วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...
วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
วันที่ 7 มกราคม 2562 นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ คณะผู้บริหารและนักวิทยาศาสตร์กรมวิทยาศาสตร์บริการ ประชุมหารือการพัฒนาคุณภาพและนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ร่วมกับ ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน และ น.ส.สกุณา สาระนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย อาจารย์มนูญ จิตใจฉ่ำ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งทอคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ มทร.กรุงเทพฯ ว่าที่พันตรี ดร.สมชาย อุดร อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีสิ่งทอ มทร.กรุงเทพฯ และ ผศ.นิรมล ศากยวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม. ธรรมศาสตร์ ณ ห้องประชุมนิธิปัญญา ชั้น 6 อาคาร ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ ถนนโยธี ราชเทวี กรุงเทพฯ
การประชุมครั้งนี้ ได้ร่วมกันพิจารณาประเด็นสำคัญการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม(วทน.) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน มุ่งเน้นด้านพัฒนาคุณภาพและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สิ่งทอของชุมชน โดยการดำเนินงานที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ลงพื้นที่จังหวัดสกลนครเพื่อนำ วทน. ช่วยพัฒนาการผลิตผ้าทอของชุมชนให้มีคุณภาพได้รับมาตรฐานสามารถยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์สิ่งทอของชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นจึงนำเสนอจังหวัดสกลนครเป็นชุมชนต้นแบบให้แก่ชุมชนที่สนใจนำไปเป็นแนวทางดำเนินงานนำ วทน. พัฒนาคุณภาพสร้างนวัตกรรมสิ่งทอของชุมชนตนเองอย่างต่อเนื่องได้ในอนาคตต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้มีข้อเสนอแนะ การพัฒนาด้านการสร้างมาตรฐานของคราม การสร้างมาตรฐานของสิ่งทอ การสร้างมาตรฐานของเครื่องมือการทอ การใช้ประโยชน์จากต้นครามทั้งต้น วิธีการใช้ฝ้ายและกัญชงร่วมกัน รวมทั้งวิธีการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการในเรื่องที่เกี่ยวข้อง โดยคาดหวังให้เป็นต้นแบบของการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมคราม เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการเพิ่มเติม
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข่าว/ภาพ : พรระวินท์ ควรแย้ม ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม