
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
12-14 กันยายน 2561 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย ดร.เทพีวรรณ จิตรวัชรโกมล ผู้อำนวยการกองวัสดุวิศวกรรม พร้อมทีมนักวิทยาศาสตร์ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินภายใต้โครงการยกระดับสินค้า OTOP ในจังหวัดชัยนาท ซึ่งร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ตรวจติดตามผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ผ้าทอ และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร จำนวน 25 กลุ่มในเขต อ.สรรคบุรี มโนรมย์ หันคา วัดสิงห์ เนินขาม สรรพยา และหนองมะโมง
ดร.เทพีวรรณ จิตรวัชรโกมล กล่าวว่า การลงพื้นที่ จ.ชัยนาทครั้งนี้ ติดตามถึงผลการดำเนินงานตอบโจทย์นโยบาย“วิทย์แก้จน” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่าหลังได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ และลงพื้นที่ให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาเชิงลึกจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ ผู้ประกอบการสามารถนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารได้พัฒนากระบวนการผลิต ส่งผลยกระดับผลิตภัณฑ์ และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ส่วนผู้ประกอบการกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ได้นำเทคนิคการย้อมสีธรรมชาติที่มาประยุกต์ใช้กับการย้อมแบบดั้งเดิม รวมถึงเทคนิคงานผ้าด้นมือมาปรับใช้ สามารถพัฒนาคุณภาพ พัฒนารูปแบบให้เป็นที่ต้องการของตลาด ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน เพิ่มรายได้ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
นอกจากนี้ได้สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการได้ทดสอบตลาด ภายในงานส้มโอขาวแตงกวาจังหวัดชัยนาทและของดีศรีท้องถิ่น ครั้งที่ 35 ประจำปี 2561 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-16 กันยายน 2561 ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดชัยนาท
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข่าว/ภาพ : โชติรส ชูจันทร์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี