. |
ไม่เกินกว่า 45 |
45 |
|
12. ความกระด้างทั้งหมด (Total Hardness as CaCO3) |
มก./ล. |
ไม่เกินกว่า 300 |
500 |
|
13. ความกระด้างถาวร (Non carbonate hardness as CaCO3) |
มก./ล. |
ไม่เกินกว่า 200 |
250 |
|
14. ปริมาณสารทั้งหมดที่ละลายได้ (Total disslved solids) |
มก./ล. |
ไม่เกินกว่า 600 |
1,200 |
|
สารพิษ |
15. สารหนู (As) |
มก./ล. |
ต้องไม่มีเลย |
0.05 |
16. ไซยาไนด์ (CN) |
มก./ล. |
ต้องไม่มีเลย |
0.1 |
|
17. ตะกั่ว (Pb) |
มก./ล. |
ต้องไม่มีเลย |
0.05 |
|
18. ปรอท (Hg) |
มก./ล. |
ต้องไม่มีเลย |
0.001 |
|
19. แคดเมียม (Cd) |
มก./ล. |
ต้องไม่มีเลย |
0.01 |
|
20. ซิลิเนียม (Se) |
มก./ล. |
ต้องไม่มีเลย |
0.01 |
|
ทางบักเตรี |
21. บักเตรีที่ตรวจพบโดยวิธี Standard plate count |
โคโลนีต่อ ลบ.ซม. |
ไม่เกินกว่า 500 |
- |
22. บักเตรีที่ตรวจพบโดยวิธี Most Probable Number (MPN) |
เอ็ม.พี.เอ็น ต่อ 100 ลบ.ซม. |
น้อยกว่า2.2 |
- |
|
23. อี.โคไล (E.coli) |
- |
ต้องไม่มีเลย |
- |