ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นเครื่องดื่มที่ได้จากการใช้ส่วนประกอบต่างๆ ของพืช เช่น ผลไม้ ผัก ธัญพืชต่างๆ  นำมาแปรรูปให้เหมาะสมตามฤดูกาล แต่เดิมพืชที่นำมาทำเป็นเครื่องดื่มมักจะเก็บมาสดๆ และใช้ทันที ทำให้มีความสด และคงคุณค่าตามธรรมชาติ ต่อมาเครื่องดื่มสมุนไพรได้ถูกการพัฒนาให้มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น โดยนำวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิต มีการบรรจุในภาชนะแบบต่างๆ เพื่อความสะดวกสบายต่อ การบริโภคในชีวิตประจำวัน เครื่องดื่มสมุนไพรมีประโยชน์ทางยา มีคุณค่าทางอาหาร และช่วยในการป้องกันโรค โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน เหงื่อออกมาก การได้ดื่มน้ำสมุนไพรจะช่วยให้จิตใจชุ่มชื่น รู้สึกสบาย เนื่องจากเครื่องดื่มสมุนไพรบางชนิดสามารถช่วยผ่อนคลายความร้อน ทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง บางชนิดช่วยบำรุงหัวใจ บางชนิดมีคุณสมบัติช่วยย่อย ทำให้ธาตุปกติและฟอกเลือด เครื่องดื่มสมุนไพรจึงเปรียบเป็นยาที่ช่วยบำรุง ปกป้องรักษาสภาวะร่างกายให้เกิดสมดุล ทำให้ส่งผลดีต่อสุขภาพ

(ที่มา : http://www.bd-healthcare.com/e-health/detail.php?id=121)
 
       ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ทำให้เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพประเภทเครื่องดื่มสมุนไพรได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเครื่องดื่มสมุนไพรที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ได้แก่ 
       1. น้ำกระเจี๊ยบ เป็นเครื่องดื่มที่ได้มาจากกลีบเลี้ยงของดอก ใช้ได้ทั้งดอกสดและแห้ง ถ้าสดจะมีสีสวย แต่ถ้าแห้งน้ำจะเป็นสีแดงคล้ำ ในกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบมีกรดอินทรีย์หลายชนิด ทำให้กระเจี๊ยบมีรสเปรี้ยว รวมทั้งยังประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม วิตามินซี เป็นต้น มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการร้อนในภายในช่องปาก แก้อาการกระหายน้ำ ลดปริมาณไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ลดระดับความดันโลหิตภายในร่างกายให้กลับเข้าสู่ระดับปกติ เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ บำรุงสายตา และบำรุงกระดูกและฟัน 
       2. น้ำเก็กฮวย เป็นเครื่องดื่มที่ได้มาจากดอกเก็กฮวยแห้ง ดอกเก็กฮวยประกอบด้วยสารเคมีที่สำคัญ ได้แก่ สารอะดีนีน (Adenine) สารโคลีน (Choline) สารสตาไคดรีน (Stachydrine) และน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะให้รสขม มีสรรพคุณดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ เนื่องจากมีฤทธิ์เย็น ช่วยระบบการย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาและป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และโรคความดันโลหิตสูง
                 
 
                                                     (ที่มา : http://nlovecooking.com/gumbo-juice/)                                  (ที่มา : http://halsat.com/เก๊กฮวย/)
 
       3. น้ำมะตูม เป็นเครื่องดื่มที่ได้มาจากผลแห้ง มะตูมประกอบด้วยสารเพคติน (Pectin) สารเมือก (Mucilage) และสารแทนนิน ซึ่งจะให้รสฝาด รวมถึงมีสารรสขม ได้แก่ สารคูมาริน (Coumarin) และสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มีสรรพคุณแก้ท้องเสีย แก้บิด ขับลม ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงธาตุ ขับเสมหะ และแก้อาการร้อนใน 

       4. น้ำอัญชัน เป็นเครื่องดื่มที่ได้มาจากดอก  ในดอกอัญชันมีสารสำคัญชนิดหนึ่ง คือ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น แก้อาการตาฟาง ตามัว หรือภาวะการเสื่อมของดวงตาที่มาจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก และมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

                                  

                                    (ที่มา : https://www.ranongshop.com/น้ำมะตูม-เครื่องดื่มสมุ/)                           (ที่มา : http://www.tan-kao.com/1656/)
 
       5. น้ำใบบัวบก เป็นเครื่องดื่มที่ได้มาจากต้นบัวบกสด ประกอบด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 1 และแคลเซียมในปริมาณสูง มีสรรพคุณช่วยแก้ช้ำใน ทำให้หายฟกช้ำ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดอาการปวดศีรษะข้างเดียว บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า แก้ความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็ง ลดอาการอักเสบและรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยให้การไหลเวีนยของโลหิตดี ทำให้เลือดแข็งตัวเร็ว ช่วยขับปัสสาวะ และบำรุงสายตา
       6. น้ำขิง เป็นเครื่องดื่มที่ได้มาจากขิงสด ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี เบต้าแคโรทีน เหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส รวมทั้ง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเส้นใยเป็นจำนวนมาก น้ำขิงมีสรรพคุณแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม และขับเสมหะ แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน เมารถเมาเรือ ช่วยเจริญอาหาร ลดการจับตัวของลิ่มเลือด ช่วยย่อยอาหารโดยเพิ่มการหลั่งน้ำดีและน้ำย่อยต่างๆ ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยต้านมะเร็ง
 
                                       
 
                       (ที่มา : https://thailandjuicer.com/what-is-lorem-ipsum/น้ำใบบัวบก/)                       (ที่มา : http://www.motherandcare.in.th/
                                                                                                                                                            5สูตรแก้หวัดดีจริงน้ำขิงยังมาแรง)
 
       ทั้งนี้ การดื่มเครื่องดื่มสมุนไพรที่ดีเพื่อให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย ผู้บริโภคควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้
              - ควรดื่มแบบจิบช้าๆ และดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและยา
              - ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มสมุนไพรชนิดเดียวติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เพราะอาจทำให้เกิดการสะสมสารบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อร่างกายได้
              - หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มสมุนไพรร้อนๆ ที่มีอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ขึ้นไป เพราะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ และอาจทำให้มีการดูดซึมสารก่อมะเร็ง จุลินทรีย์ ได้ง่าย
              - หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มสมุนไพรที่ใส่น้ำตาลหรือมีสรหวานมากเกินไป เนื่องจากทำให้อ้วน แต่หากดื่มแบบไม่ใส่น้ำตาลก็จะได้รับคุณค่าจากสมุนไพรนั้นได้โดยตรง 
 
เอกสารอ้างอิง
จริยา  เดชกุญชร. น้ำกระเจี๊ยบ น้ำใบบัวบก. เครื่องดื่มและน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
       กรุงเทพฯ : เพชรการเรือน, 2547, หน้า 18-19, 42.
พินิจ  จันทร และคณะ. น้ำเก็กฮวย น้ำมะตูม น้ำขิง น้ำอัญชัน. เครื่องดื่มสมุนไพรอินเทรนด์
       กรุงเทพฯ : ปัญญาชน, 2554, หน้า 20-21, 35-36, 97, 189-193.
อรนุช  หงษาชาติ. น้ำสมุนไพร. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 17 สิงหาคม 2560]  
       เข้าถึงจาก : http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/herb_gar/wt_herb.pdf
Today Health สุขภาพดี มีได้ทุกวัน. สรรพคุณของน้ำสมุนไพร. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 17 สิงหาคม 2560]  
       เข้าถึงจาก : http://www.todayhealth.org/food-health/สมุนไพรเพื่อสุขภาพ/สรรพคุณของน้ำสมุนไพร.html