
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
คำฝอย
ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carthamus tinctorius L. จัดอยู่ในวงศ์ COMPOSITAE ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกันกับเก๊กฮวย
ชื่อท้องถิ่น คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ง (ลำปาง), คำ คำฝอย ดอกคำ (ภาคเหนือ), หงฮัว (จีน), ดอกคำฝอย คำทอง เป็นต้น สมุนไพรไทยดอกคำฝอยมีถิ่นกำเนิดในตะวันออกกลาง ในประเทศไทยบ้านเรามีแหล่งผลิตดอกคำฝอยที่สำคัญอยู่ทางภาคเหนือ เพาะปลูกกันมากในอำเภอพร้าว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น :- | |
เป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 40-130 เซนติเมตร มีลำต้นเป็นสันเกลี้ยง แตกกิ่งก้านมาก เป็นพืชที่มีอายุสั้นทนแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีการระบายน้ำได้ดี โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกจะอยู่ระหว่าง 5-15 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมในช่วงออกดอกคือ 24-32 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาการปลูกประมาณ 80-120 วันจนเก็บเกี่ยว | |
ใบ :- | |
เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหรือรูปขอบขนาน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ใบมีความกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-12 เซนติเมตร |
![]() |
ดอก :- | |
ดอกรวมกันเป็นช่ออัดแน่นบนฐานดอกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกคำฝอยมีลักษณะกลมคล้ายดอกดาวเรือง เมื่อดอกคำฝอยบานใหม่ๆ จะมีกลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีส้ม เมื่อแก่จัดดอกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ที่ดอกมีใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอกอยู่ |
![]() |
ผล :- | |
เป็นผลแห้งไม่แตกมีรูปคล้ายไข่กลับ เบี้ยวๆ ขนาดผลยาว 0.6 - 0.8 เซนติเมตร สีขาวงาช้างปลายตัดมีสัน 4 สัน มีเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ขนาดเล็ก |
![]() |
ส่วนที่ให้สี :- | |
คือ ดอก | |
สีที่ได้ :- | |
สีแดง | |
วิธีการย้อมสี :- | |
ข่า
ชื่อสามัญ Galanga, Greater Galangal, False Galangal
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia galanga (L.) Willd.
วงศ์ ZINGIBERACEAE เช่นเดียวกับกระชาย กระชายดำ กระชายแดง กระวาน กระวานเทศ ขิง ขมิ้น เร่ว เปราะป่า เปราะหอม ว่านนางคำ และว่านรากราคะ
ชื่อท้องถิ่นอื่น สะเอเชย เสะเออเคย (แม่ฮ่องสอน), ข่า ข่าใหญ่ ข่าหลวง ข่าตาแดง ข่าลิง ข่าหยวก (ภาคเหนือ), ข่าหลวง (ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กฎุกกโรหินี (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น :- | |
ลำต้นสูงประมาณ 1.5 - 2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดิน (เหง้า) เป็นพืชล้มลุก |
![]() |
ใบ :- | |
เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนานกว้าง 7 - 9 เซนติเมตร ยาว 20 - 40 เซนติเมตร | |
ดอก :- | |
ออกเป็นช่อ ซึ่งจะออกที่ยอดดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอด สั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลับใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดงใบประดับรูปไข่ |
|
ผล :- | |
มีลักษณะกลมโต ขนาดเท่าเม็ดบัวเมื่อแก่จะมีสีดำและเม็ดเล็กๆ อยู่ภายในมีรสขมเผ็ดร้อน |
|
ส่วนที่ให้สี :- | |
คือ ราก |
|
สีที่ได้ :- | |
สีแดง | |
วิธีการย้อมสี :- | |
นนทรี
ชื่อสามัญ Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum pterocarpum (DC.) Backer ex K.Heyne
วงศ์ LEGUMINOSAE (FABACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE เช่นเดียวกับอะราง (นนทรีป่า)
ชื่อท้องถิ่น สารเงิน (แม่ฮ่องสอน), กระถินป่า กระถินแดง (ตราด), นนทรีบ้าน เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :- | |
เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมไปถึงประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยจนไปถึงประเทศฟิลิปปินส์ และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงเรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงกลมกลายๆ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีดำ เปลือกค่อนข้างเรียบ และอาจแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ส่วนกิ่งแก่เกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดเต็มวัน เป็นต้นไม้ที่มักผลัดใบเมื่อมีอากาศแห้งแล้ง ชอบขึ้นตามป่าชายหาด |
![]() |
ใบ :- | |
นนทรี ใบออกเป็นช่อเรียงสลับเวียนกันถี่ๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงเวียนสลับหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งยาวประมาณ 20-27 เซนติเมตร มีใบย่อยที่ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ประมาณ 9-13 คู่ แขนงบ่อยคู่ต้นๆ จะสั้นกว่าคู่ถัดไป และคู่ที่อยู่ปลายช่อก็จะสั้นเช่นกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรหลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีเขียวอ่อน |
![]() |
ดอก :- | |
ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งขึ้น โดยจะออกตามง่ามใบหรือที่ปลายกิ่ง มีกิ่งแขนงในช่อดอก ช่อดอกมีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีเหลืองสด กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกมีลักษณะบางและค่อนข้างยับย่น โคนกลีบมีขนสีน้ำตาลอยู่ประปราย ดอกเมื่อบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 1.6-1.8 เซนติเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบวางเกยทับกัน ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 10 อัน โดยทั่วไปจะเริ่มออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม และออกดอกทั้งต้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม แต่อาจขยายเวลาได้ตามลักษณะของดินฟ้าอากาศในแต่ละปี และลักษณะของพันธุกรรมของต้นนนทรีแต่ละต้น |
![]() |
ผล :- | |
เนื่องจากต้นนนทรีเป็นพืชในตระกูลถั่ว จึงออกผลเป็นฝัก ฝักมีลักษณะแบนเป็นรูปหอก ปลายฝักและโคนฝักเรียวแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ฝักสดเป็นสีเขียวพอแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ดวางตัวเรียงขวางกับฝัก ประมาณ 1-4 เมล็ด เมล็ดมีความแข็งแรงมีรูปร่างและขนาดเท่าใบย่อย โดยฝักจะแก่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน |
|
|
|
ส่วนที่ให้สี :- | |
คือ เปลือก | |
สีที่ได้ :- | |
สีชมพูแดง, แดงน้ำตาล | |
วิธีการย้อมสี :- | |
มะพร้าว
ชื่อสามัญ Coconut
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cocos nucifera L.
