ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

       “ไข่” ถือเป็นอาหารหลักที่หารับประทานได้ง่ายและราคาถูก เป็นอาหารที่ทุกเพศทุกวัยควรรับประทาน เนื่องจากเป็นแหล่งสารอาหารชั้นเยี่ยมที่ร่างกายของคนเราต้องการ อาจรับประทานวันละหนึ่งฟองหรืออย่างน้อย 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายได้รับคอเลสเตอรอลในแต่ละวันได้อย่างพอดี

ที่มา :  http://www.rajavithi.go.th/rj/?p=4788

 

       ในไข่ไก่ 1 ฟอง จะมีน้ำหนักประมาณ 40-60 กรัม ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ คือ เปลือกไข่ ไข่ขาว และไข่แดง ในอัตราส่วนร้อยละ 11 : 62 : 27 โดยเปลือกไข่ (Shell) มีลักษณะเป็นเปลือกแข็ง ห่อหุ้มด้านนอก หนักประมาณ 6 กรัม ส่วนไข่ขาว (White egg) มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก มีลักษณะเหลวใสหรือสีเหลืองอ่อนห่อหุ้มไข่แดง มีโปรตีนเป็นสารอาหารหลัก ประมาณร้อยละ 10 โปรตีนในไข่ขาวมีหลายชนิด เช่น  โคนัลบูมิน  โอวัลบูมิน อะวิดิน ไลโซไซม์ และสุดท้ายคือ ไข่แดง (Yolk egg) มีลักษณะเป็นทรงกลมมีส้มหรือแดงอยู่ตรงกลาง มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ   ร้อยละ 52 โปรตีนร้อยละ 14.3 ไขมันร้อยละ 30 มีส่วนของแร่ธาตุโพแทสเซียม สังกะสี และทองแดง มากกว่าไข่ขาว มีวิตามินเอและวิตามินบี2 สูง ไขมันในไข่ประกอบด้วย ไลโพรโปรตีน ไตรกลีเซอไรด์ โคเลสเตอรอล และเลซิติน    

                                                   เปลือกไข่                                                         ไข่ขาว                                                                             ไข่แดง 

                                                                                                                                  

         ที่มา : https://www.marksdailyapple.com/dear-mark    ที่มา : http://www.gangbeauty.com/topic/110129        ที่มา : http://www.indonesisch-culinair.nl/ingredient/                          egg-shell-calcium-fully-hydrogenated-oils-                                                                                               126-eidooier.html                                                                  hg-walking-gorging-and-frozen-produce/ 

 

       ซึ่งในไข่ไก่ 1ฟอง จะมีกรดอะมิโนจำเป็นทุกชนิด มีวิตามิน และเกลือแร่อีกหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9  (กรดโฟลิก) วิตามินบี12  เหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินอี  เซเรเนียม (Selenium)  ที่ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ช่วยชะลอวัย และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ  รวมทั้งยังเป็นแหล่ง DHA และ EPA ที่ช่วยป้องกันโรคสมาธิสั้นในเด็ก นอกจากนั้นไข่ไก่ยังเป็นหนึ่งในอาหารธรรมชาติไม่กี่ชนิดที่มีวิตามินดี และไข่แดงยังมีปริมาณเลซิติน และโคลีน มากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน ซึ่งเลซิติน และโคลีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกาย และสมองของมนุษย์ เช่น ช่วยเพิ่มเซลล์สมอง และพัฒนาระบบประสาทให้กับเด็ก ช่วยปรับไขมันในเลือดให้ดีขึ้นโดยเพิ่ม เอชดีแอล-คอเลสเตอรอล และลดแอลดีแอล-คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์

                                                                          

                             ที่มา : http://www.healthandtrend.com/beauty/beauty-tips/boiled           ที่มา : https://www.knorr.com/th/recipe-ideas/ไข่เจียวหมูสับ.html                                                             -egg-decrese-problem-of-hair-loss

       โดยในไข่ไก่ 1 ฟอง จะมีคอเลสเตอรอลประมาณ 250 มิลลิกรัม ซึ่งจากข้อมูลสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำว่าคนเราควรได้รับคอเลสเตอรอลเข้าสู่ร่างกายไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ร่างกายได้รับคอเลสเตอรอลจากการรับประทานไข่มากเกินไป ก็ควรรับประทานในปริมาณดังนี้

- เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ให้กินไข่แดงต้มสุกผสมกับข้าวบด ให้ครั้งแรกปริมาณน้อย ๆ แล้วค่อยเพิ่มขึ้นทีละนิด

