ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

     เนื้อหมูจัดเป็นวัตถุดิบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการนำมาประกอบอาหาร ซึ่งเนื้อหมูเป็นเนื้อที่มีส่วนต่างๆ ให้เลือกใช้ได้หลายส่วน เช่น เนื้อสันนอก เนื้อสันใน เนื้อสะโพก ฯลฯ เนื้อหมูเป็นเนื้อที่มีความอร่อยสามารถนำมาปรุงเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายประเภท

ที่มา : http://www.platooonline.com/เกร็ดความรู้/224/

       โดยเนื้อหมูแต่ละส่วนจะมีเนื้อสัมผัสที่แตกต่างกันออกไป แต่ละส่วนเองก็มีความเหมาะสมในการนำมาประกอบอาหารแตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • หัวหมู – เป็นส่วนที่จะถูกตัดมาเป็นหัวๆ ส่วนมากมักนำมาทำพะโล้เพราะมีความคาวมากซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีส่วนประกอบอื่นๆ ของหมูรวมอยู่ด้วย คือ หูหมู เป็นกระดูกอ่อนๆ เคี้ยวเพลินๆ ส่วนมากมักนำมาย่างทานกับน้ำจิ้ม และ ลิ้นหมู จะมีความเหนียวนุ่มแต่ไม่กรอบ ส่วนใหญ่ก็มักเอามาย่างเช่นกัน
  • คอหมู – เป็นส่วนที่มีไขมันแทรก มีความนุ่ม ติดมัน ส่วนมากมักนิยมนำมาทำเมนูประเภท คอหมูย่าง คอหมูทอด และน้ำตกหมู
  • สันนอก – เป็นส่วนที่เนื้อเยอะอยู่บริเวณด้านนอกลำตัว มีไขมันในระดับหนึ่งแต่ไม่มากเกินไป มีความนุ่มอยู่ในตัว ทำอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น สเต็กหมู หมูทอด หมูสะเต็ะ ฯลฯ เรียกว่าทุกเมนูเลยก็ว่าได้สำหรับส่วนนี้
  • สันใน – เป็นส่วนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดส่วนหนึ่ง เพราะเป็นส่วนที่มีความนิ่มมากๆ แต่กลับไม่มีมันเลยแม้แต่น้อย เป็นส่วนที่หมูไม่ค่อยเคลื่อนไหว สามารถนำมาทำเมนูได้หลากหลาย เช่น ทำหมูแดง หมูปิ้ง หมูย่าง    และทำสเต็กเป็นพอร์คชอปสันใน
  • หัวไหล่ – จริงๆ แล้วเป็นส่วนที่อาจไม่ค่อยคุ้นกันมากนักเนื่องจากมักเป็นส่วนที่ถูกนำไปแปรรูปเป็นอาหารต่างๆ อาทิ ไส้กรอก หมูยอ แฮม เป็นต้น เป็นเนื้อที่ไม่เหนียวแต่ก็ไมได้นุ่มมาก สามารถนำมาทำเมนูอาหารได้หลากหลายเช่นเดียวกัน
  • สะโพก – จะเป็นส่วนที่มีความเหนียวมากที่สุดของหมู เนื่องจากว่าเป็นส่วนที่อยู่ต่อขึ้นมาจากขาหลัง เป็นส่วนที่หมูใช้งานเยอะจึงทำให้เนื้อแข็งส่วนมากมักนำไปทำเมนูที่มีการต้มนานๆ อาทิ ซุป แกง เป็นต้น  

 

                      สันใน                                                                          สันนอก                                                          สันคอหมู

                                             

            ที่มา : https://www.bigc.co.th/fresh/fresh-food/         ที่มา : https://www.bigc.co.th/fresh/fresh-                        ที่มา : https://www.bigc.co.th/fresh/fresh-                                     meat/pork-entrails/0211951.html                             food/meat/pork-entrails/0211876.html                            food/meat/pork-entrails/0211879.html

 

  • ขาหน้าขาหลัง – เป็นส่วนของขาทั้งหมดยกเว้นเท้า มีไขมันเยอะมาก แต่เป็นของโปรดของหลายคนโดยเฉพาะเมนูขาหมูพะโล้
  • สามชั้น – มีไขมันเยอะมากรวมกับเนื้อที่นุ่มมีหนังอยู่ด้านนอกนิยมนำมาทำเมนูประเภท หมูสามชั้นทอด หมูกรอบ ต้มจืดใส่หมูสามชั้น หมูสามชั้นหวาน เป็นต้น
  • ซี่โครง – จะแบ่งเป็น ซี่โครงแก่จะมีความแข็ง มีเนื้อติดรอบๆ เนื้อนุ่ม มันสวย กับ ซี่โครงอ่อนที่จะเป็นกระดูกอ่อนของหมูสามารถทานได้ นิยมนำมาทำเมนูประเภท กระดูกหมูตุ๋น ซี่โครงหมูย่าง ต้มแซบซี่โครงหมู ซี่โครงหมูผัดพริกแกง ซี่โครงหมูผัดพริกเผา ซี่โครงหมูอบน้ำผึ้ง ซี่โครงหมูทอดกระเทียม เป็นต้น
  • เท้า – หรือคากิ ก็คือส่วนอุ้งเท้าของหมู เป็นเอ็นผสมมัน มักใส่ไว้กับพะโล้ไม่ก็ต้มยำ

 

                                                   หมูสามชั้นทอดน้ำปลา                                                                     ซี่โครงหมูทอด

                                                                   

                     ที่มา : http://halsat.com/หมูทอดน้ำปลา/                       ที่มา : http://www.kingsmes.com/2015/12/free-recipe-57.html

 

       วิธีการเลือกซื้อเนื้อหมูมาใช้ในการประกอบอาหารมีอยู่ด้วยกันหลากหลายส่วนซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประเภทของอาหาร ความชอบของผู้ทานว่าต้องการเนื้อหมูส่วนไหน ที่สำคัญคือความสดของเนื้อที่จะนำมาประกอบอาหารว่าถูกสุขลักษณะหรือไหม ซึ่งมีวิธีในการเลือกซื้อเนื้อหมูดังนี้

          1. สีของเนื้อหมู - เนื้อหมูที่ดีสีของเนื้อจะต้องไม่เขียว สีคล้ำ หรือรู้สึกว่ามีความช้ำอยู่ในเนื้อชิ้นนั้น เพราะถ้าหากว่าเกิดลักษณะทั้งหมดที่กล่าวมากับหมูชิ้นดังกล่าวนั่นหมายความว่าเนื้อหมูที่เลือกอาจกำลังใกล้เน่า หรือค้างคืนมาก่อนแล้ว แน่นอนว่าหากนำไปประกอบอาหารมันจะไม่ได้รสชาติอย่างที่ต้องการ สีของเนื้อหมูที่ถูกต้องจึงควรเป็นสีชมพู อีกอย่างคืออย่าเลือกหมูที่มีสีแดงจัดเพราะอาจมีการใส่สีผสมอาหารมาให้ดูสดก็เป็นได้

          2. บริเวณผิวหนังและส่วนอื่นๆ - ผิวเนื้อหมูที่ดีจะต้องมันวาว ไร้ผังผืด ส่วนของมันหมูจะต้องขาวใส มีความสะอาดไม่มีขนติดอยู่ เวลาที่เอามือสัมผัสแล้วต้องรู้สึกนิ่ม เวลาบีบลงไปเบาๆ แล้วเนื้อหมูจะต้องเด้งกลับคืนมา

         3. กลิ่นของเนื้อหมู - กลิ่นของเนื้อหมูที่สดจะต้องออกเป็นกลิ่นคาวอ่อนๆ ให้รู้สึกได้ถึงเนื้อหมู ไม่ใช่กลิ่นตุๆ เหมือนกับเนื้อหมูที่ค้างมานานใกล้จะเน่าแล้ว

         4. สังเกตดูว่าเนื้อหมูมีพยาธิหรือไม่ - พยาธิจะมีลักษณะคล้ายเม็ดสาคูแทรกอยู่ในเนื้อ  ไม่ควรซื้อมารับประทาน  ถ้ามีติดมาก็ควรตัดทิ้งและเนื้อที่เหลือควรต้มให้นานกว่าปกติเพื่อทำลายพยาธิ

         5. การเลือกซื้อหมูสามชั้น – สังเกตุบริเวณชั้นของหมูควรจะต้องบาง มันวาว ระหว่างชั้นจะต้องไม่มีผังผืดติดอยู่ ที่สำคัญควรจะต้องมีส่วนของเนื้อแทรกอยู่ด้วยไม่ใช่เป็นแต่มันๆ เพียงอย่างเดียว

         6. การเลือกซื้อหมูบด - หมูบดคือหมูที่ส่วนใหญ่ร้านหมูจะผ่านเครื่องบดมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหมูบดที่ดีจะต้องมีมันหมูขาวๆ ผสมอยู่เล็กน้อย มีความสะอาดเวลามองด้วยตาเปล่า กลิ่นไม่เหม็นตุ

                                                         สเต็กหมูย่างจิ้มแจ่ว                                                                        ข้าวราดกระเพราะหมูสับไข่ดาว

                                                                           

                                      ที่มา : http://www.chingcancook.com/steps.php?id=353   ที่มา : https://www.ifit4health.com/ 2015/07/29/ข้าวผัดกระเพรา-แคลอรี่ท/

 

       เนื้อหมูสามารถทำอะไรได้หลายอย่างและมีประโยชน์มีคุณค่าทางอาหารมาก ทั้งโปรตีน คาร์ไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน อีกทั้งยังสามารถประกอบอาหารที่แสนอร่อยได้หลายอย่าง แต่ก็ควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะและทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและมั่นออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ

 

 

เอกสารอ้างอิง

เรื่องกินเรื่องหลัก เรื่องรักค่อยคิดหลังจากกินอิ่ม กับเนื้อสัตว์ที่คนนิยมรับประทานมากที่สุด.[ออนไลน์]  

       [อ้างถึงวันที่ 24พฤษภาคม 2561] เข้าถึงจาก http://www.platooonline.com

       /เกร็ดความรู้/224/

ลักษณะที่ดีของหมูตัวและชิ้นส่วนหมู.[ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 25พฤษภาคม 2561] เข้าถึงจาก

       http://www.pitchameat.com/หมูตัวและชิ้นส่วนหมู/

วิธีเลือกเนื้อหมูยังไง ให้ได้ส่วนที่อร่อยที่สุด!!.[ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 25พฤษภาคม 2561] เข้าถึงจาก

       http://blog.moopingjaemeaw.com/archives/7