ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       เส้นใยสังเคราะห์ (Synthetic fibers) เป็นพอลิเมอร์ที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นจากสารอนินทรีย์ หรือสารอินทรีย์ ซึ่งเกิดจากมอนอเมอร์ที่แตกต่างกัน 2 ชนิด ที่ไม่มีพันธะคู่อยู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอน แต่เป็นมอนอเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชันพิเศษ เช่น หมู่ไฮดรอกซิล (-OH) หมู่คาร์บอกซิล (-COOH) หรือหมู่อะมิโน (-NH2) โดยนำมาทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบควบแน่น (Condensation polymerization) เพื่อให้มีการเชื่อมต่อระหว่างมอนอเมอร์ต่างๆ ที่บริเวณหมู่ฟังก์ชัน จนเกิดเป็นพอลิเมอร์ของเส้นใยสังเคราะห์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลักๆ คือ

       1. เส้นใยพอลิเอสเตอร์ (Polyester) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากการเกาะเกี่ยวระหว่างสารอะโรมาติกที่เป็นกรดและสารแอลกอฮอล์ ด้วยพันธะหมู่เอสเตอร์ พบว่าเส้นใยสังเคราะห์ชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด โดยเฉพาะที่มีชื่อทางการค้าว่า Dacron และ Kodel เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ คือ

              (1) สมบัติทางกายภาพ ลักษณะเส้นใยมีสีขาว ผิวเรียบ มีความแข็งแรง ทนทานต่อการขัดถูได้ดีไม่ว่าอยู่ในสภาพแห้งหรือเปียก มีความยืดหยุ่นปานกลาง ความสามารถในการดูดซึมความชื้นต่ำ ทำให้ผลิตภัณฑ์แห้งเร็ว รวมถึงมีค่าการคืนตัวจากแรงอัดอยู่ในระดับดี ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ไม่ยับง่าย
              (2) สมบัติทางเคมี ทนทานต่อสารฟอกขาวทุกชนิด ทนต่อกรดอ่อนได้ดี แต่ละลายในกรดกำมะถันเข้มข้นและร้อน ไม่ทนต่อด่างแก่ นอกจากนี้ยังทนทานต่อราและแมลง รวมถึงแสงแดดได้ดี 
              (3) การใช้ประโยชน์ นิยมนำมาใช้ตัดเสื้อผ้าได้ทุกชนิด ทุกแบบ โดยเฉพาะที่ต้องการไม่ให้ยับง่าย หรืออัดจีบถาวร ใช้ทำผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าคลุมเตียง ผ้าม่าน เครื่องตกแต่งภายในต่างๆ ที่ทำด้วยผ้า เชือก เส้นด้าย ใบเรือ อวน ผ้าหุ้มสายไฟ 
                                                                             
(ที่มา : http://www.neutron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=1695)

 

       2. เส้นใยพอลิเอไมด์ (Polyamide) หรือชื่อทางการค้าคือ ไนลอน (Nylon) จัดเป็นเส้นใยสังเคราะห์ชนิดแรกของโลกที่ถูกค้นพบ ซึ่งไนลอนเป็นพอลิเมอร์แบบกึ่งผลึก (Semi-crystalline) มีหมู่เอไมด์ -(-C-O-NH-)- อยู่ในสายโซ่โมเลกุล ทำให้สามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนกับโมเลกุลอื่นๆ ได้ ปัจจุบันมีอยู่หลายชนิด แต่ที่มีความสำคัญในด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้แก่ ไนลอน 6,6 และไนลอน 6 โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ

              (1) สมบัติทางกายภาพ ลักษณะเส้นใยมีสีขาว ผิวเรียบคล้ายแท่งแก้วยาว มีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงดึงสูง ความคืนตัวดี ไม่ยับง่าย ความสามารถในการดูดซึมความชื้นต่ำ มีความเหนียว ทนทานต่อการสึกหรอ  
              (2) สมบัติทางเคมี ทนทานต่อสารละลายอินทรีย์ได้ดี สามารถซักแห้งได้ ทนทานต่อราและแมลง รวมถึงแสงแดดได้ดี
              (3) การใช้ประโยชน์ นิยมนำมาใช้ผลิตเป็นเสื้อผ้าและของใช้อื่นๆ โดยที่ใช้ผลิตเป็นเสื้อผ้า ได้แก่ เสื้อผ้าชั้นในสตรี ถุงเท้า ถุงน่อง เสื้อผ้านักกีฬา เสื้อผ้าเหล่านี้จะใช้ผ้าไนลอนถัก ชุดว่ายน้ำ เสื้อกันลม เสื้อกันฝน ชุดเล่นสกี แจ็คเกตกันหนาว อุปกรณ์การออกแคมป์ เช่น ผ้าใช้ทำเต็นท์ กระเป๋า ถุงนอน เชือก และประโยชน์จากไนลอนที่ใข้ผลิตเป็นของใช้อื่นๆ ได้แก่ เครื่องตกแต่งบ้าน หรือที่อยู่อาศัย เช่น พรมปูพื้น ผ้าบุเก้าอี้ อีกทั้งยังสามารถนำมาเป็นผลิตร่ม ร่มชูชีพ และใบเรือ
 
                                                                              
 
                                      (ที่มา : http://aowfabric.com/blog/textile-fibres/)                                         (ที่มา : https://thai.alibaba.com/promotion/promotion_
                                                                                                                                                                    nylon-sock-promotion-list.html)
 
       3. เส้นใยอะคริลิก (Acrylic) เป็นเส้นใยที่ผลิตจากโคพอลิเมอร์ (Copolymer) เกิดจากการสังเคราะห์อะคริโลไนไตรล์ (Acrylonitrile) เป็นส่วนใหญ่กับมอนอเมอร์ชนิดอื่นๆ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ซึ่งเส้นใยอะคริลิกที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและนิยมนำใช้งาน ได้แก่ Orlon Acrilan และ Creslan เนื่องจากมีคุณสมบัติดีเหมาะสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์หลายประการ คือ
              (1) สมบัติทางกายภาพ ลักษณะเส้นใยมีสีขาว มีความแข็งแรงปานกลาง การคืนตัวจากแรงอัดอยู่ในระดับดี ทำให้ไม่ยับง่าย รวมถึงมีความยืดหยุ่น และความสามารถในการดูดซึมความชื้นค่อนข้างต่ำ
              (2) สมบัติทางเคมี ทนทานต่อกรดได้แทบทุกชนิด ทนทานต่อสารละลายอินทรีย์ได้ดี สามารถซักแห้งได้ ใช้กับสารซักฟอกได้ทุกชนิด รวมถึงทนทานต่อราและแมลง แสงแดด และเหงื่อได้ดี
              (3) การใช้ประโยชน์ เส้นใยอะคริลิกสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เนื่องจากเป็นเส้นใยที่มีความอ่อนนุ่น พองฟู น้ำหนักเบา มีการทิ้งตัวดี ดูแลรักษาง่าย สวยงามคล้ายขนสัตว์ การใช้งานส่วนใหญ่โดยเฉพาะเส้นใยสั้นมักนำมาใช้แทนขนสัตว์ธรรมชาติ  เช่น ผ้าขนสัตว์เทียม เสื้อสเวตเตอร์ เสื้อโค้ท ซึ่งมีราคาถูกและช่วยแก้ปัญหาการแพ้ขนสัตว์ได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ผลิตเสื้อสูทชายหญิง ผ้าห่ม พรม ม่าน ผ้าใบ 
 
 
                                                                         
 
               (ที่มา : https://www.ulsliving.com/how-to-choose-the-right-upholstery-fabric/)                 (ที่มา : https://th.carolchanning.net/dom-i-semya/
                                                                                                                                             /23102-kover-iz-akrila-plyusy-i-minusy-otzyvy.html)
 
       ทั้งนี้ เส้นใยสังเคราะห์ผลิตขึ้นเพื่อนำมาใช้ทดแทนเส้นใยจากธรรมชาติ (Natural fibers) เนื่องจากมีคุณสมบัติบางประการโดดเด่นกว่าเส้นใยจากธรรมชาติ ทั้งทนทานต่อจุลินทรีย์ เชื้อรา และแบคทีเรีย ทนทานต่อการซักล้าง ไม่ยับง่าย มีความยืดหยุ่นดี รวมถึงสามารถปรับปรุงสมบัติได้หลากหลาย ทำให้นำมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งช่วยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี 
 
เอกสารอ้างอิง
ดรรชนี  พันธวรากร. เอกสารประกอบการสอนเทคโนโลยีสิ่งทอ (Textile technology).  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 11 มกราคม 2562].  
       เข้าถึงจาก : http://www.inc.science.cmu.ac.th/thai/upload/article/file/12-11-05-37a74.pdf
บุญรักษ์  กาญจนวรวณิชย์. ไนลอน (Nylon).  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 11 มกราคม 2562].  
       เข้าถึงจาก : http://www.electron.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=1096&Itemid=4
วีระศักดิ์  อุดมกิจเดชา. พอลิเอสเตอร์ (Polyester) และ อะคริลิก (Acrylic). วิทยาศาสตร์เส้นใย
       กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543,  หน้า 189-211.