
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ในประเทศไทย สามารถควบคุมได้ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน ทำให้มีการผ่อนคลายการบังคับใช้บางมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตามลำดับขั้นตอนการควบคุมโอกาสเสี่ยงของบุคคล สถานที่ และประเภทกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ตามหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก และตามผลการประเมินสถานการณ์ของฝ่ายสาธารณสุข นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 6) โดยเป็นข้อกำหนดเป็นการทั่วไปและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการ กำหนดการผ่อนคลายให้ดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ ในระยะแรกให้เปิดดำเนินการได้ทั่วราชอาณาจักรตามความสมัครใจและความพร้อมใน 2 ลักษณะกิจกรรม คือ
1. กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ได้แก่ ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ร้านขายยา สินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต ร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดย่อม ร้านค้าปลีก/ค้าส่งชุมชน ตลาด ตลาดน้ำ ตลาดนัด และร้านเสริมสวย
2. กิจกรรมด้านการออกกำลังกายหรือการดูแลสุขภาพ ได้แก่ โรงพยาบาล คลินิก สถานทันตกรรมหรือสถานพยาบาลทุกประเภท ที่จัดตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย สนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ สนามกีฬาเฉพาะกีฬาประเภทกลางแจ้งและตามกติกาสากล สวนสาธารณะ ลาน-พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา ลานกีฬา รวมถึงสถานที่ให้บริการดูแลรักษาสัตว์ สปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์
กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต กิจกรรมด้านการออกกำลังกายหรือการดูแลสุขภาพ
(ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-25125) (ที่มา : https://www.chillpainai.com/scoop/6041/)
กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมาตรการและคําแนะนําในการป้องกันโรคในสถานที่ต่างๆ ที่เปิดให้บริการ โดยให้ความสําคัญกับการจัดการเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เพราะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จําเป็นต้องมีการจัดการดูแลสถานที่ข้างต้นอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ขอยกตัวอย่างคำแนะนำในการป้องกัน COVID-19 สำหรับกิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ได้แก่ ร้านอาหาร ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ





