
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
![]() |
ชื่อเรียกท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า ฝางเสน ฝางส้ม ง้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ภาค เหนือ เรียกว่า หนามโค้ง (แพร่) ฟอ (กระ เหรี่ยง-เชียงราย)
|
ลักษณะ : ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นและกิ่งมีหนามโค้งสั้นๆ และแข็ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองสั้น เรียงสลับกัน มีใบย่อรูปขอบขนานติดตรงข้ามกัน ปลายใบมนและหยักเว้าตรงกึ่งกลางผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้านขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ ที่ซอกใบตอนปลายกิ่งมีสีเหลือง ผิวและขอบกลีบ ผลเป็นฝักแบนแข็งส่วนที่ค่อนมาทางโคนฝักจะสอบเอียงเล็กน้อย รูปสี่เหลี่ยม ด้านปลายฝักผายกว้างเป็นจงอยแหลมที่มุมด้านนอกแต่ละฝักจะมีเมล็ดรูปรี 2-4 เมล็ด ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด | |
ส่วนให้สี : แก่นต้น |
การย้อมสีเส้นไหม เส้นฝ้าย โดยใช้ไม้ฝางแดง มีวิธีดังต่อไปนี้ | |
1) ชั่งไม้ฝางแดงที่ผ่าเป็นซีกเล็กๆ ประมาณ 3 กิโลกรัม ใส่ลงในกะละมังสแตนเลส เติมน้ำ 20 ลิตร แล้วแช่ค้างคืนไว้ |
![]() |
2) นำกะละมังสแตนเลสที่แช่ไม้ ไปต้มไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง เพื่อให้สีที่อยู่ในฝางแดงละลายออกมาให้มากที่สุด ใช้กระชอนตักไม้ออก แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นนำน้ำสีที่กรองได้ไปตั้งไฟให้เดือด เติมสารส้ม 50 กรัม เพื่อให้เม็ดสีจับตัวกัน
กรองด้วยผ้าขาวบาง
เติมสารส้มให้เกิดเม็ดสี |
|
3) ระหว่างรอน้ำสีให้แช่เส้นไหมหรือเส้นฝ้ายที่คล้องด้วยห่วงเชือกฟางในน้ำที่ผสมสารส้มเจือจาง 25 กรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร ประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ติดสีดีขึ้น และเส้นไหมมีความมันวาวขึ้น
|
|
4) นำเส้นไหมหรือเส้นฝ้ายที่แช่น้ำผสมสารส้มเจือจางบิดให้หมาด แล้วดึงใจเส้นไหมหรือเส้นฝ้ายด้วยแขน ทั้งสองข้างเพื่อเป็นการคลี่เส้นด้ายออก ไม่ให้กระจุกตัวติดกัน |
![]() |
5) หย่อนเส้นไหมหรือเส้นฝ้ายลงในน้ำสีโดยจับห่วงเชือกฟาง และต้มทิ้งไว้ประมาณ 30 –45 นาที โดยทำการกวนเส้นไหมหรือเส้นฝ้ายตลอด เพื่อให้สีติดอย่างสม่ำเสมอ ![]() ![]() ![]() หย่อนเส้นไหมหรือเส้นฝ้ายลงในน้ำสีโดยจับห่วงเชือกฟางและต้มทิ้งไว้ |
|
6) เมื่อครบเวลานำเส้นไหมหรือเส้นฝ้ายไปทุบด้วยกระบวยที่ใช้กวนสี หรืออาจใส่ถุงมือแล้วใช้มือขย้ำ เพื่อให้สีติดอย่างทั่วถึง แล้วนำเส้นไหมมาบีบน้ำสีออก กระตุกให้เส้นไหมตรง ตากจนแห้ง แล้วนำเส้นไหมไปล้างด้วยน้ำสะอาด โดยวิธีการล้างคือล้างจนกว่าน้ำที่ล้างไม่มีสีหลุดออกมา จากนั้นกระตุกให้เส้นไหมตรง ตากจนแห้ง เส้นใยที่ย้อมได้เป็นสีแดงชมพู
ทุบด้วยกระบวนที่ใช้กวนสี เพื่อให้สีติดทั่วถึง อาจใส่ถุงมือแล้วใช้มือขย้ำ
บีบน้ำสีออก กระตุกให้เส้นนไหมตรง ตากจนแห้ง |
|
7) ถ้าต้องการสีบานเย็น เมื่อครบเวลาที่ต้มเส้นไหม (1.5) นำเส้นไหมหรือเส้นฝ้ายมาบีบน้ำสีออก แล้วนำไปจุ่มในน้ำปูนใส (1 กำมือ/น้ำ ครึ่งถัง) จะได้สีบานเย็น
เส้นไหมที่ย้อมด้วยฝางจุ่มในน้ำปูนเพื่อให้ได้เป็นสีบานเย็น
เส้นไหมที่ย้อมด้วยฝาง เมื่อจุ๋มน้ำปูนจะให้สีบานเย็น |
- < เข (Khe)