วงศ์ ARECACEAE หรือในชื่อเดิมคือ PALMAE เช่นเดียวกับตาล ตาว จาก ลาน และหวาย
ชื่อท้องถิ่น ดุง (จันทบุรี), โพล (กาญจนบุรี), คอส่า (แม่ฮ่องสอน), เอี่ยจี้ (จีน) หรือทั่วไปเรียก “หมากอุ๋น” “หมากอูน”
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :- | |
เป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่มีลำต้นกลม ตั้งตรง สูงชะลูด จะไม่แตกกิ่งก้านสาขา ขนาดของลำต้นมีความสูงประมาณ 20- |
![]() |
ใบ :- | |
ลักษณะของใบออกเป็นใบรวม เป็นใบประกอบ มีใบย่อยเรียงสลับกันแบบขนนก ออกเรียงเวียน รูปพัดจีบ ขนาดใบย่อยยาวประมาณ 2- |
|
ดอก :- | |
ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ไม่มีก้านดอก |
|
ผล :- | |
ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม หรือรูปรี มีขนาดยาวประมาณ 8-14 นิ้วเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 8-9.5 นิ้วเปลือกนอกเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลแก่ก็จะสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในจะแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลมีสีขาวนุ่ม และภายในมีน้ำใสมีรสจืด หรือบางทีก็จะมีรสหวาน |
|
ส่วนที่ให้สี :- | |
คือ กาบมะพร้าวแห้ง |
|
สีที่ได้ :- | |
สีน้ำตาลแดง | |
วิธีการย้อมสี :- | |
มังคุด
ชื่อสามัญ : Mangosteen
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia mangostana Linn.
วงศ์ : CLUSIACEAE (GUTTIFERAE) เช่นเดียวกับกระทิง ติ้วเกลี้ยง ติ้วขน ชะมวง บุนนาค มะดัน มะพูด รงทอง ส้มแขก และสารภี
ชื่อท้องถิ่น : แมงคุด มังคุด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์.-
ต้น :- | |
ลำต้นตรง เปลือกภายนอกมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ภาคในเปลือกประกอบไปด้วยท่อน้ำยางมีลักษณะสีเหลือง |
![]() |
ใบ :- | |
ใบมีรูปยาว หนา มีความยาวประมาณ 9-25 ซม. กว้างประมาณ 4.5-10 ซม. ด้านบนมีลักษณะเป็นมันสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างสีเขียวปนเหลือง แผ่นใบโค้งเล็กน้อย มีตาข้างอยู่บริเวณซอกใบ และมีตายอดอยู่บริเวณซอกใบคู่สุดท้าย |
![]() |
ดอก :- | |
เป็นแบบเดี่ยวและบางสภาพอาจเป็นดอกกลุ่ม ซึ่งดอกจะปรากฎที่บริเวณปลายยอดของกิ่งแขนง ที่มีช่อดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันดอกจัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศแต่เกสรตัวผู้จะเป็นหมัน ดอกตัวผู้สีเหลืองอมแดงหรือสีม่วงแดงเข้ม ดอกมังคุดประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 4 กลีบ มีกลีบดอกค่อนข้างหนา 4 กลีบดอก เกสรอยู่ที่ฐานรอบๆ ของรังไข่ |
![]() |
ผล :- | |
เป็นแบบเบอรี่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.4-7.5 ซม. มีเปลือกหนา 6-10 ซม. เนื้อสีขาวขุ่นลักษณะของผลอ่อนเปลือกนอกจะมีสีเขียวปนเหลือง มียางสีเหลืองอยู่ภายใน ผลหนึ่งๆ จะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-6 เมล็ด เมล็ดมีความยาวประมาณ 2.5 ซม. และกว้างประมาณ 1.6 ซม.ผลหนึ่งๆ มีเมล็ด 5 - 8 เมล็ดมีรก (Arill) สีขาวหุ้มอยู่ เป็นส่วน ที่ใช้รับประทาน มีรสหวานอมเปรี้ยว |
|
ส่วนที่ให้สี :- | |
เปลือกของผล ใบ | |
สีที่ได้ :- | |
ชมพู ส้ม ม่วง เขียวขี้ม้า | |
วิธีการย้อม :- | |
|