ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       ขิง (Ginger) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zingiber officinale Rosc. อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีการนำมาใช้บริโภคกันมานาน จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับข่า ขมิ้น กระวาน เร่ว มีลำต้นใต้ดินซึ่งมีลักษณะคล้ายฝ่ามือเรียกว่า “เหง้า” เปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อน เนื้อมีสีเหลืองอมเขียว ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง ใบเรียง 2 ระนาบ หรือออกเป็นกอ กลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด หรือเชื่อมติดกันที่โคน มีเกสรเพศผู้ 1 อัน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 2 อัน คล้ายกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นกลีบปาก ผลแห้งแตก มีเมล็ดจำนวนมาก โดยส่วนต่างๆ มักมีกลิ่นหอม

                 

                                           (ที่มา : https://www.thairath.co.th/content/828597)                (ที่มา : https://www.thaihealth.or.th/Content/43180-

                                                                                                                                  แพทย์แผนไทยแนะปชช.กินขิง%20ปรับตัวรับหน้าฝน.html)
 
       สารอาหารที่สำคัญในขิงมีหลายชนิด ได้แก่ ธาตุเหล็ก คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส โปรตีน เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี เส้นใยอาหารจำนวนมาก รวมทั้งยังมีน้ำมันหอมระเหยที่มีประโยชน์ประกอบด้วยสารสำคัญต่างๆ ได้แก่ ซิงจิเบอรีน (Zingiberene) ซิงจิเบอรอล (Zingiberol) ไบซาโบลีน (Bisabolene) และแคมฟีน (Camphene) สารเหล่านี้จะมีอยู่ในขิงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวิธีการปลูกและช่วงการเก็บรักษา นอกจากนี้ยังมีน้ำมันโอลีโอเรซิน (Oleoresin) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ทำให้ขิงมีกลิ่นฉุนและมีรสเผ็ด ขิงสามารถนำมารับประทานได้หลายรูปแบบ เช่น อาหารคาว อาหารหวาน รวมทั้งยังสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้อีกด้วย โดยน้ำขิงเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ดีชนิดหนึ่ง เนื่องจากชาวจีนเชื่อว่าเป็นยาร้อนเหมาะที่สำหรับนำมาดื่มเป็นประจำในช่วงฤดูหนาวที่อากาศเย็น เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
 
                              
                           (ที่มา : https://foodtotimes.com/2019/12/ 19/เครื่องน้ำขิงร้อน-เย็น-ช/              (ที่มา : https://market.talad.co/index.php?route=
                                                                                                                                      product/product&path=65&product_id=2532&limit=50)
 
       ผู้บริโภคควรเลือกดื่มน้ำขิงที่มีลักษณะดี ได้คุณภาพตามมาตรฐานกำหนด โดยมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำขิง มผช. 1388/2556 ได้กำหนดคุณลักษณะที่ดีของน้ำขิงไว้ดังนี้
              1. ลักษณะทั่วไป ต้องเป็นของเหลวใสหรือขุ่น อาจจะตกตะกอนเมื่อตั้งทิ้งไว้
              2. มีสีที่ดีตามธรรมชาติของน้ำขิงและส่วนประกอบที่ใช้
              3. มีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของน้ำขิงและส่วนประกอบที่ใช้ ไม่มีกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นแอลกอฮอล์ กลิ่นรสเปรี้ยวบูด
              4. ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์
              5. สารปนเปื้อน
                    (1) ตะกั่ว ต้องไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                    (2) สารหนู ต้องไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                    (3) แคดเมียม ต้องไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
              6. วัตถุเจือปนอาหาร
                    (1) ห้ามใช้สีสังเคราะห์และวัตถุกันเสียทุกชนิด
                    (2) หากมีการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ให้ใช้ได้ตามชนิดและปริมาณที่กฎหมายกำหนด (สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/178/1.PDF)
              7. จุลินทรีย์
                    (1) จุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1x104 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
                    (2) แซลโมเนลลา ต้องไม่พบในตัวอย่าง 25 มิลลิลิตร 
                    (3)  สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส ต้องน้อยกว่า 10 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
                    (4) บาซิลลัส ซีเรียส ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
                    (5) คลอสทริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
                    (6) ลิสเทอเรีย มอนอไซโทจีเนส ต้องไม่พบในตัวอย่าง 25 มิลลิลิตร
                    (7) โคลิฟอร์ม โดยวิธีเอ็มพีเอ็น ต้องน้อยกว่า 2.2 ต่อตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร
                    (8) เอสเชอริเชีย โคไล ต้องไม่พบในตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร
                    (9) ยีสต์และรา ต้องน้อยกว่า 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร
 
       จะเห็นได้ว่า น้ำขิงเป็นเครื่องดื่มทางเลือกชนิดหนึ่งสำหรับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ ควรดื่มหลังจากชงร้อนๆ หรือถ้าชอบดื่มแบบเย็นก็สามารถใส่น้ำแข็งเพื่อดื่มแก้กระหาย และอาจเติมน้ำตาลทรายลงในน้ำขิงเล็กน้อยเพื่อให้มีรสชาติดีขึ้น โดยหากรับประทานเป็นประจำจะส่งผลดีต่อสุขภาพ เนื่องจากมีสรรพคุณทางยาสามารถช่วยบำบัดและรักษาโรคต่างๆ ได้ เช่น บรรเทาอาการหวัด คลื่นไส้ อาเจียน เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ลดอาการข้ออักเสบ ช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหารเป็นปกติ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิต ป้องกันโรคมะเร็ง รวมถึงขจัดของเสียออกจากร่างกาย เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง น้ำขิง ได้จากเอกสารภายในสำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยสามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติในเว็บไซต์ http://library.dss.go.th/ จากคำสืบค้น คือ
                        - ขิง (http://library.dss.go.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?q=ขิง)
                        - น้ำขิง (http://library.dss.go.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?q=น้ำขิง)
 
เอกสารอ้างอิง
ชนิตา  พระดาเวชช. ขิงกับประโยชน์ที่คนรักสุขภาพต้องรู้. ประโยชน์มหัศจรรย์ : ขิง. กรุงเทพฯ : อมรินทร์สุขภาพ, 2557, หน้า 1-29.
วิโรจน์  ไววานิชกิจ. น้ำขิง. น้ำดื่มสมุนไพร ใกล้ตัวแต่ไกลโรค. กรุงเทพฯ : เนชั่นบุ๊คส์, 2554, หน้า 61-69.
วิทยา  และคณะ. ความหลากหลายของพืชในกลุ่มขิง วงศ์ Zingiberaceae. กล้วยไม้ ขิงข่า และพืชน้ำมันหอมระเหย ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
       จังหวัดกาญจนบุรี. นนทบุรี : บริษัท เวลท์ ครีเอชั่น แอนด์ เทรดดิ้ง จำกัด, 2561, หน้า 52-55.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำขิง มผช.1388/2556. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2563]. 
       เข้าถึงจาก : http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps1388_56(น้ำขิง).pdf