ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

 

       องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศยกระดับความรุนแรงของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 เป็นการระบาดครั้งใหญ่ (Pandemic) เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคสามารถติดต่อจากคนสู่คน เมื่อเข้าสู่ร่างกายมีโอกาสทำให้เสียชีวิต และเชื้อโรคกระจายตัวลุกลามไปทั่วโลก ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว ได้สร้างความวิตกกังวลให้กับผู้คนในหลายประเทศ องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำวิธีป้องกันตัวเองให้กับประชาชน พบว่ามาตรการสำคัญมาตรการหนึ่งที่หลายๆ ประเทศรวมทั้งประเทศไทยนำมาใช้ในการควบคุมการระบาดของโรค COVID-19 ในขณะนี้ คือ มาตรการ “Social distancing”

       ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของประเทศสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention; CDC) ให้นิยามคำว่า Social distancing หรือ การเว้นระยะห่างทางสังคม หมายถึง การหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีคนจำนวนมากมารวมตัวกัน และการรักษาระยะห่างประมาณ 2 เมตร จากผู้อื่น เนื่องจากละอองฝอยจากการไอจามกระจายได้ในระยะ 1 เมตร แต่เพื่อความปลอดภัยจากอะลองไอจามควรอยู่ห่างจากบุคคลอื่นในระยะ 2 เมตร ซึ่งหากเราสูดหายใจเอาละอองเหล่านั้นเข้าไป หรือมือไปสัมผัสโดนละอองตามพื้นผิวแล้วมาขยี้ตา จมูก หรือปาก ก็อาจทำให้ติดเชื้อ COVID-19 ได้ 

 

(ที่มา : https://www.thaihealth.or.th/Content/51523--อยู่ห่างระยะ%202%20เมตร%20เพื่อความปลอดภัยจากละอองฝอยของคนที่ไอจาม.html)
 
       มาตรการ Social distancing ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 เพราะก่อนหน้านี้เคยถูกนำมาใช้ในเหตุการณ์การระบาดทั่วโลกในหลายครั้ง เช่น การระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish Flu) ในระหว่างปี ค.ศ. 1918-1920 พบว่าการทำ Social Distancing สามารถช่วยลดอัตราการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดระดับความรุนแรงของการระบาดได้จริง ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ทีมนักวิจัยได้มีการศึกษาค้นคว้าเอกสารข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2563 และทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการแพร่กระจายของ Coronavirus ในประเทศจีน พบว่า ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ COVID-19 ทุกกรณีของจีน มีแนวโน้มว่าจะมีอีก 5-10 คน ที่ไม่ถูกตรวจพบว่า ติดเชื้อ แต่หลังจากจีนจำกัดการเดินทาง และใช้มาตรการ Social distancing การแพร่กระจายของ COVID-19 ก็ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้รัฐบาลในหลายๆ ประเทศออกมาตรการ Social Distancing ที่เข้มงวดและครอบคลุมมากขึ้น เพราะถือเป็นหนึ่งในมาตรการที่ดีที่สุดที่มนุษย์จะสามารถชะลอการแพร่ระบาดของไวรัสชนิดนี้ได้
       หากเปรียบเทียบกราฟเรื่องการชะลอเส้นโค้งการระบาด (Flatten the curve) สามารถพบได้ 3 แบบ ได้แก่ แบบเส้นโค้งสีแดง (ไม่มีการควบคุมการระบาด) คือ มีจำนวนผู้ป่วยโรค COVID-19 เพิ่มเป็นสองเท่าทุกๆ 4-7 วัน แต่ถ้ามีการทำ Social distancing การแพร่ระบาดจะถูกย่อลงเป็นแบบเส้นโค้งสีเขียว คือ มีจำนวนผู้ป่วยลดลง ไม่ป่วยเข้าโรงพยาบาลพร้อมๆ กัน และนักวิจัยมีเวลาเพียงพอในการคิดค้นยาและวัคซีน ซึ่งถ้าทุกคนเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างเต็มที่ก็จะสามารถกดจำนวนผู้ป่วยลงเป็นแบบเส้นโค้งสีฟ้า
 
 
ภาพจำลองการระบาดของ COVID-19 (ดัดแปลงจาก : Anderson, R. M. et al, 2020)
(ที่มา : https://themomentum.co/social-distancing/)
 
