ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

การปลูกกล้วยเพื่อเป็นการค้าในประเทศไทย

แหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญ

                ปัจจุบันกล้วยที่นิยมปลูกเพื่อเป็นการค้าในประเทศไทย มีอยู่ 3 ชนิด คือ กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และ  กล้วยหอม โดยกล้วยแต่ละชนิดจะมีแหล่งปลูกที่สำคัญ ดังนี้

                (1) กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย (ภาพที่ 10)สามารถทนทานสภาพดินฟ้าอากาศได้ดีกว่ากล้วยพันธุ์อื่นๆ การดูแลรักษาง่าย และการใช้ประโยชน์จากผล ต้น ใบ ดอก มากกว่ากล้วยชนิดอื่น ลำต้นสูงปานกลาง เมื่อสุกรสชาติหวาน เนื้อแน่น สีเหลืองอ่อน สามารถจำแนกเป็นพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ กล้วยน้ำว้าแดง กล้วยน้ำว้าขาว กล้วยน้ำว้าเหลือง และกล้วยน้ำว้าค่อม โดยแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของกล้วยน้ำว้า คือ

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเลย นครราชสีมา
  • ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี อ่างทอง นนทบุรี ประจวบคีรีขันธ์
  • ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร เชียงใหม่ สุโขทัย แม่ฮ่องสอน
  • ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา

          

(ที่มา : https://www.technologychaoban.com/news_detail.php?tnid=684)

ภาพที่ 10กล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยที่นิยมปลูกกันทั่วทุกภาคของประเทศไทย

                  (2) กล้วยไข่ เป็นกล้วยที่มีการปลูกกันทั่วไปเกือบทุกภาคของประเทศ (ภาพที่ 11)มีลักษณะลำต้นสูงบาง สีใบและก้านใบสีเหลืองอ่อนไม่มีนวล กาบใบมีสีน้ำตาลหรือสีช็อคโกแลต เครือเล็ก ผลมีขนาดเล็กเปลือกบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองเข้ม เนื้อแน่น รสหวาน เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม โดยแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของกล้วยไข่ คือ

  • ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย
  • ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ระยอง
  • ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี กาญจนบุรี

                                         

 

(ที่มา : http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1441855587)

ภาพที่ 11แหล่งปลูกกล้วยไข่ที่สำคัญของประเทศไทย คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง

                  (3) กล้วยหอม เป็นกล้วยที่มีการปลูกทั่วทุกภาคของประเทศ (ภาพที่ 12) ทั้งพันธุ์กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว และกล้วยหอมค่อม มีลักษณะลำต้นใหญ่แข็งแรง ผลยาวเรียว เปลือกหนา  เมื่อสุกเนื้อมีรสชาติหอมหวาน โดยแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของกล้วยหอม คือ

  • ภาตใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี
  • ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี สระบุรี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี
  • ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดหนองคาย

                                 

(ที่มา : http://bighealthyplant.com/กล้วย-การปลูกกล้วย/กล้วยหอมทอง)

ภาพที่ 12แหล่งปลูกกล้วยหอมที่สำคัญของประเทศไทย คือ ภาคกลาง

ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี 

สถานการณ์การการผลิตกล้วย

                (1) กล้วยน้ำว้า ปี พ.ศ. 2552-2557 ประเทศไทยมีพื้นที่ให้ผลผลิตกล้วยน้ำว้าอยู่ระหว่าง 82,265-201,096 ไร่ ผลผลิตอยู่ระหว่าง 156,367-1,150,397 ตัน ในปี พ.ศ. 2557 พื้นที่ให้ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 173,435 ไร่ ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 1,150,397 ตัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2556 พบว่า พื้นที่ให้ผลผลิตกล้วยน้ำว้าลดลงร้อยละ 85.20 และผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.72 (ตารางที่ 2)

                (2) กล้วยไข่ ปี พ.ศ. 2552-2557 ประเทศไทยมีพื้นที่ให้ผลผลิตกล้วยไข่อยู่ระหว่าง 2,524-232,329 ไร่ ผลผลิตอยู่ระหว่าง 7,619-149,574 ตัน ในปี พ.ศ. 2557 พื้นที่ให้ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 34,019 ไร่ ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 149,574 ตัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2556 พบว่า พื้นที่ให้ผลผลิตกล้วยไข่ลดลงร้อยละ 99.85 และผลผลิตลดลงร้อยละ 98.81 (ตารางที่ 2)

                (3) กล้วยหอม ปี พ.ศ. 2552-2557 ประเทศไทยมีพื้นที่ให้ผลผลิตกล้วยหอมอยู่ระหว่าง 4,501-206,076 ไร่ ผลผลิตอยู่ระหว่าง 17,548-214,213 ตัน ในปี พ.ศ. 2557 พื้นที่ให้ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 33,330 ไร่ ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 214,213 ตัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2556 พบว่า พื้นที่ให้ผลผลิตกล้วยหอมลดลงร้อยละ 83.25 และผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.36 (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2แสดงพื้นที่ให้ผลผลิตและผลผลิตของกล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และกล้วยหอม ปี พ.ศ. 2552-2557

ปี

กล้วยน้ำว้า

กล้วยไข่

กล้วยหอม

พื้นที่ให้ผลผลิต

(ไร่)

ผลผลิต

(ตัน)

พื้นที่ให้ผลผลิต

(ไร่)

ผลผลิต

(ตัน)

พื้นที่ให้ผลผลิต

(ไร่)

ผลผลิต

(ตัน)

2552

82,265

156,367

2,524

7,619

4,501

17,548

2553

201,096

789,629

33,376

83,735

24,964

97,954

2554

192,711

770,005

28,091

118,360

25,468

129,991

2555

177,867

712,568

214,507

130,585

206,076

177,305

2556

195,944

773,964

232,329

125,718

199,002

180,977

2557

173,435

1,150,397

34,019

149,574

33,330

214,213

 

                                              (ที่มา : กรมวิชาการเกษตร, 2559)

กล้วยที่ปลูกได้ส่วนใหญ่จะใช้บริโภคภายในประเทศ ทั้งการบริโภคสดในลักษณะของผลไม้ และ    การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากกล้วยชนิดต่างๆ โดยการแปรรูปมักอยู่ในลักษณะของสินค้า OTOP ประจำท้องถิ่น ผลิตขายในรูปของของฝาก หรือซื้อไปทานเล่น เช่น กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยอบ เป็นต้น

การส่งออกกล้วย

                การค้ากล้วยในตลาดโลกมีประมาณ 8.8 ล้านตัน มูลค่าเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ประเทศส่งออกกล้วยรายใหญ่ของโลก ได้แก่ ประเทศเอกวาดอร์ เบลเยียม คอสตาริกา โคลัมเบีย เยอรมนี และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยกล้วยที่ปลูกได้ส่วนใหญ่จะใช้บริโภคภายในประเทศ ส่วน         การส่งออกกล้วยและผลิตภัณฑ์จากกล้วยยังมีมูลค่าไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ปัจจุบันจึงมี  การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกล้วยเพื่อการส่งออกมากขึ้น โดยกล้วยและผลิตภัณฑ์จากกล้วยเพื่อการส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย มีดังนี้

                (1) กล้วยสดแช่เย็น มีปริมาณการส่งออกมากที่สุดในบรรดากล้วยและผลิตภัณฑ์จากกล้วยทั้งหมด กล้วยที่ส่งออกในลักษณะของกล้วยสดแช่เย็น ได้แก่

  • กล้วยหอม ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ  ประเทศญี่ปุ่น และจีน
  • กล้วยไข่ ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ประเทศจีน และฮ่องกง
  • กล้วยน้ำว้า ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ประเทศจีน และฮ่องกง

(2) ผลิตภัณฑ์จากกล้วย มีการส่งออกหลายประเภท ได้แก่

  • §กล้วยแปรรูปอย่างง่าย เช่น กล้วยอบแห้ง กล้วยฉาบน้ำตาล เป็นต้น ซึ่งมีการควบคุมคุณภาพและความสะอาดในการผลิตเป็นอย่างดี เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐาน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น
  • กล้วยแปรรูปบรรจุกระป๋อง ส่วนใหญ่วัตถุดิบที่นำมาใช้แปรรูป คือ กล้วยน้ำว้า และกล้วยไข่สุก นำมาปอกเปลือก ฝานบาง ๆ แล้วแช่ลงในน้ำเชื่อม นำไปบรรจุกระป๋อง โดยในปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยสามารถส่งออกกล้วยแปรรูปบรรจุกระป๋องได้ทั้งหมด 87.4 ตัน มูลค่า 3.9 ล้านบาท ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส