
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
27 พฤศจิกายน 2561 – นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ” โดยมีนางสาวลดา พันธ์สุขุมธนา ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวรายงานการจัดงาน และนายสุชาติ ทีคะสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ โดยมีผู้ประกอบการ OTOP เข้าสัมมนา จากจังหวัดสุโขทัย แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ลำปาง กำแพงเพชร และตาก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 450 คน ณ โรงแรมสุโขทัย เทรเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการมีความมุ่งมั่น ในการนำผลงานวิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ผ่านกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการโอทอป และวิสาหกิจชุมชน เพื่อพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และมีศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาด โดยมีความพร้อมในเรื่องเทคโนโลยีการผลิตและควบคุมคุณภาพสินค้า OTOP ในกลุ่มต่างๆ ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ของใช้-ของประดับตกแต่งและของที่ระลึก ทั้งระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ดังนั้นการทราบความต้องการของผู้ประกอบการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหาให้ตรงจุด โดยทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรและปัจจัยการผลิตของพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนากลุ่มและเครือข่ายแบบครบวงจร
การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการจึงเป็นช่องทางหนึ่งที่จะทราบปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการ ทั้งด้านกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม จากนั้นก็จะนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ การให้คำปรึกษาเชิงลึกเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ซึ่งผลแห่งความสำเร็จนี้จะทำให้ผู้ประกอบ OTOP เศรษฐกิจฐานรากของไทยก้าวสู่ความมั่งคั่ง และมั่นคงอย่างยั่งยืน มีรายได้ เกิดการสร้างงาน และเกิดนวัตกรรมจนเป็นที่รู้จักในตลาดทุกระดับได้
นายสุชาติ ทีคะสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า การลงพื้นที่จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ แสดงให้เห็นถึงการบูรณาการร่วมกันของพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมในด้านการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของสินค้า ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด และนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการของประเทศโดยเฉพาะการสร้างมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของผลผลิตด้านการเกษตรทั้งการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและการแปรรูปผลผลิตการเกษตรที่นำผลการศึกษาวิจัยมาพัฒนา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ภายในงานสัมมนาฯ ยังได้มีการจัดนิทรรศการแสดงให้เห็นภาพรวมการสนับสนุนการพัฒนาสินค้า OTOP ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สป.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และสถาบันการเงิน เพื่อให้เป็นช่องทางหนึ่งที่ผู้ประกอบการ OTOP จะได้มีความเข้าใจและสามารถเข้าถึงการให้บริการได้ตรงตามความต้องการ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ประกอบการนำสินค้าร่วมจัดจำหน่ายภายในงานด้วย
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข่าว : จิตลดา คณีกุล ภาพ : คุณวุฒิ ลี่แตง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักเลขานุการกรม
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี