วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า
วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี
วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...
วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...
วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...
พืชให้สี
สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-
- การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
- การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย
ชะคราม (Seablite) เป็นวัชพืชล้มลุกขนาดเล็กในดินเค็ม มีชื่อเรียกตามท้องถิ่น คือ ชักคราม ส่าคราม ชั้วคราม ล้าคราม และล่าคราม พบทั่วไปตามชายฝั่งทะเลที่น้ำเค็มขึ้นถึง พบมากในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดสมุทรสงคราม ขึ้นอยู่บริเวณนาเกลือและตามป่าชายเลน เป็นวัชพืชที่มีประโยชน์ นิยมนำใบอ่อนมาประกอบอาหาร เช่น แกงคั่วปูใบชะคราม แกงส้มใบชะคราม แกงจืดใบชะคราม ไข่เจียวใบชะคราม ยำใบชะคราม เป็นต้น
ที่มา : http://bpkinfo.egat.co.th/choomchon/plants.html
โดยชะครามเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มต่ำ กิ่งก้านเล็กมีสีน้ำตาลแดง ลำต้นเตี้ย ทนทานต่อความเค็ม เจริญเติบโตได้ดีบริเวณน้ำกร่อยและป่าชายเลน ลำต้นมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 30-80 เซ็นติเมตร มีใบ ดอก และผล ใบเป็นเส้นเล็กฝอยสีเขียว ในฤดูแล้งเมื่อต้นแก่ใบจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วง มีใบเป็นใบเดี่ยว (simple leaf) ออกเรียงเวียนสลับ ใบมีขนาดเล็กค่อนข้างกลม อวบหนามีทั้งสีเขียวและสีแดง ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบสั้นมาก ใบมีรสเค็ม ดอก ออกเป็นช่อกระจุกขนาดเล็กตามซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กมีสีขาวอมเขียว ผลรูปร่างทรงกลมรี ขนาดเล็ก ผิวเรียบ สีเหลืองอมส้ม
ที่มา : http://puechkaset.com/ชะคราม/ ที่มา : https://sites.google.com/site/samunpraisabaipung/bi- chakhram
ชะครามมีประโยชน์ทั้งในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาปรุงอาหารและนำมาสกัดทำเป็นยาสมุนไพรรักษาโรคโดยสามารถแยกสรรพคุณของส่วนต่างๆ ของชะครามได้ ดังนี้
ใบ สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ ให้เลือกใช้ใบอ่อน นำมาล้างน้ำให้สะอาด และลดความเค็มของใบลง โดยต้มคั้นน้ำทิ้งไป 2-3 ครั้ง จากนั้นก็สามารถนำไปทำอาหารได้เลย ซึ่งก็ทำได้หลากหลายเมนู เช่น ยำ แกง ลวกจิ้มน้ำพริก ทอดกับไข่ หรือนำไปชุบแป้งทอดก็ได้
ราก นำมากินเป็นยาบำรุงกระดูก แก้พิษฝีภายใน ดับพิษในกระดูก แก้น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน แก้โรคผิวหนังและเส้นเอ็นพิการ
ลำต้นและใบของชะครามดูดเกลือจากดินมาเก็บไว้ ทำให้มีธาตุไอโอดีนสะสมอยู่ ซึ่งรับประทานแล้วสามารถป้องกันโรคคอพอกได้ และยังมีสรรพคุณใช้รักษารากผม แก้ผมร่วงได้ โดยนำใบและลำต้นมาสกัดเป็นยาสระผมได้ด้วย
ใบชะครามลวกกะทิ แกงคั่วปูไข่ใบชะคราม
ที่มา : http://www.dmcr.go.th/upload/nws/html/html-2548- ที่มา : https://www.tvpoolonline.com/content/199729 578710140.html
นอกจากนี้ใบสดหรือใบที่ลวกแล้วนำมาประกอบอาหารรับประทานจะมีสรรพคุณ ดังนี้
– ขับปัสสาวะ
– รักษาโรคโกโนเรีย
– รักษาโรคคอพอก
– กระตุ้นระบบประสาท
– บำรุงสายตา แก้อาการตามัว
ส่วนน้ำต้มใบชะครามหรือขยำใบสดสำหรับใช้ภายนอกจะมีสรรพคุณ ดังนี้
– รักษากลาก เกลื้อน
– แก้อาการผื่นคัน
– ลดอาการบวมของแผล
– ลดอาการปวดจากพิษแมลงกัดต่อย
– แก้อาการพิษจากยางต้นตาตุ่มหรือยางพิษจากต้นไม้ต่างๆ ซึ่งชาวบ้านนิยมนำใบชะครามาคั้นผสมกับน้ำมะพร้าว แล้วนำมาทาบริเวณที่สัมผัสกับยางตาตุ่มทะเล
จากข้อมูลสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศอินเดียพบว่า ชะครามมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ ซึ่งตรงกับรายงานของ Jithesh และคณะ (2006) พบว่า ชะครามมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหรือที่เรียกกันว่า สารแอนติออกซิแดนท์ (antioxidant) และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ในอนาคตคาดว่าชะครามนี้อาจจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่นำมาแปรรูปและพัฒนาเป็นรูปแบบอาหารที่มนุษย์นิยมรับประทานเพื่อสุขภาพ และใช้เป็นพืชเพิ่มพลังงานให้แก่ประเทศไทยได้ ทั้งนี้เนื่องจากชะครามเป็นพืชที่หาง่ายพบขึ้นทั่วไปตามป่าชายเลนและที่สำคัญที่สุด สารสกัดจากต้นชะครามยังมีประโยชน์ทางการแพทย์ทางเลือกได้อีกทางหนึ่งในอนาคตซึ่งมนุษย์ไม่ควรจะละเลย
เอกสารอ้างอิง
เกษตรทำกิน. ชะคราม พืชท้องถิ่น สารพัดประโยชน์ ใช้กำจัดปลวกได้. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 23กรกฎาคม
2561] เข้าถึงจาก https://kasettumkin.com/plant/article_6574
ชะคราม ประโยชน์ และสรรพคุณชะคราม.[ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 20กรกฎาคม 2561] เข้าถึงจาก
http://puechkaset.com/ชะคราม/
ชะคราม สมุนไพร พืชล้มลุก ประโยชน์และสรรพคุณของชะคราม. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 23กรกฎาคม
2561] เข้าถึงจาก https://beezab.com/ชะคราม/
นภาพร แก้วดวงดี.ชะคราม วัชพืชสมุนไพรต้านอนุมูลอิสระในป่าชายเลน.[ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 20
กรกฎาคม 2561] เข้าถึงจาก https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/herb /26.html