ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์มีความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์เกือบทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์อาหาร สำหรับกระจายสินค้าเพื่อจัดส่งให้ถึงจุดหมายปลายทาง ทำให้ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และสะดวกในการใช้งาน ซึ่งความสำคัญของบรรจุภัณฑ์มีอยู่หลายด้าน ดังนี้

       (1) การปกป้องคุ้มครองสินค้า บรรจุภัณฑ์ช่วยปกป้องสินค้าที่อยู่ภายในให้ปลอดภัยจากแรงกระแทก แรงกดทับที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง การเก็บรักษาในโกดัง และในร้านค้าปลีก รวมถึงคุ้มครองจากการลักขโมย แสงแดด ความชื้น และความร้อน จนกระทั่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคอย่างปลอดภัย
       (2) การรองรับ รวบรวม และห่อหุ้มสินค้า บรรจุภัณฑ์ทำให้เกิดความสะดวกในการขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค
       (3) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า บรรจุภัณฑ์จะแสดงให้ผู้บริโภคเห็นตัวสินค้า หรือบ่งบอกว่าสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในคืออะไร ใครเป็นผู้ผลิต มีวิธีการใช้และการเก็บรักษาอย่างไร ผลิตและหมดอายุเมื่อใด 
       (4) ให้ความสะดวกกับผู้ผลิตและผู้บริโภค บรรจุภัณฑ์จะอำนวยความสะดวกในการบรรจุสินค้าลงไป ระหว่างการเก็บรักษา การขนส่ง และเมื่อถึงมือผู้บริโภคบรรจุภัณฑ์ควรมีความสะดวกในการจับถือ พกพาง่าย รวมทั้งควรเปิดและนำสินค้ามาใช้งานได้สะดวก ถ้าใช้ไม่หมดสามารถปิดฝาเก็บไว้ใช้ในครั้งต่อไป หรือหลังจากใช้งานสามารถนำบรรจุภัณฑ์นั้นกลับมาใช้ใหม่หรือนำไปใช้งานอย่างอื่นได้
บรรจุภัณฑ์สามารถจำแนกหน้าที่ได้เป็น 3 ด้าน คือ
 

ด้านหน้าที่หลัก

ด้านการตลาด

ด้านหน้าที่อื่นๆ

1. การปกป้องคุ้มครองสินค้าที่อยู่ภายในให้อยู่ในสภาพดี ไม่เกิด     ความเสียหาย

1. การส่งเสริมการขาย

1. สะดวกในการใช้สินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ภายใน

2. การหีบห่อสะดวกต่อการขนส่ง ลำเลียง จับ ถือ พกพา

2. การแสดงข้อมูลรายละเอียดของสินค้า

2. สามารถตั้งวางโชว์สินค้าได้สะดวกทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ

3. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเพื่อให้ลูกค้าทราบ

3. การตั้งราคาขายได้สูงขึ้น

3. แสดงขนาดหรือลักษณะของสินค้าให้ลูกค้าทราบ เพื่อจะได้ตัดสินใจซื้อได้ถูกต้อง

4. ดึงดูดให้ลูกค้าเกิดความสนใจอยากซื้อ เช่น รูปทรง สัณฐาน สี และกราฟิก

4. การเพิ่มปริมาณขาย

4. ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริการตนเอง เป็นการลดภาระของผู้ขาย

 

5. ให้ความถูกต้อง รวดเร็ว           ในการขาย

5. การซื้อขายปลอดภัย ถูกอนามัย    ไม่เลอะเทอะมือ

 

6. การรณรงค์ในเรื่องต่างๆ เช่น สัญลักษณ์รีไซเคิล ฉลากเขียว กินของไทย ใช้ของไทย

6. ช่วยให้ขายสินค้าได้ราคาสูงขึ้น

 
                                      (ที่มา : ดวงฤทัย, 2550)
 
       ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดอาจต้องการบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ผู้ประกอบการจึงต้องเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท โดยสามารถจำแนกประเภทของบรรจุภัณฑ์ตามจุดมุ่งหมายของการใช้งานได้เป็น 2 ประเภท คือ
       (1) บรรจุภัณฑ์ที่จำแนกตามวิธีการบรรจุ และวิธีการขนถ่ายสินค้า สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
            - บรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วย (Individual packaging) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ต้องสัมผัสกับสินค้าที่อยู่ภายใน
โดยตรง และถูกออกแบบให้มีรูปร่างต่างๆ เช่น รูปร่างแบบขวด แบบกระป๋อง แบบหลอด แบบถุง หรือแบบกล่อง เป็นต้น เพื่อให้เหมาะสมกับการจับถือและสะดวกต่อการใช้สินค้า 
            - บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (Inner packaging) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ถัดออกมาเป็นชั้นที่สอง มีหน้าที่รวบรวม
บรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วยตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปไว้ด้วยกัน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดจำหน่ายสินค้า ให้สามารถจำหน่ายสินค้าได้ครั้งละมากๆ สะดวกในการขนส่ง เช่น กล่องกระดาษแข็งที่บรรจุเครื่องดื่มตั้งแต่ 2 ขวดขึ้นไป ฟิล์มหดรัดรูปสบู่ตั้งแต่ 2 ก้อนขึ้นไป เป็นต้น
            - บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก (Outer packaging) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้รวมหน่วยสินค้าขนาดใหญ่ที่ใช้ใน
การขนส่ง เช่น ลัง กล่องกระดาษลูกฟูกขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับบรรจุสินค้าไว้ภายใน โดยที่ผนังด้านนอกของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้จะต้องให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการขนส่ง เช่น ตรา สินค้า รูปแสดงให้ทราบว่าสินค้าอะไรบรรจุอยู่ภายใน เป็นต้น
 
         
               
                   บรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วย                                             บรรจุภัณฑ์ชั้นใน                                               บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก

                                                                      (ที่มา : http://netra.lpru.ac.th/~weta/c1/c1_print.html)

       (2) บรรจุภัณฑ์ที่จำแนกตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต วัสดุที่นิยมใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ สามารถนำมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของบรรจุภัณฑ์ได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
            - บรรจุภัณฑ์กระดาษ กระดาษเป็นวัสดุที่สามารถนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ได้หลายรูปแบบ เช่น กล่องกระดาษแข็ง กล่องกระดาษลูกฟูก ถังกระดาษ ถุงกระดาษ เป็นต้น ข้อดีของวัสดุบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ คือ น้ำหนักเบา ใช้ร่วมกับวัสดุบรรจุอื่นได้ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
            - บรรจุภัณฑ์แก้ว แก้วเป็นวัสดุที่มีความเฉื่อยต่อการทำปฏิกิริยากับสารเคมี ป้องกันการซึมผ่านของอากาศและไอน้ำได้ดี มีความใส สามารถทำเป็นสีต่างๆ ได้ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) ได้
                                                                   
                                                บรรจุภัณฑ์กระดาษ                                                                                        บรรจุภัณฑ์แก้ว  
      (ที่มา : http://www.pattayaconcierge.com/post-space/uploads/post/30021-1.jpg)    (ที่มา : http://it4.cpd.go.th/product/VISITOR/knowledge.aspx?sId=37)
 
            - บรรจุภัณฑ์พลาสติก พลาสติกเป็นวัสดุที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีหลายชนิด และมีคุณสมบัติการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น พลาสติกชนิด PET, HDPE, PVC, LDPE, PP, PS, PC เป็นต้น ข้อดีของวัสดุบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ คือ น้ำหนักเบา มีความเหนียว ทนทานต่อการแตกหัก ขึ้นรูปได้ง่ายหลายลักษณะ และมีคุณสมบัติหลากหลาย ทำให้สามารถเลือกใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น สี ความใส ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น การป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำและแก๊ส เป็นต้น
            - บรรจุภัณฑ์โลหะ เป็นวัสดุที่สามารถป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำ แก๊ส และแสงสว่างได้ดี มีความแข็งแรง ทนความร้อนและความเย็น ขึ้นรูปได้ง่าย สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้ โลหะที่นิยมนำมาใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ เหล็กเหนียว แผ่นเหล็กเคลือบดีบุก และแผ่นอะลูมิเนียม 
 
                                                                           
 
                                         บรรจุภัณฑ์พลาสติก                                                                                                  บรรจุภัณฑ์โลหะ
(ที่มา : http://www.thai-plastic.com/images/products/sgsiam2901_20100907_143110.gif)                 (ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/home/
                                                                                                                                              user_data/file_data/201405/02/67396a5a9.jpg)
 
นอกจากนี้ ยังมีวัสดุอีกชนิดหนึ่งที่นำมาใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ คือ ไม้ ซึ่งมีความแข็งแรง คงรูป นิยมขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ แต่อาจเสียหายจากความชื้น แมลง และไฟ ได้
       บรรจุภัณฑ์แต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์จึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับความต้องการของผลิตภัณฑ์นั้นๆ โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่
            - ลักษณะของผลิตภัณฑ์ เช่น ขนาด รูปร่าง น้ำหนัก ความหนาแน่น ความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ ระบุลักษณะของการเสื่อมเสีย และสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสื่อมเสีย เช่น สิ่งแวดล้อมภายนอก จุลินทรีย์ ปฏิกิริยาเคมี เป็นต้น
            - อันตรายจากสายการผลิตและการกระจายสินค้า ระบุผลิตภัณฑ์อาจได้รับอันตรายจากขั้นตอนใดบ้าง และอย่างไร ระบุชนิด วิธีการ และระยะเวลาในการขนส่งผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบุสภาวะ และระยะเวลาใน  การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ เช่น อุณหภูมิ และความชื้น
            - ความต้องการทางการตลาด ก่อนที่จะเลือกบรรจุภัณฑ์ ต้องศึกษาถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น รสนิยม พฤติกรรมการซื้อ ปริมาณการซื้อ วิธีการนำไปใช้ วิธีเก็บรักษา เพื่อที่จะได้เลือกบรรจุภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมทั้งต้องคำนึงถึงการโฆษณาและส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์  
            - วัสดุบรรจุ การเลือกใช้วัสดุบรรจุต้องคำนึงถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์ สมบัติของวัสดุ ราคา เครื่องจักรที่ใช้บรรจุ และความต้องการทางการตลาด
            - เครื่องจักรบรรจุ โดยต้องคำนึงถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์ สมบัติของวัสดุบรรจุ ราคา และความต้องการทางการตลาด
            - ค่าใช้จ่าย ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญและไม่ควรละเลย ผู้ประกอบควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการคุ้มครองสินค้าที่เหมาะสมและราคาไม่สูงจนเกินไป ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายของวัสดุบรรจุ ค่าใช้จ่ายในกระบวนการบรรจุ ค่าใช้จ่ายของเครื่องจักรบรรจุ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา และค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
 
 
                             (ที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/news_and_articles/article/0121/อายุของผลิตภัณฑ์อาหาร-ตอนที่-1)
 
       ขั้นตอนในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์สามารถสรุปได้ดังนี้ 
            - ศึกษาผลิตภัณฑ์ 
            - ศึกษาสาเหตุของความเสียหาย/เสื่อมเสีย 
            - วิเคราะห์ตลาด
            - สำรวจบรรจุภัณฑ์/เทคโนโลยีการบรรจุ
            - สำรวจเครื่องจักรบรรจุ
            - ประเมินต้นทุน
            - ตัดสินใจเลือกบรรจุภัณฑ์
       บรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ประเภทผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่มีอายุการเก็บรักษาสั้น ทำให้เกิดการสูญเสียในระหว่างการขนส่งและการขายเป็นจำนวนมาก ซึ่งการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดนั้นจะสามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิตให้ยาวนานขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตถึงมือผู้บริโภคในสภาพที่ดี ช่วยลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น สามารถขายสินค้าได้ในราคาสูง รวมทั้งช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้าขึ้นอีกด้วย 
 
เอกสารอ้างอิง
ดวงพร  สาระมาศ และคณะ. บรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหารสด. วารสารบรรจุภัณฑ์ไทย
       กรกฎาคม-กันยายน, 2547, ปีที่ 14, ฉบับที่ 55, หน้า 37-44.
ดวงฤทัย  ธำรงโชติ. หน้าที่และความสำคัญของภาชนะบรรจุ. เทคโนโลยีภาชนะบรรจุ (Packaging Technology),
       กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2550, หน้า 1-21. 
ปัญจ์ยศ  มงคลชาติ. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Packaging) เพื่อเพิ่มมูลค่าการตลาดและโลจิสติกส์ และการยืดอายุผลิตภัณฑ์.
       เอกสารการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การเพิ่มกลยุทธ์การตลาดแก่ผู้ประกอบการ OTOP และวิสาหกิจชุมชน”,
       กรุงเทพฯ : สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2559.
วาณี  ชนเห็นชอบ. เทคโนโลยีการบรรจุอาหาร (Food Packaging Technology).  [ออนไลน์]  
       [อ้างถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560]  เข้าถึงจาก : http://synergysupply.co.th/docs/lamination_knowledge.pdf