วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...
วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
น้ำผึ้ง (Honey) เป็นผลผลิตจากน้ำหวานของดอกไม้ ผึ้งงานจะเก็บน้ำหวานมาจากดอกไม้แล้วนำมาสะสมไว้ในรังผึ้ง ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและทางกายภาพบางประการจากกระเพาะน้ำหวานของผึ้ง ซึ่งจะมีเอนไซม์จากต่อมน้ำลายขับออกมาเปลี่ยนหรือเมตาบอไลซ์น้ำตาลกลูโคสและฟรุกโทส ให้เป็นน้ำตาลแปรรูป (Invert Sugar)
ที่มา : https://pixabay.com/th/ผึ้ง-น้ำผึ้ง-รังผึ้ง-หวี-รัง-345628/ ที่มา : http://mojevcely.sk/med/
ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ผึ้งเริ่มบินกลับรัง เมื่อผึ้งบินจะเกิดพลังงานความร้อนช่วยเร่งการทำงานของเอนไซม์ช่วยเผาผลาญและลดความชื้นในน้ำหวานให้กลายเป็นน้ำผึ้งเร็วขึ้น เมื่อถึงรังจะส่งต่อให้กับผึ้งงานประจำรังรับไปเก็บไว้ในรวงผึ้งและจะมีการกระพือปีกเพื่อไล่ความชื่นทั้งหมดให้ออกจากน้ำหวานเพื่อให้เหลือความชื้นประมาณ 20-25% เท่านั้น จึงจะเรียกว่าเป็นน้ำผึ้งที่สมบูรณ์ หลังจากนั้นผึ้งงานจะนำขี้ผึ้งปิดหลอดรวงเพื่อเก็บไว้ใช้ต่อไป ดังนั้นในน้ำผึ้งจึงมีส่วนผสมของน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็คือ ฟรุกโทสและกลูโคสเป็นหลัก นอกจากนั้นยังมีวิตามินและแร่ธาตุผสมอยู่ด้วย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 กรดโฟลิก วิตามินซี ธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ทองแดงและสังกะสี เป็นต้น[3]
ลักษณะของน้ำผึ้งตามมาตรฐาน มผช. 263/2547[4]มีดังนี้
1.ต้องเป็นของเหลวข้น
2.มีสีตามธรรมชาติตั้งแต่สีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล มีกลิ่นตามธรรมชาติของน้ำผึ้ง ปราศจากกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์
3.ไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่น้ำผึ้ง เช่น เส้นผม ขนสัตว์ ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์
4.ไม่ใช้วัตถุกันเสียและสีสังเคราะห์ทุกชนิด
5.มีน้ำตาลรีดิวซิ่ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 โดยน้ำหนัก
6.มีความชื้น ไม่เกินร้อยละ 21 โดยน้ำหนัก
7.มีน้ำตาลซูโครส ไม่เกินร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก
8.สารปนเปื้อน ได้แก่ สารหนู ต้องไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ ตะกั่ว ต้องไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
9.จุลินทรีย์จำพวกยีสต์และรา ต้องน้อยกว่า 10 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
ที่มา : http://issue247.com/health/amazing-health-benefits-of-honey/
นอกจากนี้น้ำผึ้งยังมีประโยชน์ต่อร่างกายสามารถบรรเทาอาการต่างๆ มีสรรพคุณในการบำรุงและรักษาสุขภาพคือ[1]
1. ช่วยคลายความเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลียจากการตรากตรำทำงานหนัก เล่นกีฬา อดนอน หรือดื่มสุรา
2. ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะพักฟื้น
3. บำรุงประสาทและสมองให้สดชื่น แจ่มใส
4. ช่วยระงับประสาท อาการหงุดหงิด นอนไม่หลับ แก้ตะคริว
5. บรรเทาอาการไอ และหวัด
6. ลดกรดในกระเพาะ ช่วยให้อาหารย่อยดีขึ้น ท้องไม่ผูก เนื่องจากน้ำผึ้งถูกดูดซึมได้ทันที เมื่อสัมผัสลำไส้ ต่างจากน้ำตาลชนิดอื่นที่คงค้างอยู่ และถูกเปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์หรือกรด
7. แก้เด็กปัสสาวะรดที่นอน เนื่องจากน้ำผึ้งมีน้ำตาลฟรุกโตส ซึ่งมีคุณสมบัติดูดความชื้นได้ดีกว่าน้ำตาลชนิดอื่น จึงสามารถดูดน้ำกลับและอุ้มน้ำไว้ ทำให้เด็กไม่ปัสสาวะรดที่นอน
8. แก้โรคโลหิตจาง เนื่องจากน้ำผึ้งมีธาตุเหล็กซึ่งเป็นองค์ประกอบของฮีโมโกลบิน ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดง
9. แก้ความดันโลหิตสูง
น้ำผึ้งมีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ดูมีน้ำมีนวลเป็นธรรมชาติ ปกป้องผิวจากรังสี UV และบำรุงเส้นผมให้นุ่มสวยเงางาม แต่ทั้งนี้การใช้น้ำผึ้งมีข้อควรระวัง คือ ควรกินโดยเฉลี่ยวันละ 1-2 ช้อน หรือประมาณ 20 กรัม แต่ไม่ควรเกิน 50 กรัม/วัน สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ขวบ สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร คนที่แพ้เกสรน้ำผึ้ง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน คนที่มีอาการท้องเสียหรือถ่ายเหลว และผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียน หรือมีผิวหนังอักเสบเรื้อรังไม่ควรกิน ไม่ควรกินน้ำผึ้งร่วมกับเต้าหู้ ผักกุยช่าย หัวหอม และกระเทียม ไม่ควรใช้น้ำที่ร้อนจัดผสมน้ำผึ้ง ควรผสมน้ำอุ่นประมาณ 40 องศา เพื่อไม่ให้ทำลายคุณค่าของเอนไซม์ กรดอะมิโน และวิตามินในน้ำผึ้ง[2]
เอกสารอ้างอิง
[1] น้ำผึ้ง. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2561] เข้าถึงจาก https://guru.sanook.com/2972/
[2] น้ำผึ้งมีประโยชน์มากๆ แต่รู้หรือไม่ น้ำผึ้งมี 8 ข้อห้ามเช่นกัน.[ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2561]
เข้าถึงจากhttps://www.postsod.com/honey-bee-prohibition
[3] บ้านของคนรักสุขภาพ. น้ำผึ้ง สรรพคุณชั้นเลิศจากธรรมชาติที่ทุกคนไม่ควรพลาด. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่
26 ตุลาคม 2561] เข้าถึงจาก http://www.banhealthy.com/น้ำผึ้ง-สรรพคุณชั้นเลิศจากธรรมชาติที่ทุกคนไม่ควรพลาด/
[4] สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มผช 263/2547 เรื่อง น้ำผึ้ง. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 24
ตุลาคม 2561] เข้าถึงจากhttp://tcps.tisi.go.th/public/StandardList.aspx