วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...
วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
ปัจจุบันการใช้พลาสติกยังคงเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ และยังไม่มีวิธีการใดสามารถกำจัดขยะพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ขยะพลาสติกจำนวนมากถูกกำจัดไม่ถูกวิธี จากข้อมูลการสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในประเทศไทย ปี 2558 พบว่า ขยะประมาณร้อยละ 10 ของขยะตกค้างที่ไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีจะถูกปล่อยลงมหาสมุทร คิดเป็น 50,000-60,000 ตันต่อปี หรือประมาณ 750 ล้านชิ้น โดยขยะถุงพลาสติกและหลอดพลาสติกพบมากเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 ตามลำดับ
(ที่มา : http://www.moveworldtogether.com/TH/article-detail.php?ID=22)
ทั้งนี้ ปัญหาขยะจากหลอดพลาสติกกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของการจัดการขยะทั่วโลก เนื่องจากเป็นขยะพลาสติกขนาดเล็กที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียว และย่อยสลายยากต้องใช้เวลามากถึง 200 ปี ซึ่งหากถูกลมและฝนพัดพาลงสู่ทะเล และแม่น้ำลำคลอง ขยะเหล่านี้ก็จะไหลลงไปกองรวมกันอยู่ในมหาสมุทร ส่งผลให้เต่า โลมา หรือสัตว์น้ำอื่นๆ กินเข้าไปจนเกิดอันตราย รวมทั้ง พลาสติกที่ปะปนอยู่ในระบบนิเวศทางทะเลจะละลายไมโครพลาสติกออกมาจนอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์น้ำและมนุษย์ที่บริโภคสัตว์น้ำนั้นได้
(ที่มา : https://m.mgronline.com/greeninnovation/detail/9610000052319)
ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารหลายๆ ประเทศได้ตระหนักและใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงร่วมกันรณรงค์ให้ลดและเลิกใช้หลอดดูดน้ำพลาสติก โดยหันมาเลือกใช้หลอดดูดน้ำทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถย่อยสลายได้ง่าย ทดแทนการใช้หลอดพลาสติก ซึ่งหลอดดูดน้ำทางเลือกใหม่ที่มักนิยมนำมาใช้กัน ได้แก่
1. หลอดดูดน้ำ Lolistraw เป็นหลอดที่ผลิตจากวัสดุจากธรรมชาติ คือ สาหร่ายทะเล ซึ่งย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ จนไม่เหลือเศษขยะ รวมทั้งเป็นหลอดที่สามารถรับประทานได้ เพราะนอกจากมีสีสันที่สวยงามแล้วยังมีรสชาติให้เลือกหลากหลาย มีอายุการใช้งานได้นาน 24 ชั่วโมง และหากยังไม่ใช้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน 24 เดือน
2. หลอดดูดน้ำจากไม้ไผ่ เป็นหลอดดูดน้ำชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง เพราะมีรูปทรงกะทัดรัด มีความแข็งแรง และผลิตจากธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ สามารถใช้ดูดเครื่องดื่มต่างๆ ได้ดีเหมือนหลอดพลาสติกทั่วไป โดยหลอดดูดน้ำจากไม้ไผ่ 1 หลอด สามารถใช้ซ้ำได้ประมาณ 100 ครั้ง
หลอดดูดน้ำ Lolistraw หลอดดูดน้ำจากไม้ไผ่
(ที่มา : https://www.ananda.co.th/blog/thegenc/lolistraw/) (ที่มา : http://t.blogtamsu.video/9653.html)
3. หลอดดูดน้ำจากก้านผักบุ้ง โดยผักบุ้งที่นำมาใช้เป็นหลอดดูดน้ำต้องผ่านการคัดเลือก และนำมาทำความสะอาดอย่างถูกวิธีด้วยการแช่ผักบุ้งในน้ำที่ผสมเบกกิ้งโซดา ประมาณ 15 นาที จากนั้นนำไปล้างน้ำสะอาดอีก 3 ครั้ง แล้วค่อยนำก้านผักบุ้งมาใช้เป็นหลอดดูดน้ำ สามารถใช้งานได้แค่ครั้งเดียว ซึ่งระยะเวลาย่อยสลายประมาณ 3-5 วัน
4. หลอดดูดน้ำจากตะไคร้ เป็นหลอดดูดน้ำจากธรรมชาติที่หาได้ง่าย เนื่องจากลักษณะของตะไคร้มีความยาวตลอดต้น เปลือกแข็ง จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นหลอดดูดน้ำได้อย่างเป็นดี และหลังจากใช้งานเสร็จสามารถนำมารวมกับขยะสดประเภทอื่นเพื่อนำมาทำเป็นปุ๋ยได้อีกด้วย
หลอดดูดน้ำจากก้านผักบุ้ง หลอดดูดน้ำจากตะไคร้
(ที่มา : https://www.idealize.co.th/blog/8-หลอดดูดน้ำ/)
5. หลอดดูดน้ำจากเส้นพาสต้า ร้านอาหารในต่างประเทศนำเส้นพาสต้ามาใช้เป็นหลอดดูดน้ำแทนหลอดพลาสติก เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่หาซื้อง่าย ไม่ส่งผลต่อรสชาติของเครื่องดื่ม และไม่มีกลิ่นรบกวน รวมทั้งยังช่วยลดขยะที่มีมากเกินความจำเป็นในแต่ละวัน
6. หลอดดูดน้ำจากกระดาษชุบไข หลอดดูดน้ำชนิดนี้ผลิตมาจากกระดาษที่เคลือบทับอีกชั้นด้วยไขขี้ผึ้ง ถูกออกแบบมาสำหรับใช้แล้วทิ้ง ไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เนื่องจากมีความเปื่อยยุ่ย ทำให้ไม่สามารถแช่หลอดทิ้งไว้ในแก้วได้นาน ไม่สามารถล้างทำความสะอาดได้ แต่สามารถย่อยสลายได้ง่ายกว่าหลอดพลาสติก
หลอดดูดน้ำจากเส้นพาสต้า หลอดดูดน้ำจากกระดาษชุบไข
(ที่มา : http://realmetro.com/หลอดเส้นพาสต้า/) (ที่มา : https://www.prachachat.net/public-relations/news-281946)
7. หลอดดูดน้ำจากซังข้าว หลอดดูดน้ำชนิดนี้ถือเป็นผลพลอยได้จากการทำนา ในขั้นตอนของการเก็บเกี่ยว โดยการใช้หลอดดูดน้ำจากซังข้าวเป็นการช่วยลดขยะที่มีโอกาสลงไปสู่ท้องทะเลได้ดี ดังเช่นตัวอย่างของชุมชนเกาะยาวใหญ่ที่ผู้คนในเกาะปลูกข้าวไว้ทานเอง
8. หลอดดูดน้ำที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ส่วนใหญ่เป็นหลอดดูดน้ำที่ผลิตขึ้นจากวัสดุสังเคราะห์ เพื่อให้สามารถทำความสะอาดแล้วใช้ซ้ำได้ เช่น หลอดพลาสติกแข็ง หลอดสแตนเลส หลอดซิลิโคน และหลอดแก้ว มักมีให้เลือกหลากหลายสีสัน
หลอดดูดน้ำจากซังข้าว หลอดดูดน้ำที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่
(ที่มา : https://www.bluemochatea.com/2018/08/05/หลอดดูดทางเลือกใหม่ลดก/)
การเลือกใช้หลอดดูดน้ำทางเลือกใหม่เหล่านี้นอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่มากเกินความจำเป็น ดังนั้น หากทุกคนร่วมมือร่วมใจกันคนละเล็กละน้อยก็สามารถช่วยให้โลกของเราน่าอยู่ไปนานๆ อีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
นิตยสารบ้านและสวน. 8 หลอดดูดน้ำทางเลือกใหม่เพื่อคนที่อยากหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 11 มีนาคม 2562].
เข้าถึงจาก : http://www.baanlaesuan.com/112765/diy/easy-tips/reusable-straw
วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต). หลอดน้ำพลาสติก, ขยะชิ้นเล็ก ที่สังคมไม่ควรมองข้าม. [ออนไลน์]
[อ้างถึงวันที่ 11 มีนาคม 2562]. เข้าถึงจาก :http://www.moveworldtogether.com/TH/article-detail.php?ID=22
สรรพร อุไรกุล. เสียงร่ำไห้จากมหาสมุทร: ความโหดร้ายของหลอดพลาสติกที่เราอาจละเลย. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 11 มีนาคม 2562].
เข้าถึงจาก : http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/59982/
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ. หลอดกาแฟรักษ์โลกทางเลือกใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 11 มีนาคม 2562].
เข้าถึงจาก : https://www.prachachat.net/public-relations/news-281946