- เด็กอายุ 7 เดือนขึ้นไปจนถึงวัยรุ่น บริโภคได้วันละ 1 ฟอง

- คนทำงาน สุขภาพปกติ ควรบริโภค 3-4 ฟองต่อสัปดาห์

- ผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ควรบริโภคไข่ 1 ฟองต่อสัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์

 

โดยการบริโภคไข่นั้นจะได้รับคุณประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

1.ไข่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี โดยไข่ 1 ฟองจะมีโปรตีนคุณภาพดี 6 กรัม และกรดอะมิโนสำคัญอีก 9 ชนิด นอกจากนี้ยังมีโอเมก้า 3 สูง ซึ่งช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรงอีกด้วย

2.ไข่อุดมไปด้วยวิตามินต่างๆ และแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามินบี วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค ซึ่งวิตามินช่วยให้กลไกต่างๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างปกติ

3.จากการศึกษาพบว่า เปปไทด์ในไข่สามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตในเลือดสูงได้

4.ผลการวิจัยพบว่า การรับประทานไข่วันละฟองอาจจะช่วยลดความเสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อมและต้อกระจกได้ เนื่องมาจากสารคาโรทีนอยด์ที่อยู่ในไข่ คือ ลูทีน (lutein) และซีแซนทีน (zeaxanthin) มีความสำคัญกับสุขภาพดวงตานั่นเอง

5.ไข่มีส่วนประกอบของ โคลีน ที่เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มสมอง ส่งผลให้สมองและระบบประสาทแข็งแรง

6.ไข่มีซัลเฟอร์สูง ทำให้เส้นผมและเล็บมีสุขภาพดี

7.กินไข่ได้วิตามินดี เพราะไข่เป็นอาหารเพียงชนิดเดียวที่เป็นแหล่งวิตามินดีตามธรรมชาติ และการบริโภคไข่เป็นประจำยังช่วยป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อน เส้นเลือดอุดตันในสมอง และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

8.ไข่เป็นแหล่งอุดมของแคลเซียม การรับประทานไข่ทุกวันยังช่วยลดความเสี่ยงมะเร็ง­เต้านม และการเกิดติ่งเนื้อเมือกในลำไส้ใหญ่อีกด้วย

9.ไข่มีวิตามินบี12 สูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และยังเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในกระบวนการแปลงโฮโมซิสเตอีน (Homocysteine) ให้กลายเป็นโมเลกุลที่ปลอดภัยต่อร่างกาย อย่างเช่น กลูต้าไธโอน เป็นต้น

10.ไข่สามารถทำอาหารได้หลากหลายทั้งคาวและหวาน เช่น ไข่ต้ม ไข่พะโล้ ไข่ดาว ไข่เจียว ยำไข่ดาว ไข่ตุ๋น ทาร์ตไข่ ฝอยทอง ทองหยอด เป็นต้น

                                                                              

                                           ที่มา : https://plus.google.com/+somsakkularbjang/                    ที่มา : http://program.thaipbs.or.th/MhoKhaoMhoGang/                                                                                   posts/3yqhWQeYe6J                                                                  episodes/31927

      ถึงแม้ว่าไข่จะมีประโยชน์มากมาย แต่การจะให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากการรับประทานอาหารมากที่สุด  ก็ควรจะต้องรับประทานอาหารให้หลากหลายและครบทั้ง 5 หมู่ และควรรับประทานแค่ในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย เพื่อสุขภาพที่ดี

 

 

เอกสารอ้างอิง

นิตยสารหมอชาวบ้าน. ว่าด้วยเรื่องของ ไข่ และประโยชน์มากมายที่ไม่ใช่แค่อิ่ม. [ออนไลน์]

       [อ้างถึงวันที่ 22มิถุนายน 2561] เข้าถึงจาก https://www.mbklife.co.th/blog/

       บทความ/บทความ-ทั่วไป/ประโยชน์ของไข่/

ประโยชน์ของไข่ กับการทานเลือกทานไข่ไก่ในมื้อเช้า. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 25มิถุนายน 2561]

       เข้าถึงจากhttps://www.honestdocs.co/egg-benefits-breakfast

ประโยชน์ของไข่ 25 ข้อดีเน้น ๆ ที่คุณต้องร้องว้าว.ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 25มิถุนายน 2561]

       เข้าถึงจากhttps://health.kapook.com/view115546.html

โรงพยาบาลราชวิถี. ไข่ไก่ กินได้ทุกวัย.[ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 22มิถุนายน 2561] เข้าถึงจาก

       http://www.rajavithi.go.th/rj/?p=4788