ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

       สบู่ (soap) จัดเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดประเภทหนึ่งที่ใช้ชำระล้างขจัดคราบสิ่งสกปรก ในอดีตสบู่ไม่ได้ถูกใช้สำหรับการทำความสะอาดร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่ใช้สำหรับสระผม ซักผ้า ล้างจาน และทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ต่อมามีการค้นพบสารซักฟอก (detergent) ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติในการขจัดคราบสิ่งสกปรกที่ดีกว่าสบู่ สบู่จึงมีบทบาทลดลงเหลือเพียงใช้สำหรับทำความสะอาดร่างกาย 

ที่มา : https://www.siamchemi.com/สบู่/
 
       สบู่คือกรดเกลือของไขมันที่เกิดจากปฏิกิริยาซาพอนิฟิเคชัน (saponification) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาระหว่างไขมันหรือน้ำมัน (ไทรกลีเซอไรด์) ที่ได้จากพืชหรือสัตว์กับสารละลายด่างในอุณหภูมิที่เหมาะสม ทำให้เกิดสบู่และมีผลพลอยได้เป็นกลีเซอรีนหรือกลีเซอรอล ซึ่งเป็นสารให้ความชุ่มชื้นต่อผิวอีกด้วย
 
ที่มา : https://krukoongchemistry.wordpress.com/ปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชั/
ภาพ ปฏิกิริยา saponification ระหว่างไขมันหรือน้ำมันทำให้เกิดสบู่และกลีเซอรีน
 
ลักษณะของสบู่ขึ้นอยู่กับไขมันหรือน้ำมันที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสบู่ ซึ่งสบู่ที่ได้จากไขมันต่างชนิดกัน  มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน เช่น
- สบู่ที่ทำจากน้ำมันมะพร้าวจะมีเนื้อแข็ง ทำความสะอาดได้ดี มีฟองมาก แต่มีข้อเสียคือ เหม็นหืนง่าย เก็บไว้ได้ไม่นาน
- สบู่ที่ทำจากน้ำมันปาล์มจะมีเนื้อแข็ง (แข็งน้อยกว่าสบู่ที่ทำจากน้ำมันมะพร้าว) มีสีขาวอมเหลือง ชำระล้างได้ดี ซึ่งข้อเสียคือมีฟองน้อย แต่ฟองอยู่ได้นาน
- สบู่ที่ทำจากน้ำมันมะกอกมีข้อดีคือ มีฟองนุ่มนวลเป็นครีม มีส่วนประกอบของวิตามินอี จึงช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง เก็บไว้ได้นาน ไม่เหม็นหืนง่าย แต่ข้อเสียคือสบู่ไม่ค่อยแข็งตัว หรือแข็งตัวช้า มีสีออกเหลือง และน้ำมันมะกอกมีราคาแพงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
 
       นอกจากสมบัติของสบู่จะขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันที่ใช้แล้ว ในกระบวนการผลิตสบู่สามารถเติมส่วนผสมอื่นๆ เพื่อเพิ่มชนิดและคุณสมบัติให้สบู่ได้ เช่น กลีเซอรีน ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและปกป้องผิว นมแพะ ทำให้สบู่มีความนุ่มนวล มีฟองครีมมาก หรือน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากสมุนไพรและต้นไม้นานาชนิด มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้กับสบู่อีกด้วย ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง สบู่ธรรมชาติ ได้จากเอกสารภายในสำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยสามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติในเว็บไซต์ http://siweb.dss.go.th/ จากคำสืบค้น คือ
 
- สบู่ (http://library.dss.go.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?q=สบู่)
- สบู่ธรรมชาติ (http://library.dss.go.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?q=สบู่ธรรมชาติ)
 
 
 
 

เอกสารอ้างอิง

คมสัน หุตะแพทย์,“สะอาดและสวยด้วยสบู่ธรรมชาติ,” วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ.1 (2543) : 12-17.

คมสัน หุตะแพทย์. สะอาดและสวยด้วยสบู่ธรรมชาติ. สบู่ธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : เกษตรกรรมธรรมชาติ, 2548, หน้า 7-20.