
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
18 มิถุนายน 2561 ดร.เทพีวรรณ จิตรวัชรโกมล ผู้อำนวยการกองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ(วท.) พร้อมคณะ เร่งนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงพื้นที่จังหวัดชัยนาท ภายใต้โครงการยกระดับ OTOP ใน 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ ซึ่งได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ดำเนินงานโครงการ โดยเริ่มชี้แจงโครงการพร้อมคัดกรองผู้ประกอบการเพื่อประเมินศักยภาพความพร้อม ในจังหวัดชัยนาท มีผู้ประกอบการเข้าร่วมงานทั้งหมด 33 กลุ่ม 54 คน ได้แก่ผู้ประกอบการด้านผ้า 19 กลุ่ม 35 คน และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 14 กลุ่ม 19 คน ณ ห้องประชุมธรรมจักร (501) ศาลากลางจังหวัดชัยนาท
ดร.เทพีวรรณ ฯ ได้กล่าวบรรยายถึงการยกระดับ OTOP จังหวัดชัยนาทให้ก้าวไกลที่มุ่งเน้นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตที่จะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพสินค้าผลิตภัณฑ์ด้านผ้า และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารให้ได้มาตรฐาน เป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้า ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า สามารถแข่งขันและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นต่อไป
ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ ชุมแสง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (มรอ.) ได้กล่าวแนะนำทีมงานที่จะเข้าดำเนินโครงการยกระดับ OTOPฯ ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ที่ได้มีการร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมทั้งชี้แจงขั้นตอนในการดำเนินงาน วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ในแต่ละผลิตภัณฑ์ ช่วงบ่ายจัดแบ่งกลุ่มเพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฯ สำรวจปัญหาความต้องการเบื้องต้นและเตรียมการเพื่อลงพื้นที่ในช่วงเดือนมิถุนายน 2561 นี้ เพื่อพบผู้ประกอบการ และเก็บรวบรวมปัญหาด้านกระบวนการผลิต เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำมาพัฒนาและแก้ไขตรงตามความต้องการ ช่วยยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข่าว / ภาพ : ก่อพงษ์ หงษ์ศรี กลุ่มธรรมชาติและเส้นใย กองวัสดุวิศวกรรม