
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
![]() |
ชื่อท้องถิ่น : หมากอูน หมากอู๋น ดุง (จันทบุรี) โพล (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ภาคเหนือเรียกว่าบ่าป้าว คอส่า (แม่ฮ่องสอน) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) ภาคใต้เรียกว่าพร้าว พร้าวย่อ |
ลักษณะ : ไม้ยืนต้น ลำต้นตั้งตรง สูงชะลูด ที่ลำต้นมีรอยกาบใบชัดเจนตลอดความสูงของลำต้น ใบเป็นใบประกอบขนาดใหญ่และยาวประกอบด้วยใบย่อยเรียงสลับกันเป็นรูปขนนก ใบย่อยเป็นแผ่นแคบยาวปลายใบแหลม พื้นผิวเรียบเป็นมัน มีสีเขียวแก่ ดอกออกเป็นช่อที่บริเวณกาบหุ้มดอก ผลมีทรงกลมหรือรี เปลือกนอกเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยแต่ชั้นในจะแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อมีสีขาวนุ่มและภายในมีน้ำใส รสจืด หรือหวาน | |
ส่วนให้สี : เปลือก |
การย้อมสีเส้นไหม เส้นด้าย โดยเปลือกมะพร้าว | |
1) ใช้เปลือกมะพร้าว 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ต้มจนเดือดอย่างน้อย ครึ่งชั่วโมง ใช้สนิมเหล็ก (FeSO4) เป็นสารช่วยติดสี | |
สีที่ได้ ขึ้นกับเปลือกมะพร้าวที่ใช้ ถ้าเป็นมะพร้าวอ่อนจะได้สีเทา ถ้าเป็นมะพร้าวทึนทึกจะได้สีน้ำตาล | |
เปลือกมะพร้าวทึนทึก จะได้สีน้ำตาล
เปลือกมะพร้าวอ่อน จะได้สีเทา |
|
น้ำย้อมเปลือกมะพร้าวอ่อนที่ใส่สนิมเหล็กแล้ว เส้นไหมที่ย้อมด้วยเปลือกมะพร้าวทึนทึก |
|
เส้นฝ้ายที่ย้อมด้วยน้ำย้อมมะพร้าว หากนำมาขยำในน้ำโคลน ก็จะทำให้ได้สีที่เข้มขึ้น และเส้นด้ายจะอ่อนนุ่ม |
|
โคลนตม ก่อนใช้ต้องกรองด้วยผ้าขาวบาง |
|
กรองโคลน เส้นด้ายที่ย้อมด้วยน้ำย้อมมะพร้าวแล้วมาลงโคลน |