ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       ชา (Tea) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis (L.) O. Kuntze เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มีกิ่งก้านสาขามากมาย ชาที่ปลูกเพื่อการค้ามักมีลักษณะเป็นพุ่มเตี้ยๆ เนื่องจากเกษตรกรจะตัดแต่งกิ่งไม่ให้สูงเกินไปเพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยว ต้นชาที่อายุ 4-5 ปี สามารถเก็บยอดได้ ยอดชาที่เก็บมีลักษณะเป็นยอดอ่อนและติดใบอ่อนมาประมาณ 2 ใบ ชานิยมนำมาทำเป็นเครื่องดื่ม โดยประเทศแรกที่เริ่มนำชามาทำเป็นเครื่องดื่มคือ ประเทศจีน และต่อมาความนิยมในการดื่มชาได้แพร่กระจายไปทั่วโลก 
 
 
(ที่มา : https://www.coffeefavour.com/matcha-and-green-tea/)
 
ทั้งนี้ ชาที่ผู้บริโภคดื่มกันทั่วไปสามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามกรรมวิธีการผลิต คือ
       1. ชาหมัก เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำใบชามาผึ่งให้อ่อนตัว นวดเป็นเส้นหรือเม็ด หมักจนใบชามีสีแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม อบให้แห้ง นำไปบดให้เป็นผง เช่น ชาดำ (Black tea)
       2. ชากึ่งหมัก เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำใบชามาผึ่งให้อ่อนตัว คั่วให้สุก นวดเป็นเส้นหรือเม็ด อบให้แห้ง อาจแต่งกลิ่นด้วยดอกไม้หรือใบเตยด้วยก็ได้ เช่น ชาอูหลง (Oolong tea)
       3. ชาไม่หมัก เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำใบชามาอบด้วยไอน้ำเดือด หรือคั่ว อบให้แห้ง อาจบดเป็นผง เช่น ชาเขียว (Green tea)
 
                                      ชาหมัก                                                                   ชากึ่งหมัก                                                                 ชาไม่หมัก
 
                                
 
                    (ที่มา : https://medthai.com/ชาดำ/)                          (ที่มา : http://www.missteathai.com/                       (ที่มา : https://www.bbcgoodfood.com/
                                                                                                 article/7/ชาอู่หลงเหมาะกับคุณไหม)                          howto/guide/health-benefits-green-tea)
 
       การดื่มชาทุกประเภทล้วนมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยป้องกันโรคต่างๆ และทำให้ร่างกายสดชื่น เนื่องจากในใบชามีองค์ประกอบของสารสำคัญหลายชนิด ได้แก่ 
       1. โพลีฟีนอล (Polyphenols) ใบชามีสารโพลีฟีนอลหลายชนิด แต่ชนิดที่มีมากที่สุดคือ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) เป็นสารชนิดเดียวกันกับฟลาโวนอยด์ที่พบในผักและผลไม้ ซึ่งพบได้มากในชาเขียว มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)
       2. คาเฟอีน (Caffeine) ในชามีคาเฟอีนประมาณ 15-30 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัว ระงับอาการง่วงซึม เพิ่มความกระฉับกระเฉง 
       3. แทนนิน (Tannin) เป็นสารให้รสฝาดในใบชา มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียและเชื้อรา ใช้เป็นยาแก้อาการท้องเสีย แก้บิด โดยสารแทนนินที่พบในชาที่สำคัญคือ คาเทชิน  
       4. คาเทชิน (Catechins) เป็นสารประเภทแทนนินชนิดฟลาโวนอยด์ พบได้มากในชาเขียว มีฤทธิ์ป้องกันแบคทีเรียและไวรัส กำจัดสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็ง รวมถึงป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
นอกจากนี้ ใบชายังประกอบไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น กรดอะมิโน วิตามินซี วิตามินบี วิตามินอี ฟลูออไรด์ และสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ 
       ผู้บริโภคที่ต้องการดื่มชาเพื่อสุขภาพควรเลือกซื้อชาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ชา (มผช.120/2558) รวมถึงรู้จักวิธีการดื่มชาอย่างถูกวิธีเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยพบว่าน้ำชาที่จะคงคุณค่าของสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายต้องเป็นน้ำชาที่ชงจากน้ำต้มที่ไม่ร้อนจัดจนเกินไป หากชงเกินกว่า 5 นาที จะเริ่มสูญเสียคุณค่าสารที่มีประโยชน์ และการดื่มชาที่เข้มข้นมากๆ มีผลต่อลำไส้และกระเพาะอาหาร เนื่องจากสารแทนนิน หรือกรดแทนนิก ในชาจะไปขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ของลำไส้และกระเพาะอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุเหล่านี้ อาจส่งผลให้ขาดธาตุเหล็กในเลือด ระบบย่อยอาหารผิดปกติ และเกิดอาการท้องผูกได้
 
                                                                                                                                                     สารแทนนิน (Tannin)
                                                                             
 
                                    (ที่มา : https://talk.mthai.com/health/127990.html)                       (ที่มา : https://www.siamchemi.com/แทนนิน/)
 
       จะเห็นได้ว่า การดื่มชามีประโยชน์มากมาย แต่หากดื่มไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดผลเสียได้เช่นกัน ซึ่งจากรายงานพบว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมในการดื่มชาเพื่อเสริมสร้างสุขภาพและไม่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายคือ หลังจากรับประทานอาหารแล้ว 2-3 ชั่วโมง และกลุ่มคนที่ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ที่ไตทำงานบกพร่อง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคหัวใจ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง ชา : เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ได้จากเอกสารภายในสำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยสามารถสืบค้นได้จากฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติในเว็บไซต์ http://library.dss.go.th/ จากคำสืบค้นคือ 
              - ชา (http://library.dss.go.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?q=ชา) 
              - ชาเขียว (http://library.dss.go.th/cgi-bin/koha/opac-search.pl?q=ชาเขียว)
 
เอกสารอ้างอิง 
ณรงค์ชัย  ปัญญานนทชัย. ชากับสุขภาพ. ชาใบไม้มหัศจรรย์. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้ากรุ๊ป, 2548, หน้า 113-126.
ประสานพร  มณฑลธรรม. ส่วนผสมสำคัญของชา. ชา สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงาม. กรุงเทพฯ : มายิก, 2548, หน้า 39-45.
พินิจ  จันทร และคณะ. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับชา. เครื่องดื่มสมุนไพรอินเทรนด์. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน, 2554, หน้า 2-12.
พูกานดา  พิศชมพู. ชาเพื่อสุขภาพและป้องกันโรค และดื่มชาอย่างถูกหลักอนามัยไม่เกิดโทษ. ชาเครื่องดื่มสุขภาพร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : แพลน บี, 2553, หน้า 69-84.
มัชฌิมา. ดื่มชาอย่างไรดี. ต่ออายุด้วยชาบำบัด. กรุงเทพฯ : บีเวลล์ สปีเชียล, 2554, หน้า 69-75.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ชา มผช.120/2558. [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2562]. 
       เข้าถึงจาก : http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps0120_58(ชา).pdf