
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
วันที่ 14-15 กันยายน 2561 กรมวิทยาศาสตร์บริการ มอบหมายนายเกรียงไกร นาคะเกศ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ และนางจิตต์เรขา ทองมณี นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ เป็นหัวหน้าคณะนำทีมนักวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับสินค้า OTOP (Big rock) จังหวัดบุรีรัมย์โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ลงพื้นที่พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผ้าทอและสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารให้มีคุณภาพ โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจในเขตพื้นที่ อ.เมือง อ.คูเมือง อ.ชำนิ และ อ.ลำปลายมาศ จำนวน26กลุ่ม
การติดตามครั้งนี้ พบว่า ผู้ประกอบการกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ส่วนใหญ่สามารถย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติโดยใช้วัสดุในพื้นที่ และซักแล้วสีไม่ตก การผลิตผ้าทอที่มีลวดลายที่หลากหลายตามความต้องการของตลาด มีการแปรรูปผ้าทอเป็นผ้าสำเร็จรูป รวมทั้งพบว่ากลุ่มอื่นๆ มีการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถรักษาเอกลักษณ์ท้องถิ่น ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ทำให้ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าสินค้าท้องถิ่นได้
นางภาวิณี จันทร์ตรี ประธานกลุ่มทอผ้าไหมบ้านสระตะโก ต.หนองบัวโคก อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ กล่าวว่า เดิมกลุ่มมีปัญหาสินค้าผ้า สีผ้าไม่สม่ำเสมอจากการย้อมสีเคมี ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพและไม่ผ่านมาตรฐาน หลังจากที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ และคณะอาจารย์ ลงพื้นที่ให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหา โดยใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาการย้อมสีทำให้การย้อมสีมีความสม่ำเสมอมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมการย้อมสีธรรมชาติจากวัตถุดิบในชุมชน รวมทั้งการมัดลายใหม่สร้างเอกลักษณ์ของกลุ่ม ปัจจุบันกลุ่มได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และมุ่งหวังพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้การรับรองในระดับสูงต่อไป
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข่าว/ภาพ : พิพัฒน์ ดียอดยิ่ง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี