ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

          28 มิถุนายน  2559   ดร. สุทธิเวช ต.แสงจันทร์   อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “สร้างคุณภาพสินค้า OTOP เพื่อรายได้ที่ยั่งยืน” กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมี    ดร. ณัชนพงศ์  วชิรวงศ์บุรี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ  กล่าวรายงานการจัดงาน และ นายสุรชัย วัฒนอุดมชัย ปลัดจังหวัดขอนแก่น ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ  โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้แก่ ผู้ประกอบการ OTOP จากกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ประมาณ 300 คน ณ โรงแรมเซ็นทาราคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น

          ดร. สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการมุ่งเน้นขับเคลื่อนโดยนำผลงานวิจัยของกรมมาถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP ต่อเนื่อง มีแนวทางการดำเนินงาน โดยบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ  การแก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพการผลิต สินค้า OTOP ทั้งกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม  กลุ่มของใช้ของตกแต่งของที่ระลึก กลุ่มสมุนไพรไม่ใช่อาหาร  กลุ่มผ้าและสิ่งทอ   เน้นการถ่ายทอด เทคโนโลยี เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ คาดหวังให้เกิดการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการจะได้รับการติดตามการพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง จนถึงการส่งเสริมให้เข้าสู่กระบวนการส่งสินค้าเพื่อขอการรับรองให้ได้คุณภาพ

          สินค้า OTOP ในแต่ละภาคจะมีความหลากหลาย มีเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่โดดเด่นแตกต่างกันไป การลงพื้นที่เพื่อนำ เทคโนโลยีลงไปสนับสนุนการแก้ปัญหา พัฒนาคุณภาพการผลิตให้ได้มาตรฐาน  กรมวิทยาศาสตร์บริการให้ ความสำคัญร่วมมือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ตรงตามความต้องการและสอดคล้องตามยุทธศาสตร์เป้าหมายของจังหวัด โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  สินค้า OTOP กลุ่มผ้าและสิ่งทอ หนึ่งในหัตถกรรมพื้นบ้านที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ส่วนใหญ่จะใช้ทั้งสีสังเคราะห์และสีธรรมชาติ  ซึ่งมีผู้ผลิตผ้าทอชุมชนหลายรายที่ยังไม่สามารถขอการรับรองตามมาตรฐาน  มผช. จึงเร่งนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอยู่ มาช่วยแก้ปัญหากระบวนการผลิตสินค้าผ้าทอชุมชน  มีการส่งเสริมความรู้ผู้ประกอบการชุมชนในเรื่องความคงทนของสี ต่อการซัก การเปลี่ยนแปลงขนาดภายหลังการซักและทำให้แห้ง  การเลือกใช้สีย้อมที่ได้มาตรฐาน การเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับการย้อมเส้นด้ายที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนทางวิชาการในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ความรู้เทคโนโลยีการยืดอายุการเก็บรักษา การดูแลอุปกรณ์การผลิต  

          ทั้งนี้ ผู้ประกอบการในพื้นที่ ที่เข้าร่วมการจัดสัมมนาครั้งนี้ จะได้นำความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์พร้อมเข้าสู่กระบวนการขอรับการรับรองมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. นอกจากนี้ภายในงานสัมมนาฯ ยังได้จัดนิทรรศการแสดงให้เห็นภาพรวมการสนับสนุนการพัฒนาสินค้า OTOP ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ด้วย เพื่อให้เป็นช่องทางหนึ่งที่ผู้ประกอบการ OTOP จะได้มีความเข้าใจและสามารถเข้าถึงการให้บริการได้ตรงตามความต้องการ อีกทั้งยังเปิด โอกาสให้กลุ่มผู้ประกอบการนำสินค้าร่วมจัดจำหน่ายภายในงานด้วย

 

------------------------------------------------------------------------------------

Credit : ข่าว : จิตลดา คณีกุล ภาพ: คุณวุฒิ ลี่แตง ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์บริการ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี