
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
นางวรรณดี มหรรณพกุล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม สำนักเทคโนโลยีชุมชน ลงพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี จัดถ่ายทอดเทคโนโลยีหลักสูตร "การแปรูปพืชผักสมุนไพร" ให้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร และผู้ประกอบการโอทอป ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านรักษ์พอเพียง ในวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2561 โดยมีเป้าหมายส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแปรรูปพืชสมุนไพร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ขิง ใบบัวบก อัญชัญ กระเจี๊ยบ และมะนาว
โดยเปิดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ ได้แก่ น้ำใบบัวบกพร้อมดื่ม น้ำกระเจี๊ยบหวานเข้มข้น เครื่องดื่มใบบัวบก และเครื่องดื่มขิงชนิดกึ่งสำเร็จรูป ชาขิง ชาใบบัวบก มะนาวดอง แยมมะนาว มะนาวเชื่อม และขิงเชื่อม มีผู้เข้าอบรมจำนวน 37 คน และคณะครู นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนไทยรัฐ 7 อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ร่วมเข้าเรียนรู้ด้วยจำนวน 10 คน ทั้งนี้ผู้เข้าอบรมมีความสนใจในหลักสูตรที่อบรม และเห็นว่ามีประโยชน์ บางรายจะนำความรู้ที่ได้รับนี้ไปผลิต แปรรูปสมุนไพรเพื่อจำหน่ายต่อไป
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล : สำนักเทคโนโลยีชุมชน
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี