
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
บทนำ
เซรามิก (Ceramic) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากการผลิตเซรามิกจะใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก มีการใช้แรงงานจำนวนมาก ทำให้เป็นแหล่งสร้างอาชีพของคนในท้องถิ่น และสร้างรายได้มูลค่าสูงจากการส่งออกให้กับประเทศ อีกทั้ง อุตสาหกรรมเซรามิกประกอบด้วยผลิตภัณฑ์มากมายหลายชนิดที่นำไปใช้เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างกว้างขวางผลิตภัณฑ์เซรามิกจึงกลายเป็นกลุ่มสินค้าเป้าหมายที่รัฐบาลมุ่งให้การสนับสนุนเพื่อยกระดับให้เป็นผลิตภัณฑ์ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานในระดับสากล แต่ปัญหาสำคัญของการผลิตเซรามิก คือ ผู้ประกอบขาดความรู้ในด้านเทคโนโลยีการผลิตและการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้สินค้ามีคุณภาพต่ำ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด และไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปถ่ายทอดให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน สามารถพัฒนาคุณภาพสินค้า ผลักดันให้ผู้ประกอบการนำสินค้าเข้าสู่กระบวนการขอรับรอง มผช. และขยายโอกาสทางการตลาด (สำนักเทคโนโลยีชุมชน, 2557) ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นสินค้า OTOP ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น รวมถึงยังช่วยส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้าขึ้นด้วย
- Prev
- Next >>