วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...
วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
27 มีนาคม 2563 นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วย ผู้บริหาร และนักวิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้การต้อนรับ นายสุรศักดิ์ อักษรกุล ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และคณะในโอกาสประชุมหารือแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนด้วย วทน.ณ ห้องนิธิปัญญา ชั้น 6 อาคาร ดร.ตั้ว ลพานุกรม วศ.
ประเด็นสำคัญการหารือครั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และนำเสนอแนวทางความร่วมมือของทั้ง 2 หน่วยงาน โดย พช.มท. ให้ความร่วมมือที่จะจัดเตรียมผู้ประกอบการ OTOP ในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ ที่มีความต้องการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้วยองค์ความรู้ด้าน วทน. ส่งให้กับ วศ.อว. เพื่อให้นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ของ วศ. ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน วทน. ให้แก่ผู้ประกอบการ OTOP ในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ เน้นการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้สามารถเพิ่มผลิตภาพและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม และสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ซึ่งเมื่อได้รับการพัฒนาด้วย วทน. แล้ว พช.มท. จะรับช่วงต่อในการส่งเสริม สนับสนุน ด้านการเพิ่มช่องทางตลาดให้กับสินค้าชุมชนที่ได้รับการพัฒนาต่อไป
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ทีมโฆษก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม