ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       เมื่อประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นปริมาณความต้องการอาหารก็เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากประชากรนิยมหันไปบริโภคอาหารตามประเทศตะวันตก ทำให้การทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมขยายตัวมากในหลายๆ ประเทศ แต่เนื่องจากการทำปศุสัตว์เป็นกระบวนการที่มีหลายขั้นตอน และมีปัจจัยการผลิตหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น สัตว์เลี้ยงในฟาร์ม อาหารสัตว์ โรงเรือน การจัดการเลี้ยงดู การจัดการของเสีย การขนส่ง เป็นต้น โดยขั้นตอนเหล่านี้มักมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) ทั้งทางตรงและทางอ้อม

 

                                                                      

                                         (ที่มา : https://greenworld.or.th/green_issue/                                       (ที่มา : https://library.mju.ac.th/km/?p=655)
                                                       สาหร่ายแดงลดโลกร้อนคว/)
 
       หากมีการสะสมปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของเกิดภาวะโลกร้อน (Global warming) อันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสภาพแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตบนโลก ทั้งนี้ จากรายงานพบว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงจากภาคเกษตรกรรมคิดเป็นร้อยละ 24 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการทำปศุสัตว์คิดเป็นร้อยละ 14 ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคคมนาคมขนส่ง
 
 
(ที่มา : https://library.mju.ac.th/km/?p=729)
 
โดยการทำปศุสัตว์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ 3 ชนิด คือ
       1. ก๊าซมีเทน (Methane, CH4) แหล่งผลิตก๊าซมีเทนจากสัตว์ที่สำคัญ ได้แก่ การหมักย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งจะปล่อยออกมาทางลมหายใจและการเรอ รวมถึงมูลสัตว์ที่ถูกเก็บไว้ในโรงเรือนและกลางแจ้ง ทั้งในรูปแบบของเหลวและของแข็ง ซึ่งก๊าซเรือนกระจกชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนสูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 21 เท่า
       2. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (Nitrous oxide, N2O) แหล่งผลิตก๊าซไนตรัสออกไซด์จากสัตว์ที่สำคัญ ได้แก่ การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในแปลงพืชอาหารสัตว์ และเกิดจากมูลและปัสสาวะของสัตว์ ซึ่งก๊าซเรือนกระจกชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนสูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 310 เท่า 
       3. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide, CO2) แหล่งผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากสัตว์ที่สำคัญ ได้แก่ การหายใจของสัตว์ การขยายพื้นที่สำหรับทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตอาหารสัตว์ การแปรรูป และการขนส่ง ซึ่งก๊าซเรือนกระจกชนิดนี้ถูกปล่อยออกมาในปริมาณค่อนข้างต่ำ
 
                                    ก๊าซมีเทนเกิดจากการหมักย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง                      ก๊าซไนตรัสออกไซด์เกิดจากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในแปลงพืชอาหารสัตว์ 
 
                                                                    
 
                                    (ที่มา : http://th.yaobionutrition.com/news/rumen-                         (ที่มา : https://mgronline.com/local/detail/9590000018464)
                               microbes-play-an-important-roles-in-rumi-14449046.html)
 
       การทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมนอกจากเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนซึ่งกำลังเป็นปัญหาสำคัญของโลกในขณะนี้แล้วนั้น ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ อีกมากมาย เช่น
              - การตัดไม้ทำลายป่า เพื่อใช้พื้นที่ในการทำฟาร์ม และปลูกพืชอาหารเลี้ยงสัตว์ 
              - สิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์กำลังสูญพันธุ์ ทำให้เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
              - การทำลายผิวดิน เนื่องจากมีการใช้ปุ๋ยเคมี และสารกำจัดศัตรูพืชในแปลงอาหารสัตว์
              - สิ้นเปลืองทรัพยากรน้ำ เนื่องจากการทำปศุสัตว์มีกระบวนที่ต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมาก 
 
       ดังนั้น แนวทางหนึ่งที่เราทุกคนสามารถช่วยกันบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนได้ คือ การเลือกบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ให้น้อยลง และหันมาบริโภคอาหารประเภทผักผลไม้ให้มากขึ้น เพราะหากผู้บริโภครับประทานเนื้อสัตว์น้อยลง ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเนื้อสัตว์ลดลงตามไปด้วย ทำให้สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำปศุสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนได้นั่นเอง
 
เอกสารอ้างอิง
กรีนพีซ (Greenpeace Thailand). ผลกระทบจากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์. [ออนไลน์]  อ้างถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2562]. 
       เข้าถึงจาก : https://www.greenpeace.org/thailand/act/food-system/food-industry-impact/
กรีนพีซ (Greenpeace Thailand). ลด เพื่อเพิ่ม “ลด” เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรม“เพิ่ม” สุขภาวะที่ดีของมนุษย์และโลก. [ออนไลน์] 
       [อ้างถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงจาก : https://www.greenpeace.or.th/report/summary-greenpeace-livestock-vision-towards-2050.pdf
ธำรงศักดิ์  พลบำรุง. การลดก๊าซเรือนกระจกในระบบการผลิตสัตว์. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 10 กรกฎาคม 2562]. 
       เข้าถึงจาก : file:///C:/Users/SI4-22/Downloads/Global%20warming2.pdf
ยิ่งลักษณ์  มูลสาร. ภาวะโลกร้อนจากการผลิตสัตว์. การจัดการอาหารสัตว์เพื่อลดภาวะโลกร้อน, กรุงเทพฯ : แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560, หน้า 47-65.