ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

       บัวหลวง (Lotus) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Nelumbo nucifera Gaertn. ชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น โกกระณต บัว บัวอุบล บัวฉัตรขาว บัวฉัตรชมพู บัวฉัตรสีชมพู บุณฑริก ปุณฑริก ปทุม ปัทมา สัตตบงกช สัตตบุษย์ หรือเขมรเรียก โช้ค เป็นต้น ซึ่งต้นบัวหลวงนั้นมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์และมีชื่อเรียกที่ไม่เหมือนกัน นอกจากจะนำดอกบัวไปไหว้พระแล้ว ส่วนต่างๆ ของบัวยังสามารถนำมารับประทานได้อีกด้วย เนื่องจากมีประโยชน์และสรรพคุณมากมายหลายอย่าง

 

ที่มา : http://www.เกร็ดความรู้.net/บัวหลวง/

       สำหรับต้นบัวหลวงนั้นจัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุยืนหลายปี เติบโตได้ดีในดินเหนียว โดยลำต้นของบัวหลวงนี้สามารถอยู่ได้ทั้งใต้ดินและน้ำ โดยมีเหง้าเป็นท่อนยาวๆ เมื่อนำมาตัดแนวขวางจะเป็นรูกลมๆ หลายรู และมีไหลบัวที่สามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ ซึ่งโดยปกติสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการใช้เมล็ดและการแยกไหลบัว ส่วนใบนั้นจะออกเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ขอบเรียบเป็นคลื่น เมื่อเป็นใบอ่อนจะลอยอยู่ปริ่มน้ำ แต่เมื่อเป็นใบแก่จะชูขึ้นพ้นน้ำ และดอกนั้นจะออกเป็นดอกเดี่ยวมีทั้งสีชมพูหรือขาว ซึ่งกลีบของดอกบัวหลวงนี้จะมีเยอะเรียงแบบซ้อนชั้นกันอยู่ ส่วนฝักบัวนั้นภายในมีผลอ่อนจำนวนมาก โดยมีผลทรงกลมรีเป็นกลุ่มหลายเมล็ดอยู่บริเวณฝักรูปกรวยภายในดอก และมีดีบัวอยู่ในเม็ดบัว ซึ่งดีบัวนี้จะไม่มีกลิ่นแต่มีรสชาติขมมาก ซึ่งดอกและผลของบัวหลวงนี้จะเจริญเติบโตได้ดีในระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม

 

ที่มา:  http://buasapatprayod.blogspot.com/2016/02/blog-post_8.html

 

       ส่วนต่างๆ ของบัวหลวงมีคุณค่าในเรื่องของการประกอบอาหาร และในเรื่องของการนำมาใช้เป็นยา ทางด้านเภสัชวิทยาพบว่า มีสารที่เป็นตัวยาสำคัญๆ เช่น สาร nuciferine มีฤทธิ์กดประสาท  ต้านการอักเสบ ลดไข้ แก้ไอ และมีผลในการยับยั้งการหลั่งสาร serotonin  โดยพบสรรพคุณต่างๆ ของบัวหลวงมีดังนี้

  • ใบอ่อน  ช่วยบำรุงร่างกายให้ชุ่มชื้น ให้รสฝาดเปรี้ยว
  • ใบแก่   ช่วยบำรุงโลหิต แก้ไข้ และแก้ริดสีดวงจมูก ให้รสฝาดเปรี้ยวเมาเล็กน้อย
  • ดอก  ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์ ทำให้คลอดลูกได้ง่าย และแก้ไข้ แก้เสมหะและโลหิต ให้รสฝาดหอม
  • เกสร  ช่วยบำรุงครรภรักษา แก้ไข้รากสาด รวมทั้งแก้ไข้จากพิษร้อน และชูกำลังให้แข็งแรง ให้รสฝาดหอม
  • ฝัก  ช่วยแก้อาการท้องเสีย ขับรก และแก้พิษจากเห็ดเมา ให้รสฝาดหอม
  • เมล็ด  ช่วยแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงไขข้อ รวมทั้งแก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยให้กระชุ่มกระชวย ตลอดจนขับเสมหะ แก้ดีพิการ หรือพุพอง และแก้อาเจียน เพิ่มไขมันในร่างกาย ให้รสหวานมัน
  • เปลือกฝัก  ช่วยสมานแผลในมดลูก และแก้ท้องเดิน ให้รสฝาดหอม
  • ดีบัว  ช่วยแก้กระหายน้ำ ขยายหลอดเลือดหัวใจ และแก้น้ำกามเคลื่อนขณะนอนหลับ ให้รสขม
  • เปลือกหุ้มเมล็ด  ช่วยคุมธาตุ สมานแผล และแก้ท้องร่วง ให้รสฝาด
  • ก้านดอก  ช่วยแก้ริดสีดวงจมูก ให้รสเย็นเมา
  • เหง้า (ราก)   ช่วยบำรุงกำลัง ขับเสมหะ แก้ร้อนในกระหายน้ำ รวมทั้งแก้ดีพิการ หรือพุพอง แก้อาเจียน มีฤทธิ์เป็นยานอนหลับ ลดไข้ ลดอาการเกร็งของลำไส้เล็ก ให้รสหวานเย็นมัน

       

       นอกจากจะมีสรรพคุณทางยาแล้ว บัวหลวงในส่วนต่างๆ ยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้ทั้งคาวหวานและอื่นๆ อีกด้วย ได้แก่

  1. รากบัวหลวง (เหง้าบัว) สามารถนำใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งคาวหวาน เช่น เหง้าบัวผัดน้ำมัน เหง้าบัวอ่อนต้มหรือตุ๋นกระดูกหมูกับเครื่องยาจีน นำมาเชื่อมแห้งรับประทานเป็นของหวาน ทำเป็นน้ำรากบัว หรือนำมาต้มเป็นน้ำสมุนไพรรากบัว
  2. ไหลบัว (หลดบัว) สามารถนำมาประกอบอาหารได้ทั้งสดและแห้ง เช่น การนำมาทำแกงเลียง แกงส้ม ต้มกะทิ ผัดเผ็ดต่าง ๆ ฯลฯ
  3. สายบัว นำมาปรุงเป็นอาหารหรือใช้แทนผักได้หลายชนิด เช่น แกงส้มสายบัวกับปลาทู แกงส้มสายบัว ต้มกะทิปลาทู ฯลฯ
  4. ดอกนำมาบูชาพระ หรือนำมาใช้ในทางศาสนา เนื่องจากดอกบัวหลวงเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามทางพระพุทธศาสนา มีความเกี่ยวข้องโดยตรงสำหรับการบูชาพระรัตนตรัย อันได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
  5. กลีบดอกนิยมนำไปทำเมี่ยงดอกบัว ยำดอกไม้ หรือทำเมนูกลีบบัวชุบแป้งทอด
  6. กลีบดอกแห้ง ในอดีตใช้ม้วนเป็นบุหรี่
  7. สารสกัดจากเกสรนำมาใช้ทำเป็นเครื่องสำอาง ที่เป็นตัวช่วยชะลอการสร้างเม็ดสีผิว ทำให้ผิวหนังเต่งตึงและอ่อนนุ่ม เช่น ครีมกันแดด ครีมบำรุงผิวทั้งกลางวันกลางคืน
  8. เกสรตัวผู้เมื่อนำมาตากแห้ง สามารถใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องยาไทยและจีนได้หลายชนิด เช่น ยาลม ยาหอม ยานัตถุ์ ฯลฯ
  9. ใบบัวหลวง นำมาใช่สำหรับห่อข้าว ห่ออาหาร ห่อขนม ซึ่งจะช่วยทำเพิ่มความหอมน่ารับประทานยิ่งขึ้น หรือจะนำห่อผักสดเก็บในตู้เย็น หรือใช้ในงานประดิษฐ์ต่างๆ ส่วนใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริกได้
  10. ใบบัวแก่ เมื่อนำมาตากแห้ง ใช้เป็นส่วนผสมของยากันยุง
  11. ก้านใบและก้านดอกบัว สามารถนำมาใช้ทำเป็นกระดาษ และเส้นใยใช้ทำไส้ตะเกียง
  12. เม็ดบัวทั้งอ่อนและแก่ สามารถนำมารับประทานหรือใช้ประกอบอาหารได้หลากหลาย ที่รู้จักกันดีก็คือ น้ำอาร์ซี ข้าวอบใบบัว เม็ดบัวต้มน้ำตาลทรายแดงผสมในเต้าฮวยหรือเต้าทึ้ง สังขยาเม็ดบัว เม็ดบัวเชื่อม สาคูเม็ดบัว ขนมหม้อแกงเม็ดบัว เป็นต้น และยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นแป้งได้เป็นอย่างดี
  13. เปลือกบัว นำมาใช้เป็นวัสดุในการปลูกเห็ดชนิดหนึ่ง หรือที่เรียกว่า “เห็ดบัว”
  14. เปลือกเมล็ดและฝักแก่ ใช้ทำเป็นปุ๋ย
  15. เนื่องจากดอกบัวหลวงมีความสวยและมีกลิ่นหอม จึงนิยมปลูกไว้ประดับในสระน้ำหรือปลูกไว้ในกระถางทรงสูง

ที่มา : http://program.thaipbs.or.th/MhoKhaoMhoGang/episodes/31885

                                          

        ที่มา : http://www.thaicookingmenu.com/            ที่มา : http://www.siamarcheep.com           ที่มา : https://www.wongnai.com/restaurants/277608zz-                                แกงส้มไหลบัวกุ้งสด/                                            /รากบัวเชื่อม.html                                       red-lotus-cafe-ตลาดทุ่งบัวแดง-บางเลน     

 

       บัวหลวงนับเป็นพันธุ์ไม้น้ำอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณค่า ที่มีประโยชน์ในด้านของปัจจัย 4 ที่มนุษย์ทุกคนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ทั้งในด้านการบริโภคโดยตรง หรือการนำมาใช้ในส่วนประกอบของยา ในการรักษาโรคต่างๆ และนำมาประกอบอาหารหลากหลายได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากคนไทยมองเห็นความสำคัญและสามารถปรับปรุงพันธ์ของบัวหลวงให้มีความพิเศษในด้านการสกัดสารมาใช้ประโยชน์ บัวหลวงก็น่าจะเป็นพืชที่มีคุณค่าแก่วงการแพทย์ได้เป็นอย่างดี

 

 

เอกสารอ้างอิง

ไทยเกษตรศาสตร์. บัว…พืชเป็นยาและอาหาร. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 23เมษายน 2561] เข้าถึงจาก

       http://www.thaikasetsart.com /บัว-พืชเป็นยาและอาหาร/

บัวหลวง ประโยชน์และสรรพคุณของบัวหลวง.[ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 20เมษายน 2561] เข้าถึง

       จากhttp://www.เกร็ดความรู้.net/บัวหลวง/

บัวหลวง.[ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 23เมษายน 2561] เข้าถึงจาก https://guru.sanook.com/2448/

บัวหลวง.[ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 24เมษายน 2561] เข้าถึงจาก http://herbalbeauty9

       .blogspot.com/2016/07/blog-post_62.html