วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...
วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
ชา เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมจากใบ ยอดอ่อน และก้านของต้นชา (Camellia sinensis) นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลากหลาย "ชา" ยังหมายรวมถึงเครื่องดื่มกลิ่นหอมที่ทำจากพืชตากแห้งชนิดต่างๆ หรือที่เรียกว่า ชาสมุนไพร นำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อน ชาจึงเป็นเครื่องดื่มที่มีผู้บริโภคมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากน้ำ
ที่มา : https://health.mthai.com/howto/health-care/9253.html
ชา คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำใบ ยอด และก้านที่ยังอ่อนของต้นชาในสกุลคาเมลเลีย (camellia) นำมาแปรรูป โดยชาสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ ชาหมัก ชากึ่งหมัก และชาไม่หมัก โดยมีความหายดังต่อไปนี้
ชาหมัก หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำใบชามาผึ่งให้อ่อนตัว นวดเป็นเส้น หมักจนใบมีสีแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม อบให้แห้ง
ชากึ่งหมัก หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำใบชามาผึ่งให้อ่อนตัว คั่วให้สุก นวดเป็นเส้น หรือเม็ดอบให้แห้งอาจแต่งกลิ่นด้วยดอกไม้หรือใบเตยด้วยก็ได้
ชาไม่หมัก หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำใบชามาอบด้วยไอน้ำเดือดหรือคั่ว นวดเป็นเส้น อบให้แห้ง
ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/58895/-heabod-hea-
โดยชาที่นิยมดื่มกันมากที่สุด คือ ชาขาว ชาเขียว ชาอู่หลง และชาดำ นอกจากนี้ยังมีชาสมุนไพรที่ทำจากผลไม้ ใบไม้ ดอกไม้ และสมุนไพรตากแห้ง ของพืชอื่นๆ ที่ไม่มีส่วนผสมจากต้นชา เช่น ชาหญ้าหวาน ชาดอกอัญชัน ชามะตูม ชาใบมะรุม ชาดอกคำฝอย เป็นต้น ซึ่งชาสามารถจัดประเภทตามกระบวนการแปรรูปต่างๆ และยังมีสรรพคุณต่างแตกกันออกไปดังนี้
ที่มา : https://medthai.com/ชาขาว/
1) ชาขาว (White tea)
ชาขาว ผลิตจากตูมชาและยอดอ่อนของชา กรรมวิธีผลิตชาขาวเริ่มจากการเลือกเก็บยอดอ่อนชาในช่วงฤดูใบไม้ผลิ จากนั้นนำยอดชาที่เก็บได้มาผ่านกระบวนการทำแห้งในระยะเวลาที่รวดเร็ว ด้วยวิธีธรรมชาติโดยอาศัย ลม แสงแดด หรือความร้อน ทำให้ปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระและคุณค่าทางโภชนาการของชาขาวยังคงไว้ได้มาก ทั้งยังมีวิตามินซี และวิตามินอี รวมทั้งกลิ่นและรสชาติของชาขาวที่ยังคงความสดชื่นและนุ่มนวล ชาขาวจึงเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง ช่วยบำรุงผิวพรรณ เสริมสร้างความแข็งแรงของเซลล์ผิวหนังให้มีความยืดหยุ่น และให้ต่อมน้ำเหลืองขจัดสารพิษออกจากผิว หรือดีท็อกซ์ผิว
ที่มา : https://medthai.com/ชาเขียว/
2) ชาเขียว (Green tea)
เป็นชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก (Non-fermented tea) ใช้ระยะเวลาสั้นในการผลิต กรรมวิธีการผลิตเริ่มจากการนำใบชามาอบไอน้ำ เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ จากนั้นนำไปกลิ้งด้วยลูกกลิ้งและทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ใบชายังคงมีสีเขียว และคงคุณประโยชน์อยู่มาก โดยเฉพาะสาร Epigallocatechin Gallate (EGCG) ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านพิษ ฆ่าเซลล์มะเร็งและยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยป้องกันรอยเหี่ยวย่น สีผิวด่างดำ และแห้งกร้าน นอกจากนั้นยังช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันการจับตัวของลิ่มเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการหัวใจวาย และลมชัก ช่วยป้องกันฟันผุ ดับกระหาย แก้ร้อนใน และด้วยคุณประโยชน์นานาประการของชาเขียว เลยเป็นที่นิยมนำไปดัดแปลงทำเป็นเมนูคาวหวานอย่างหลากหลายอีกด้วย
ที่มา : http://steventearoom.blogspot.com/2016/06/38.html
3) ชาอู่หลง (Oolong tea)
เป็นชาที่ผ่านกระบวนการหมักเพียงบางส่วน (Semi-fermented tea) ก่อนหยุดปฏิกิริยาของเอนไซม์ด้วยความร้อน กรรมวิธีการผลิตจะมีการผึ่งแดด (withering) ประมาณ 20-40 นาที ภายหลังผึ่งแดดใบชาจะถูกผึ่งในร่มอีกครั้งพร้อมเขย่ากระตุ้นให้ชาตื่นตัว น้ำชาอู่หลงจะมีสีเหลืองอมเขียว และสีน้ำตาลอมเขียว มีกลิ่นหอม ให้รสฝาด และขมเล็กน้อย แต่ชุ่มคอ ชาอู่หลงมีประโยชน์มากสำหรับคนวัยทำงาน เพราะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ส่งผลให้ลดความตึงเครียด และอารมณ์หงุดหงิด ทั้งยังช่วยย่อยสลายไขมัน และคลอเรสเตอรอลได้ดี
ที่มา : https://medthai.com/ชาดำ/
4) ชาดำ (Black tea)
เป็นชาที่ผ่านกระบวนการหมักอย่างสมบรูณ์ (Completely-fermented tea) ใบชาจะถูกผึ่งให้เอนไซม์ polyphenol oxidase เร่งปฏิกิริยาอย่างเต็มที่ ซึ่ง polyphenols จะถูก oxidized อย่างสมบรูณ์เกิดเป็นสารประกอบกลุ่ม Theaflavins และ Thearubigins ทำให้ชาดำมีสีน้ำตาลแดง มีสีและรสชาติที่เข้มข้นมาก เครื่องดื่มที่ได้จากชาดำจะออกสีแดงน้ำตาลไปจนถึงดํา ชาดำนี้มีสารแทนนินสูงจึงช่วยป้องกันฟันผุ บรรเทาอาการท้องเสีย กระตุ้นการทำงานของหัวใจ ลดความเหนื่อย อ่อนล้า ให้ความสดชื่น ชะลอความแก่ และป้องกันการเกิดมะเร็งอีกด้วย
หากอยากดื่มชาให้ได้ประโยชน์ในเรื่องของวิตามินต่างๆ และสารคาเทคชินส์ ไม่ควรดื่มชาที่ร้อนจัดจนเกินไป ไม่ควรใส่สารปรุงแต่งอื่นๆ ทั้งน้ำตาล และนม และไม่ควรดื่มชาในปริมาณมาก หรือติดต่อกันนานจนเกินไป เพราะอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงโรคที่เกี่ยวกับไต และกระดูกได้
เอกสารอ้างอิง
ชา.[ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 23สิงหาคม 2561] เข้าถึงจาก http://www.misterbuffet.com
/article_teatime.asp
ประเภทของชา และกระบวนการผลิต.[ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 24สิงหาคม 2561] เข้าถึงจาก
http://www.chachangthong.com/th/articles/2420-ประเภทของชา-และกระบวนการผลิต
มาทำความรู้จักประเภทของชาแต่ละชนิดกัน.[ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 23สิงหาคม 2561] เข้าถึงจาก
https://www.northlandtea.com/blogs/news/article-6
ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร. ชา.[ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 24สิงหาคม 2561] เข้าถึงจาก
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1811/tea-ชา