วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...
วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
เส้นใยธรรมชาติ (Natural fibers) เป็นพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานาน ซึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากธรรมชาติ ได้แก่ พืช สัตว์ และสินแร่ต่างๆ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่น คือ น้ำหนักเบา เป็นฉนวนความร้อนที่ดี สวมใส่สบาย ปลอดภัยจากสารเคมี และมีความสวยงามเฉพาะตัว
(ที่มา : http://puntorkan.blogspot.com/2014/07/natural-fibre-project.html)
โดยเส้นใยธรรมชาติที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. เส้นใยจากพืช หรือเส้นใยจากเซลลูโลส (Cellulose fibers) เป็นเส้นใยที่ประกอบด้วยเซลลูโลส ซึ่งได้จากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น
(1) เส้นใยที่หุ้มเมล็ด ได้แก่
- ใยฝ้าย (Cotton) ผ้าที่ได้จากเส้นใยฝ้ายนั้นได้มาจากเมล็ดของฝ้าย โดยเมื่อแห้งจะแตกออกมาเป็นใยสีขาวมีความยาวที่แตกต่างกัน แล้วจึงนำมาทอเป็นผ้า ผ้าฝ้ายมีคุณสมบัติที่ดีและมีราคาถูกมีความทนทาน เรียบเป็นเงา ดูดซับน้ำได้ดี
- ใยนุ่น (Kapok) ส่วนใหญ่มักนำเส้นใยนุ่นไปยัดเบาะ ฟูก หมอน ที่นอน ถุงนอน ตุ๊กตา เนื่องจากมีคุณสมบัติดูดความชื้นต่ำ มีน้ำหนักเบา ทนต่อแมลงและเชื้อราได้ดี
ใยฝ้าย ใยนุ่น
(ที่มา : https://www.ruedee.com/th/fabric/cotton/) (ที่มา : https://chevitd.com/นุ่น/)
(2) เส้นใยจากลำต้น ได้แก่
- ใยลินิน (Linen) เป็นเส้นใยที่ได้จากส่วนเปลือกของลำต้นแฟลกซ์ (Flax) มีคุณสมบัติคือ ระบายอากาศได้ดีมาก ดูซับเหงื่อได้ดี แต่ยับง่าย
- ใยปอ (Jute) เส้นใยปอมีความสำคัญและถูกนำมาใช้ประโยชน์มากรองจากฝ้าย แม้เป็นเส้นใยที่ไม่เหมาะสำหรับใช้ทำเป็นเสื้อผ้า เพราะมีความหยาบกระด้าง และระคายผิว แต่เหมาะสำหรับใช้ทำเชือก กระสอบ ถุง ผ้าตาข่าย และใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรมบางชนิด
ใยลินิน ใยปอ
(ที่มา : https://thai.alibaba.com/product-detail/ (ที่มา : https://thai.alibaba.com/product-detail/jute-
linen-fiber-flax-fiber--155120117.html) fiber-raw-jute-exporter-139858304.html)
(3) เส้นใยจากใบ ได้แก่
- ใยสับปะรด (Pine apple) เส้นใยสับปะรดสามารถนำมาใช้ทำเส้นใยสิ่งทอ มีคุณสมบัติเหนียว นุ่ม มักนำมาใช้ทำเชือก ด้ายเย็บ และผ้าเนื้อผ้า
- ใยป่านศรนารายณ์ (Sisal) มักนำมาใช้ประโยชน์สำหรับทำเชือกขนาดต่างๆ เพื่อใช้ในงานทางการเกษตร การเดินเรือ และเชือกห่อของ
ใยสับปะรด ใยป่านศรนารายณ์
(ที่มา : http://www.thaiscience.info/journals/ (ที่มา : https://puechkaset.com/ป่านศรนารายณ์/) Article/SSCJ/10967028.pdf)
(4) เส้นใยจากผล ได้แก่ เส้นใยมะพร้าว (Coir) เป็นเส้นใยที่ได้จากเปลือกของผลมะพร้าว ลักษณะเส้นใยแข็งกระด้าง ทนต่อความเปียกชื้นและการทำลายของจุลินทรีย์ได้ดี สามารถนำมาใช้ทำเบาะรถยนต์ ที่นอน เชือก เสื่อ แปรง และไม้กวาด
2. เส้นใยจากสัตว์ หรือเส้นใยโปรตีน (Protein fibers) เป็นเส้นใยที่ประกอบด้วยสารประเภทโปรตีน ได้แก่
- ขนสัตว์ (Wool) ส่วนใหญ่ขนสัตว์ที่นำมาใช้ประโยชน์สำหรับทำเป็นเส้นใยมากที่สุดคือ ขนแกะ โดยเส้นใยขนแกะมีคุณสมบัติที่ดีเหมาะแก่การทำเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น และความสบายแก่ผู้สวมใส่ในฤดูหนาว เนื่องจากเป็นฉนวนความร้อนที่ดี ดูดความชื้นได้ดี และไม่ยับ
- ไหม (Silk) เป็นเส้นใยที่ได้จากหนอนไหม มีคุณสมบัติเหมาะแก่การทำเสื้อผ้า เนื่องจากผ้าไหมให้ความสบาย สวยงาม ทำให้มีราคาแพง
ขนสัตว์ ไหม
(ที่มา : https://goterrestrial.com/2018/06/18/เส้นใยธรรมชาติจากขนสัต/)
3. เส้นใยจากสินแร่ (Mineral fibers) เช่น แร่ใยหิน (Asbestos) มีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี ทนความร้อนได้สูง มีความเหนียว และไม่นำไฟฟ้า
(ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/แร่ใยหิน)
อย่างไรก็ตาม สิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติเหล่านี้อาจมีข้อเสียอยู่บ้าง แต่ผู้คนก็ยังให้ความนิยมและเลือกใช้กันเป็นจำนวนมาก โดยเส้นใยธรรมชาติที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดคือ เส้นใยจากพืช รองลงมาเป็น เส้นใยจากสัตว์ เนื่องจากเส้นใยจากพืชมีราคาถูก หาง่าย และมีปริมาณมากกว่าเส้นใยจากสัตว์
เอกสารอ้างอิง
ดรรชนี พันธวรากร. เอกสารประกอบการสอนเทคโนโลยีสิ่งทอ (Textile technology). [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2561].
เข้าถึงจาก : http://www.inc.science.cmu.ac.th/thai/upload/article/file/12-11-05-37a74.pdf
บุรินทร์ พุทธโชติ. การผลิตเส้นใยสมรรถนะสูง (High performance fibers) เพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม. [ออนไลน์]
[อ้างถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงจาก : http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/article/high_performance_fibers.pdf
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. เส้นใย (Fibers). [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2561].
เข้าถึงจาก : http://www2.mtec.or.th/th/research/textile/textile_sci.html