       สำหรับประเทศไทย Social Distancing เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขเน้นย้ำและแนะนำให้ประชาชนปฏิบัติ เพื่อช่วยป้องกันการสัมผัสกับเชื้อไวรัสจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ด้วยการสร้างระยะห่างระหว่างตัวเรากับคนอื่นในสังคม และหากประชาชนร่วมมือกันได้ 80 เปอร์เซ็นต์ ก็จะสามารถเปลี่ยนเส้นทางการแพร่เชื้อในประเทศให้ลดลงได้ โดยแบ่งระดับของ Social Distancing ออกเป็น 3 ระดับ คือ 
       1. ระดับบุคคล โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรระมัดระวังในการป้องกันตัวเอง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันค่อนข้างต่ำ อาจทำให้ติดเชื้อง่ายกว่ากลุ่มอื่น ควรหลีกเลี่ยงการรวมตัวของคนหมู่มาก ลดใช้ขนส่งสาธารณะ ลดการออกไปนอกบ้านโดยไม่จำเป็น เช่น งดไปงานเลี้ยงสังสรรค์ สั่งอาหารมารับประทานที่บ้าน
 
                    
 
                                                  (ที่มา : https://www.marketingoops.com/                        (ที่มา : https://www.sanook.com/health/21569/)
                                               news/department-store-social-distancing-19/)
 
       2. ระดับองค์กร สถานที่ทำงานควรมีมาตรการเหลื่อมเวลาทำงาน หรือการทำงานที่บ้าน (Work from home) เป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและการแพร่เชื้อจากการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะที่มีความแออัดในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ทำให้สามารถป้องกันการแพร่เชื้อทั้งภายในและภายนอกที่ทำงาน รวมถึงสถานศึกษาควรจัดให้มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในมหาวิทยาลัยและโรงเรียน
 
                     
 
                                                    (ที่มา : https://brandinside.asia/ten-do-                 (ที่มา : https://www.prachachat.net/education/news-450564)
                                                    and-dont-technic-for-work-from-home/)
 
       3. ระดับชุมชน ควรลดหรืองดกิจกรรมทางสังคมต่างๆ เช่น การแข่งขันกีฬา พิธีกรรมทางศาสนา หากไม่สามารถงดหรือเลื่อนได้ ควรลดจำนวนของผู้ที่มาร่วมงาน จัดเก้าอี้ให้นั่งห่างกันประมาณ 1 เมตร และจัดพื้นที่สำหรับล้างมือ หรือให้บริการเจลแอลกอฮอล์สำหรับผู้ที่มาร่วมงาน และต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย 
 
                     
 
(ที่มา : http://www.lampang13.com/archives/21940)
 
       นอกจากนี้ ยังมีการทำ Social distancing ในแต่ละสถานที่ของประเทศไทย ในระดับ 50 เปอร์เซ็นต์ และ 80 เปอร์เซ็นต์ แสดงดังภาพ
 
 
อ้างอิง : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (27 มีนาคม)
(ที่มา : https://thestandard.co/social-distancing-expecting-to-help-decrease-coronavirus-number/)
 
       จะเห็นได้ว่า มาตรการ Social Distancing เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยลดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้ดี แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนรวมถึงประชาชนทุกคน หากทุกคนตระหนักและมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข หมั่นคอยดูแลสุขภาพ และป้องกันตัวเองจากความเสี่ยง เชื่อว่าอีกไม่นานสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยจะลดลงได้ในที่สุด 
 
เอกสารอ้างอิง
เนชั่นทีวี. กรมอนามัย เข้ม Social Distancing ‘บุคคล-องค์กร-ชุมชน’ ลดแพร่เชื้อ COVID-19. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 14 เมษายน 2563]. 
       เข้าถึงจาก : https://www.nationtv.tv/main/content/378769063/
รู้จัก Social distancing ห่างกันสักนิด ลดการแพร่ COVID-19. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 2 เมษายน 2563].
       เข้าถึงจาก : https://techsauce.co/news/social-distancing-prevent-covid-19
สำนักข่าวอิศรา. ถอยห่างอีกนิด เว้นระยะห่างทางสังคม 2 เมตร อาวุธลดการแพร่ระบาดโควิด-19. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 2 เมษายน 2563]. 
       เข้าถึงจาก : https://www.isranews.org/article/isranews/86625-cov.html
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์. ‘ห่างก่อน’ ระยะห่างทางสังคม Social Distancing มีไว้ทำไมกัน?. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 2 เมษายน 2563]. 
       เข้าถึงจาก : https://www.posttoday.com/life/work-life-balance/618446
Social Distancing: เมื่อโควิด-19 ทำให้เราต้อง ‘ห่างกันสักพัก’. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 2 เมษายน 2563].
       เข้าถึงจาก : https://themomentum.co/social-distancing/
THE STANDARD. Social Distancing หรือการเพิ่มระยะห่างทางสังคมคืออะไร. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 2 เมษายน 2563]. 
       เข้าถึงจาก : https://thestandard.co/social-distancing/