ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

 

       มะเขือเทศ (Tomato) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycopersicon esculentum Mill. อยู่ในวงศ์ Solanaceae เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งชนเผ่าอินเดียนแดงใช้ปรุงอาหารรับประทานกันมาช้านาน พบว่าผลมะเขือเทศสุกมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด คือ

       1. วิตามินชนิดต่างๆ และสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี เบตาแคโรทีน อัลฟาแคโรทีน  ซิตริน (วิตามินพี) และโฟเลต 
       2. กรดอะมิโน และกรดอื่นๆ ที่สำคัญ โดยกรดอะมิโน ได้แก่ กลูตามิค ส่วนกรดอื่นๆ ได้แก่ กรดซิตริก ซึ่งทำให้ผลมะเขือเทศสุกมีรสเปรี้ยว และกรดมาลิก
       3. สารที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย ได้แก่ สาร Licopersioin
       4. สารที่ทำให้มีกลิ่นจำเพาะ คือ โทมามีน
       5. สารกลุ่มแคโรทีนอยด์ ได้แก่ ไลโคปีน ลูทีน ซีอาแซนทิน ไฟโทอีน และไฟโทฟลูอีน
       6. เกลือแร่ที่พบได้ในผลมะเขือเทศ ได้แก่ โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม
       7. น้ำ ผลมะเขือเทศสดจัดเป็นผักที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบที่สูงมาก
 
(ที่มา : https://www.boon-herb.com/herballibrary/tomato-extract)
 
       จากข้อมูลข้างต้น ทำให้ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพนิยมหันมารับประทานมะเขือเทศสด และผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศกันมากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคไม่แพ้มะเขือเทศสด คือ น้ำมะเขือเทศ (Tomato juice) เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดื่มง่าย รสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ รวมทั้ง สามารถทำไว้ดื่มเองได้ แต่หากผู้บริโภคท่านใดไม่สะดวกสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมะเขือเทศได้ตามห้างสรรพสินค้า และร้านค้าทั่วไป ซึ่งมีให้เลือกกันหลากหลายชนิดตามความต้องการของผู้บริโภค 
 
             
                                            (ที่มา : https://www.amway.co.th/p/0252840)                              (ที่มา : https://shoponline.tescolotus.com/
                                                                                                                                                 groceries/th-TH/products/6001476319)
 
       ผู้บริโภคควรเลือกซื้อและบริโภคน้ำมะเขือเทศที่มีลักษณะดี ได้คุณภาพตามมาตรฐานกำหนด โดยมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำมะเขือเทศ (Tomato drink) มผช. 536/2557 ได้กำหนดคุณลักษณะที่ดีของน้ำมะเขือเทศไว้ดังนี้
       1. ต้องเป็นของเหลวขุ่น อาจตกตะกอนเมื่อวางทิ้งไว้
       2. มีสีดีตามธรรมชาติของน้ำมะเขือเทศและส่วนประกอบที่ใช้
       3. มีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของน้ำมะเขือเทศและส่วนประกอบที่ใช้ ไม่มีกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นแอลกอฮอล์ กลิ่นรสเปรี้ยวบูด
       4. ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์
       5. วัตถุเจือปนอาหาร
              (1) ห้ามใช้สีสังเคราะห์และวัตถุกันเสียทุกชนิด
              (2) หากมีการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ให้ใช้ได้ตามชนิดและปริมาณที่กฎหมายกำหนด (สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/178/1.PDF)
              (1) จุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1 x 104 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
              (2) แซลโมเนลลา ต้องไม่พบในตัวอย่าง 25 มิลลิลิตร
              (3) สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส ต้องน้อยกว่า 10 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
              (4) บาซิลลัส ซีเรียส ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
              (5) คลอสทริเดียม เพอร์ฟริงเจนต์ ต้องไม่เกิน 100 ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
              (6) โคลิฟอร์ม โดยวิธีเอ็มพีเอ็น ต้องน้อยกว่า 2.2 ต่อตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร
              (7) เอสเชอริเชีย โคไล ต้องไม่พบในตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร
              (8) ยีสต์และรา ต้องน้อยกว่า 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
 
       ดังนั้น น้ำมะเขือเทศเป็นเครื่องดื่มอีกชนิดหนึ่งสำหรับผู้บริโภคที่รักสุขภาพ แต่อาจไม่ชอบรับประทานผลสด ซึ่งการดื่มน้ำมะเขือเทศที่มีคุณภาพที่ดีในปริมาณที่เหมาะสมจะส่งผลดีต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน เช่น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดปัญหาการเสื่อมสภาพของหลอดเลือด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยระบาย บำรุงสายตา บำรุงเหงือก บำรุงเลือด บำรุงผิวพรรณ รวมถึงแก้กระหายน้ำ ทำให้ร่างกายสดชื่น เป็นต้น
 
 
(ที่มา : https://women.mthai.com/beauty/health/117561.html)
 
       ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง น้ำมะเขือเทศ ได้จากเอกสารภายในสำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยสามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติในเว็บไซต์ http://library.dss.go.th/ จากคำสืบค้น คือ
                          -  มะเขือเทศ (http://library.dss.go.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?q=มะเขือเทศ)
                          -  น้ำสมุนไพร (http://library.dss.go.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?q=น้ำสมุนไพร)
 

เอกสารอ้างอิง

ไกรภพ  สาระกูล. สูตรน้ำมะเขือเทศ. น้ำหมักสมุนไพร พลังมหัศจรรย์บำบัดโรค. กรุงเทพฯ : ธิงค์ กู๊ด, 2553, หน้า 38.
ปินัทธา  เพ็ชรพลอยศรี. มะเขือเทศ (Tomato). ผิวสวยหน้าใสด้วยผักผลไม้. กรุงเทพฯ : อมรินทร์สุขภาพ, 2551, หน้า 125-128.
พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ. น้ำมะเขือเทศ. น้ำสมุนไพร การเตรียมน้ำดื่มจากพืชที่มีสรรพคุณทางยาและมีคุณค่าทางอาหาร. กรุงเทพฯ : เมดิคัลมีเดีย, 2534, หน้า 100-102.
พินิจ  จันทร. มะเขือเทศ. เครื่องดื่มสมุนไพรอินเทรนด์. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน, 2554, หน้า 131-133.
วิโรจน์  ไววานิชกิจ. ผ่า...มะเขือเทศ. ผิวสวย หน้าใส (ไม่เคมี) กับมะเขือเทศ. กรุงเทพฯ : ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์, 2554, หน้า 29-31.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำมะเขือเทศ มผช.536/2557. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563].  
       เข้าถึงจาก : http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps0536_57(น้ำมะเขือเทศ).pdf