ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

 

       แชมพู คือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวประกอบด้วยสารลดแรงตึงผิว ใช้กับเส้นผมเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกจากเส้นผมและหนังศีรษะโดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ สามารถทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะได้อย่างหมดจด ไม่ระคายเคือง ไม่ทำลายไขมันตามธรรมชาติของเส้นผม ไม่ทำให้เส้นผมและหนังศีรษะแห้ง ทั้งนี้ อาจผสมสารสกัดจากสมุนไพรชนิดต่างๆ เช่น มะกรูด ดอกอัญชัน มะคำดีควาย ว่านหางจระเข้ ส้มป่อย ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด เป็นต้น เพื่อช่วยบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ

 

(ที่มา : http://www.clinictech.most.go.th/online/pages/techlist_display.asp?tid=71)

       มะกรูด (Leech Lime) เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตนิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมในแชมพู เนื่องจากผลของมะกรูดมีสรรพคุณที่สำคัญ คือ

       1. ช่วยทำให้รากผมแข็งแรง ผมดก เส้นผมเงางาม ชุ่มชื้น ไม่แตกปลาย ไม่ขาดเปราะง่าย ป้องกันผมร่วง และยังช่วยขจัดรังแค
       2. น้ำมันจากผิวมะกรูด มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา
       3. น้ำมะกรูด มีความเป็นกรด ช่วยทำความสะอาด ช่วยปิดเกล็ดผมให้เรียงเป็นชั้นปกติ ทำให้เส้นผมเรียบ หวีง่าย
 
                                                                  
 
                   (ที่มา : http://www.acfs.go.th/healthfood/showFood.php?food_id=209)                     (ที่มา : https://www.samitivejhospitals.com/th/รังแค/)
 
       การใช้มะกรูดสระผมเกิดมาจากภูมิปัญญาของคนในสมัยโบราณ โดยวิธีสระผมมักนำผลดิบผ่าซีกแล้วบีบน้ำมะกรูดมาใช้สระผม บางคนอาจนำผลมะกรูดไปเผาไฟ หรือนำไปต้มก่อน แล้วจึงเอาน้ำมะกรูดมาใช้สระผม ซึ่งปัจจุบันมีการนำมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในแชมพูสระผมเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ วิธีการผลิตแชมพูสมุนไพรมะกรูดสามารถทำได้หลายมีวิธี โดยยกตัวอย่างวิธีการผลิตแชมพูสมุนไพรมะกรูดอย่างง่ายที่เป็นสูตรธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำเก็บไว้ใช้เองได้ ดังขั้นตอนต่อไปนี้
       1. นำผลมะกรูดมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วผ่าเป็นเสี้ยว 3-4 เสี้ยว และแกะเมล็ดออก
       2. นำผลมะกรูดที่ผ่าเสี้ยวแล้วใส่ลงไปในหม้อต้ม ใส่น้ำพอประมาณ ต้มให้เปื่อย
       3. เมื่อเนื้อมะกรูดเปื่อยดีแล้วให้ยกลงจากเตา ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
       4. ใช้มือขยำเนื้อมะกรูดให้เละ จากนั้นกรอกใส่ขวดเก็บไว้ใช้สระผม
 
                                                    ล้างผลมะกรูดให้สะอาด                                                                    ผ่าผลมะกรูดเป็น 3-4 เสี้ยว แกะเมล็ดออก
 
                                                                  
 
                               (ที่มา : https://www.baterk.com/detail/peu5s6k8Xo)                                  (ที่มา : https://www.bansuanporpeang.com/node/24236)
 
 
                                          นำผลมะกรูดที่ผ่าเป็นเสี้ยวมาต้มให้เปื่อย                                                           เมื่อเนื้อมะกรูดเปื่อยแล้ว ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
 
                                                                   
 
                           (ที่มา : https://www.bansuanporpeang.com/node/24236)                                (ที่มา : https://www.bansuanporpeang.com/node/24236)
 
 
                                          ขยำเนื้อมะกรูดให้เละ แล้วกรอกใส่ขวด                                                               นำแชมพูสมุนไพรมะกรูดมาใช้สระผม
 
                                                                   
 
                     (ที่มา : http://bitcoretech.com/how-to-make-shampoo-bergamot/)                   (ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/kanis/2014/11/11/entry-1)
 
แชมพูสมุนไพรมะกรูดที่ผลิตได้นี้สามารถเก็บไว้ใช้ได้หลายเดือน โดยไม่ขึ้นราหรือบูดเสีย แต่สีอาจซีดลงหากเก็บไว้นานเกิน 3 เดือน อีกทั้ง คนที่ผมผ่านการดัด ย้อม หรือโกรกจนผมเสีย สามารถใช้น้ำมะกรูดล้างสารเคมีที่สะสมในเส้นผม ทำให้ผมสะอาด และยังช่วยฟื้นฟูสภาพเส้นผมให้ดีขึ้น
       แชมพูสมุนไพรมะกรูดนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย มีประโยชน์ช่วยบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ ขจัดรังแค ลดปัญหาผมร่วง ทำให้รากผมแข็งแรง รวมถึงช่วยปรับสภาพเส้นผมให้นุ่มลื่นและหวีง่าย ผู้ที่สนใจสามารถผลิตแชมพูสมุนไพรมะกรูดตามสูตรธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ ไว้ใช้เองได้ตามข้างต้นนี้ แต่หากไม่สะดวกสามารถซื้อผลิตภัณฑ์แชมพูที่มีส่วนผสมของมะกรูดมาใช้แทนได้ เนื่องจากปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์แชมพูที่มีส่วนผสมของมะกรูดและสมุนไพรต่างๆ ให้เลือกซื้อได้หลากหลายชนิดในท้องตลาด 
 
เอกสารอ้างอิง
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. โครงการศึกษาและจัดทำแบบอย่างการลงทุนอุตสาหกรรมเฉพาะเรื่อง แชมพูและครีมนวดสมุนไพร
       [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2561].  เข้าถึงจาก : http://library.dip.go.th/multim/edoc/09566.pdf
มนตรี  แสนสุข. มะกรูดกับภูมิปัญญาไทย. มะนาว มะกรูด จี๊ดจ๊าด, กรุงเทพฯ : ปราชญ์, 2553, หน้า 107-114.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน แชมพู มผช.92/2552.  [ออนไลน์] 
       [อ้างถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2561].  เข้าถึงจาก : http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps92_52.pdf
สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ. การผลิตแชมพูมะกรูดและอัญชัน.  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2561]. 
       เข้าถึงจาก : http://www.dss.go.th/rdcommercial/uploads/515640226.19949.pdf
โอภาส  เชฏฐากุล. ผมสวยด้วยสมุนไพร.  [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2561].  
       เข้าถึงจาก : http://lib3.dss.go.th/fulltext/techno_file/CF24/CF24_A50.pdf