ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

       ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือสารเสริมอาหารออกมามากมาย จนเราเลือกไม่ถูกว่าเราควรรับประทานสารเสริมอาหารตัวไหนดี แต่จะมีสารตัวหนึ่งที่เราพบเห็นและคุ้นชินซึ่งมีอยู่ในเครื่องดื่มอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือ กาบา (GABA) แต่คนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้เลยว่ากาบาตัวนี้คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

       กาบา (GABA) มีชื่อเต็มว่า Gamma – Amino Butyric Acid (แกมมา-อะมิโนบิวไทริกแอซิด) ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านทาน (Inhibitor) ทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าต่างๆ ช่วยทำให้สมองเกิดการผ่อนคลาย ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการควบคุมการทำงานของสมอง สารกาบาเป็นกรดอะมิโนที่ผลิตจากกระบวนการ decarboxylation ของกรดอะมิโนที่ชื่อว่า glutamic acid กรดชนิดนี้จะมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ประเภทสารยับยั้งในระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยเพิ่มความผ่อนคลายให้แก่สมอง นอกจากนี้ สารกาบายังทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อ anterior pituitary ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อ และทำให้กล้ามเนื้อเกิดความกระชับ อีกทั้งยังเกิดสาร lipotropic ซึ่งเป็นสารป้องกันการสะสมไขมันได้ด้วย

ที่มา : https://mejorconsalud.com/gaba-acido-gamma-aminobutirico/

       โดยปกติสารกาบาชนิดนี้จะมีอยู่ในระบบประสาทส่วนกลางของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว ซึ่งสารกาบาสามารถเกิดขึ้นได้จากกระบวนการทางธรรมชาติที่เปลี่ยนสารกลูตาเมท (Glutamate) ในสมองให้กลายเป็นสารกาบา แต่การได้รับสารกลูตาเมทจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว อาจจะมีความแปรปรวนในด้านปริมาณ และในบางครั้งอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ จึงมักมีการเติมกาบาเสริมลงในผลิตภัณฑ์อาหารชนิดต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสารกาบาในปริมาณที่เพียงพออย่างแท้จริง โดยสารกาบาที่ใช้เติมในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อลดความเครียด หรือความผ่อนคลายอารมณ์ มักจะพบผสมอยู่ในเครื่องดื่ม น้ำผลไม้ โยเกิร์ต ลูกอม หมากฝรั่ง ไส้กรอก ขนมปัง ชีส นมถั่วเหลืองพร้อมดื่ม และกาแฟพร้อมดื่ม หรืออาจอยู่ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดเม็ด เพื่อความสะดวกในการรับประทาน นอกจากนี้ยังพบว่าข้าวกล้องงอกที่กำลังได้รับความนิยมขณะนี้ก็มีสาร GABA ถึง 15 เท่า จากข้าวกล้องปกติอีกด้วย

 

       สารกาบา (GABA) จึงเป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มของคนที่รักสุขภาพ เนื่องจากมีคุณประโยชน์ต่างๆ มากมายที่ได้รับแล้วยังช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงอีกด้วย คือ

              1. เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยให้สมองผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับ หากมีสารสื่อประสาทชนิดกระตุ้นมากเกินไปจะทำให้ร่างกายตื่นตัวตลอดจึงทำให้เครียดง่าย สารสื่อประสาทชนิดยับยั้งจะทำหน้าที่ต้านทาน จึงทำให้ผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล นอกจากนี้ยังช่วยให้ความคิดความจำดี

              2. กระตุ้นการทำงานของต่อมไร้ท่อ (Pituitary Gland) จากสมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary) ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่ส่งเสริมการเจริญเติบโต กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อ และกระดูกโครงร่างของร่างกาย

 3. กระตุ้นการสร้างสารไลโปโทปิก (Lipotropic) ซึ่งเป็นสารป้องกันไขมันเกาะตัวในร่างกายลดการสะสมไขมันจึงช่วยควบคุมน้ำหนักได้

              4. ป้องกันโรคที่เกี่ยวกับสารสื่อประสาท เช่น อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) พาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

              5. ชะลอความเสื่อมของเซลล์ ป้องกันการเกิดมะเร็ง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่มีประสิทธิภาพสูง

              6. กระตุ้นการสร้างสารที่ช่วยป้องกันไขมันสะสม (Lipotropic) ช่วยให้กล้ามเนื้อกระชับ สร้างเนื้อเยื่อให้มีความกระชับ

              7. ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะช่วยให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่น เลือดจึงไหลเวียนดีขึ้น จึงช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้ปกติ

              8. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immune system) กระตุ้นการสร้างฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ที่เป็นสารประกอบสำคัญในเม็ดเลือดแดง (Heme)

 

       อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานทางงานวิจัย พบว่า ปริมาณกาบาแค่เพียงประมาณ 20-30 มิลลิกรัมต่อวัน ก็เพียงพอต่อการผ่อนคลายความเครียดแล้ว ดังนั้นการรับประทานสารกาบาในปริมาณที่มากไปกว่านี้คงจะไม่มีผลดีอะไรตอบคืนกลับมามากกนัก ผู้บริโภคบางคนอาจจะมีความจำกัดในการรับประทานอาหารที่มาจากธรรมชาติในบางชนิด การรับประทานในรูปแบบของอาหารเสริมทั้งแบบที่ผสมในอาหารหรือแบบที่เป็นอาหารเสริมชนิดเม็ด จึงเป็นหนึ่งในทางออกที่เหมาะสมสำหรับคนที่ต้องการเสริมการทำงานของระบบประสาทและสมองที่ดีทางหนึ่ง เพียงแต่ต้องรับประทานให้พอเหมาะพอควรตามแต่ที่ร่างกายต้องการก็เท่านั้นเอง

 

 

เอกสารอ้างอิง

กาบามีประโยชน์อย่างไร.[ออนไลน์][อ้างถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561] เข้าถึงจาก

       http://www.pikool.com/กาบา

คลายเครียดด้วยกาบา.[ออนไลน์][อ้างถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561] เข้าถึงจาก

       https://www.สุขภาพน่ารู้.com /คลาดเครียดด้วยกาบา/